ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซูเปอร์แฟมิคอม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 10412755 สร้างโดย 124.122.79.27 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
เมื่อยุคของสื่อบันทึกข้อมูลด้วย CD-ROM มาถึง ทางนินเทนโดได้ให้ความสนใจกับสื่อบันทึกชนิดใหม่นี้ จนเมื่อบริษัทคู่แข่งอย่างเซกา ได้ออกอุปกรณ์เสริมที่ทำให้เครื่องเมกาไดรฟ์เล่นเกมจาก CD ได้ที่ชื่อ SEGA-CD ขึ้นมา ทางนินเทนโดจึงมีความต้องการพัฒนาอุปกรณ์เสริมสำหรับเล่น CD ของตนขึ้นมาบ้าง ทางนินเทนโดได้ติดต่อกับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำอย่าง[[โซนี่]]และฟิลิปในการร่วมทุนกันพัฒนาอุปกรณ์เสริมดังกล่าว แต่การร่วมทุนพัฒนากับทั้ง 2 บริษัทต่างก็ประสบความล้มเหลวทั้งคู่ นินเทนโดจึงจึงหันไปทุ่มเทความสนใจให้กับการพัฒนาเครื่องเกมรุ่นใหม่ที่ใช้ตลับอย่างเครื่อง[[นินเทนโด 64]]แทน แต่การเข้าร่วมทุนพัฒนาที่ไม่สำเร็จนี้ได้เป็นจุดกำเนิดเครื่องเกมคอนโซลยุคใหม่ 2 เครื่อง บริษัทโซนี่ได้เอาสิ่งที่เหลือจากการพัฒนาที่ล้มเหลวมาพัฒนาต่อเป็นเครื่อง[[เพลย์สเตชัน]] ส่วนทางฟิลิปก็ได้พัฒนาเครื่อง [[CD-I]] ขึ้นมา<ref>[http://www.n-sider.com/contentview.php?contentid=231 Sony to Play Games]</ref>
 
==เกม==
มีเกมสำหรับซูเปอร์แฟมิคอมออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการรวมทั้งสิ้น 1,757 เกม โดยมีการวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ 717 เกม, ในยุโรป 521 เกม, และในญี่ปุ่น 1,448 เกม เกมของซูเปอร์แฟมิคอมหลายเกมได้รับการยกย่องว่าเป็นเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล เช่น ซูเปอร์มาริโอเวิลด์ (1990), เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา: อะลิงค์ทูเดอะพาสท์ (1991), ดองกีคองคันทรี (1994), เอิร์ธบาวด์ (1994), ซูเปอร์เมทรอยด์ (1994), โยชีไอแลนด์ (1995)
== ยอดจำหน่าย ==
เครื่องซูเปอร์แฟมิคอมขายได้ 49.10 ล้านเครื่องทั่วโลก โดยในอเมริกาขายได้ 23.35 ล้านเครื่อง ในญี่ปุ่นขายได้ 17.17 ล้านเครื่อง เป็นเครื่องเกมคอนโซลที่ขายดีที่สุดในยุคนั้น โดยเครื่องเกมที่มียอดขายรองลงมาคือเครื่องเมกาไดรฟ์และ TurboGrafx-16