ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามพารากอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
[[ไฟล์:Siam Paragon Entrance Void 2011.jpg|thumb|right|ช่วงทางเข้าหลัก]]
[[ไฟล์:Siam Paragon GF The Canal 2011.jpg|thumb|right|The Canal ก่อนการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2559]]
สยามพารากอนตั้งอยู่บน[[ถนนพระรามที่ 1]] สร้างบนที่ดินส่วนหนึ่งของ[[วังสระปทุม]] อันเป็นที่ดินพระราชมรดกของ[[ราชสกุลมหิดล]] ที่ได้รับพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] สำหรับสร้างวังพระราชทานแก่[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] แต่เดิมที่ดินส่วนนี้เป็นสวนผลไม้ของ [[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]] ต่อมาบริษัท บางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอล โฮเต็ลส จำกัด (เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น [[สยามพิวรรธน์|บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด]] เมื่อวันที่ [[28 มกราคม]] [[พ.ศ. 2546]]) ได้ขอเช่าที่ดินดังกล่าวจากวังสระปทุมเพื่อก่อสร้าง[[โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล]] ซึ่งถือเป็นโรงแรมแห่งแรกของไทยที่บริหารด้วยเชนโรงแรมจากต่างประเทศ เมื่อโรงแรมดำเนินกิจการมาครบ 30 ปี ครบกำหนดสัญญาเช่าในปี พ.ศ. 2538 และได้รับการขยายอายุสัญญาต่อไปอีก 30 ปี<ref name="paragon-pride">{{Cite web |url=http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2761 |title=Siam Paragon The Pride of Bangkok |access-date=2022-01-15 |archive-date=2022-01-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20220115225638/http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2761 |url-status=dead }}</ref> อีกทั้งมีโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่บนพื้นที่เดิมของโรงแรม เพื่อให้เหมาะสมกับมูลค่าของที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้รื้อโรงแรมและสิ่งปลูกสร้างลง เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่บนพื้นที่ดังกล่าว คือ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเป็นการลงทุนร่วมกันระหว่างกลุ่มเดอะมอลล์และสยามพิวรรธน์<ref>{{Cite web |url=http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=84354 |title=ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรรธน์ |access-date=2018-04-26 |archive-date=2021-01-17 |archive-url=https://web.archive.org/web/20210117192403/http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=84354 |url-status=dead }}</ref> โดย[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบ[[พิธีเปิด]]ศูนย์การค้าเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2548<ref>[https://positioningmag.com/8272 ปรากฏการณ์ สยามพารากอน]</ref>
 
สยามพารากอนเป็นอาคารสูง 8 ชั้น และชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น มีลิฟต์แก้วที่ใช้กระจกทั้งหมดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย มีจำนวนลิฟต์ทั้งหมด 26 ตัว แบ่งเป็นลิฟต์แก้วแบบใช้กระจกทั้งหมด 2 ตัว, ลิฟต์แก้วแบบธรรมดา 2 ตัว, ลิฟต์ธรรมดา 22 ตัว, บันไดเลื่อน 88 ตัว, ทางเลื่อน 4 ตัว พื้นที่ใช้สอยประมาณ 500,000 ตารางเมตร และใช้เงินลงทุนมากกว่า 15,000 ล้านบาท<ref>[https://positioningmag.com/8004 สยามพารากอน จุดพลุ “ถนนสายช้อปปิ้ง”]</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2558 สยามพิวรรธน์ได้รวมตัวกับกลุ่มธุรกิจ[[สยามสแควร์]] และ[[เอ็มบีเค|บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน)]] ก่อตั้ง[[สมาคมการค้าพลังสยาม]]ขึ้น เพื่อพัฒนาศูนย์การค้าใน[[ย่านสยาม]]ให้เป็นย่านค้าปลีกระดับโลก<ref name=":0">{{Cite web|last=|first=|date=2015-10-02|title=3 ยักษ์ค้าปลีก ผนึก 'พลังสยาม' เทียบชั้นมหานครใหญ่|url=https://www.voicetv.co.th/watch/266157|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=[[วอยซ์ทีวี]]|language=th}}</ref><ref>{{Cite web|date=2015-09-30|title=พันธมิตรพลังสยามผนึกกำลังครั้งประวัติศาสตร์ ผลักดัน “ย่านสยาม” ยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจการค้า|url=http://www.siam-synergy.com/th/topics/siam-district-collaboration/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=สมาคมการค้าพลังสยาม}}</ref> สยามพิวรรธน์จึงได้รับเงินงบประมาณจำนวน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ในการปรับปรุงพื้นที่ศูนย์อาหารบริเวณชั้น G ฝั่งทิศเหนือ โซน The Gourmet Garden ในสยามพารากอน โดยปรับปรุงแล้วเสร็จในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559<ref>{{Cite web|last=|date=2016-11-30|title=สยามพารากอนจัดเต็ม รวมร้านอาหารและขนมหวานคุณภาพระดับโลกไว้ที่เดียว ไปลุยกันเลย!! {{!}} กินกับพีท|url=https://www.eatwithpete.com/siam-paragon-2016/|url-status=live|access-date=2021-02-27|website=กินกับพีท|language=th}}</ref>
 
== การจัดสรรพื้นที่ ==