ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขที่อยู่ไอพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{จัดรูปแบบ}}
'''เลขที่อยู่ไอพี'''<ref>{{Cite web |url=http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2009-11-29 |archive-date=2017-07-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20170715173151/http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |url-status=dead }}</ref><ref>https://web.archive.org/web/20170715173151/</ref> ({{lang-en|IP address}}) คือสัญลักษณ์เชิงหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด (เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร<ref name = rfc760>RFC 760, ''DOD Standard Internet Protocol'' (January 1980)</ref> เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง<ref name = rfc791>RFC 791, ''Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification'' (September 1981)</ref>
 
แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง<ref name = rfc760 /> ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 คือ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งใช้ตัวเลข 128 บิตกำหนดที่อยู่<ref name = rfc1883 >RFC 1883, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden (December 1995)</ref> และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998<ref name = rfc2460>RFC 2460, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden, The Internet Society (December 1998)</ref> ส่วนการนำมาใช้จริงนั้นเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษที่ 2000
 
เลขที่อยู่ไอพีเป็นเลขฐานสอง แต่ก็มักจะแสดงผลและเก็บบันทึกในไฟล์ข้อความด้วยสัญกรณ์ที่มนุษย์สามารถอ่านได้ ตัวอย่างเช่น '''172.16.254.1''' (รุ่น 4) และ '''2001:db8:0:1234:0:567:8:1''' (รุ่น 6) เป็นต้น
 
องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีทั่วโลก และมอบอำนาจให้[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค]] (RIR) ทั้ง 5 เขต ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ไอพีสำหรับ[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น]] (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) และหน่วยงานอื่น ๆ
 
== เครือข่ายย่อยของไอพี ==
เครือข่ายไอพีอาจแบ่งเป็น[[เครือข่ายย่อย]]ได้ทั้งไอพีรุ่น 4 และไอพีรุ่น 6 เลขที่อยู่ไอพีหมายเลขหนึ่งจะถูกจำแนกเป็นสองส่วนเพื่อจุดประสงค์นี้ได้แก่ ''เลขขึ้นต้นเครือข่าย'' (network prefix) และ ''ตัวระบุแม่ข่าย'' (host identifier) สำหรับรุ่น 4 หรือ ''ตัวระบุส่วนต่อประสาน'' (interface identifier) สำหรับรุ่น 6 ตัวพรางเครือข่ายย่อยหรือเลขขึ้นต้นไซเดอร์จะบ่งบอกว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนดังกล่าวอย่างไร