ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ประเทศไทย)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ดามันสกี้ (คุย | ส่วนร่วม)
ดามันสกี้ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 124:
== เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
{{ดูเพิ่ม|รายนามเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ}}
 
== สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
ตาม'''พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559''' มาตรา 21 กำหนดให้มีสํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
# รับผิดชอบในงานธุรการของสภา และศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านความมั่นคงที่เกี่ยวกับ งานของสภา
# จัดทําร่างนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติตามเป้าหมายและแนวทาง ที่สภากําหนดเพื่อเสนอต่อสภา
# เสนอแนะและให้ความเห็นต่อสภาหรือคณะรัฐมนตรีเพื่อประกอบการพิจารณากําหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ
# ให้คําปรึกษา เสนอแนะ และให้ความเห็น ตลอดจนอํานวยการและประสานการปฏิบัติงานใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
# ติดตาม ประเมิน วิเคราะห์ และแจ้งเตือนสถานการณ์ด้านความมั่นคง การเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ พิสูจน์ทราบและคาดการณ์ภัยคุกคาม และการประเมินกําลังอํานาจของชาติ
# ประสานงานหรือร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศในกิจการด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ด้านความมั่นคงในเชิงยุทธศาสตร์ ด้านการประเมินสภาวะแวดล้อม และด้านวิชาการที่เกี่ยวกับความมั่นคง
# ศึกษา วิจัย รวบรวม พัฒนา ส่งเสริม และเผยแพร่ข้อมูลหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับ ความมั่นคงแห่งชาติ
# ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น หรือตามที่สภา นายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
มาตรา 22 กำหนดให้มีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและบริหาร ราชการของสํานักงาน ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และให้มีรองเลขาธิการเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ กำหนดให้เลขาธิการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ โดยในการพิจารณาเสนอชื่อผู้ซึ่งสมควรดํารงตําแหน่ง เลขาธิการ ให้สภาเสนอชื่อบุคคลเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย
 
ปัจจุบัน สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีที่ตั้ง 3 แห่ง คือ อาคารสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล อาคาร 20 ทำเนียบรัฐบาล และศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (อาคารบี) แจ้งวัฒนะ
 
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการ ที่ตอบสนองต่อการเตรียมรับมือ ป้องกัน และตอบสนองภัยคุกคามด้านต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของชาติ โดยปัจจุบัน รับผิดชอบการจัดทำนโยบายด้านความมั่นคงหลัก คือ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นงแห่งชาติ ซึ่งฉบับปัจจุบันคือ ระยะ พ.ศ. 2566-2570 สถาะปัจจุบัน อยู่ระหว่างเสนอทูลเกล้าฯ [https://www.nsc.go.th/wp-content/uploads/2022/10/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AF%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87-66-70-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2.pdf](ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 – 2570)<nowiki></ref></nowiki>
 
== การแบ่งส่วนราชการของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 รับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เเละมีสาระสำคัญเป็นการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป