ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแต่งงานต่างฐานันดร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
{{ป้ายเตือนปีคศ}}
[[Image:franzferdinand.jpg|thumb|270px|right|[[อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย-เอสต์]]และ[[โซฟี ดัชเชสแห่งโฮเฮนเบิร์ก]]สมรสกันแบบมอร์แกนเนติคซึ่งทำให้พระโอรสของทั้งสองพระองค์ไม่มีสิทธิ์ในการขึ้นครองราชย์และจะไม่มีสิทธิ์อยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ออสเตรีย]]
'''การแต่งงานแบบมอร์แกนเนติค''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: Morganatic marriage) เป็น[[การแต่งงาน]]ชนิดลักษณะหนึ่งที่ใช้เป็นสัญญาการแต่งงานได้ในบางประเทศ มักจะเป็นการแต่งงานระหว่างบุคคลสองคนที่มีฐานะทางสังคมไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งจำกับจำกัดมิให้ตำแหน่งของสามีหรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นของสามีผ่านไปสู่ภรรยาหรือบุตรธิดาที่เกิดจากการสมรสแบบลักษณะนี้ บางครั้งก็เรียกว่า “การแต่งงานมือซ้าย” (left-handed marriage) เพราะเจ้าบ่าวจะกุมมือขวาเจ้าสาวไว้ด้วยมือซ้ายแทนที่จะกุมด้วยมือขวา<ref>{{cite web|last=Stritof|first=Sheri & Bob|url=http://marriage.about.com/od/royalty/g/lefthanded.htm|title=Left-Handed Marriage|publisher=about.com|accessdate=2007-03-13}}</ref>
 
การแต่งงานแบบลักษณะนี้มักจะเป็นการแต่งงานของชายเป็นเจ้านายที่มียศศักดิ์โดยเฉพาะในรัฐต่างๆ ในของเยอรมนีกับสตรีที่มิได้เป็นเจ้านายหรือมีแคว้นหรือดินแดนปกครองที่เป็นของตนเอง หรือสตรีที่ถือกันว่ามีฐานะต่ำต้อยกว่าในสังคม ทั้งภรรยาและบุตรธิดาที่เกิดจากการแต่งงานไม่มีสิทธิในตำแหน่ง สิทธิ หรืออสังหาริมทรัพย์ของสามี แต่บุตรธิดาถือว่าเป็นบุตรธิดาในสมรส และการแต่งงานเช่นนี้อยู่ภายใต้กฏห้าม[[การแต่งงานซ้ำซ้อน]] (Polygamy)
 
การแต่งงานแบบลักษณะนี้ก็เช่นกับเดียวกันกับสตรีที่มียศศักดิ์สูงกว่าชาย แต่จะเกิดน้อยครั้งและโดยเฉพาะเมื่อสตรีส่วนใหญ่มักจะไม่มีตำแหน่งให้สืบทอดและมักจะมิได้เลือกสามีด้วยตนเอง ยกเว้นแต่ในกรณีของ[[มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งพาร์มา]] (เมื่อแรกเกิดเป็นอาร์ชดัชเชสแห่งราชวงศ์แฮบสเบิร์ก) และเมื่อแต่งงานครั้งแรกเป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส) แต่งงานครั้งที่สองแบบมอร์แกนเนติคกับเคานท์หลังจากที่กับ[[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]]ก็ได้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศส หลังจากนโปเลียนเสด็จสวรรคต ก็แต่งงานครั้งที่สองแบบมอร์แกนเนติคกับเคานท์ อีกกรณีหนึ่งคือ[[มาเรีย คริสตีนาแห่งบูร์บง-ทูซิชิลีส์ พระราชินีแห่งสเปน]] (Maria Christina of Bourbon-Two Sicilies) ผู้เป็น[[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ของพระราชธิดา[[พระราชินีนาถอิสซาเบลลาที่ 2 แห่งสเปน]]หลังจากที่[[พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 แห่งสเปน]]เสด็จสวรรคต ก็ทรงแต่งงานกับทหารรักษาพระองค์คนหนึ่งอย่างแบบมอร์แกนเนติคอย่างลับๆ
 
==ที่มาของคำ==
คำว่า “มอร์แกนเนติค” มิได้นำมาใช้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1727([[พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับออกซฟอร์ด]]) มาจากภาษาละตินสมัยกลางว่า “morganaticus” ซึ่งมาจากวลีละตินว่า “matrimonium ad morganaticam” ซึ่งหมายถึงของขวัญจากเจ้าบ่าวที่มอบให้เจ้าสาวเช้าวันรุ่งขึ้นจากวันแต่งงาน หรือ “morning gift” หรือ “dower” ในภาษาอังกฤษ และในภาษาเยอรมันใช้คำว่า “morgangeba” (เปรียบได้กับคำว่า “morgengifu” ของภาษาอังกฤษเก่าและ “morgengifu” ของภาษาเยอรมันเก่า) ความหมายตรงตัวตามที่อธิบายไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดย ชาร์ลส์ ดู เฟรสเนกล่าวว่าคือการแต่งงานลักษณะนี้ภรรยาและบุตรที่เกิดมาคือของขวัญ<ref> Oxford English Dictionary, 3rd Edition</ref>
 
 
[[:en:Meyers Konversations-Lexikon|Meyers Konversations-Lexikon]] ปี ค.ศ. 1888 ให้ความหมายภาษาเยอรมันของ “Morganitische Ehe”<ref>[[Meyers Konversations-Lexikon]] 4th Edition </ref> ว่าเป็นคำที่รวมกันระหว่างภาษากอธิคโบราณ “morgjan” ที่แปลว่าจำกัด ซึ่งก็คือการจำกัดของขวัญจากเจ้าบ่าวในการแต่งงานลักษณะนี้และของขวัญยามเช้า “morgen” ในภาษาเยอรมันแปลว่าเช้าขณะที่ภาษาละตินใช้คำว่า “matutinus”
 
“ของขวัญยามเช้า” เป็น[[ประเพณี]]การจัดแบ่งอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแต่งานที่เริ่มทำกันครั้งแรกตอนต้นยุคกลางในเยอรมนี และเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากประเพณีของชนเผ่าในเยอรมันโบราณ ทางสถาบันศาสนาก็ได้นำประเพณีนี้มาใช้เพื่อทำให้สถานะภาพของสตรีดีมีความมั่นคงขึ้นบ้าง เจ้าสาวจะได้รับอสังหาริมทรัพย์จากเผ่าของสามีเพื่อเป็นการประกันในโอกาสที่จะเป็นหม้ายและเป็นสมบัติที่ภรรยาเก็บไว้ต่างหากเป็นส่วนตัว แต่เมื่อสัญญาการแต่งงานที่ระบุว่าเจ้าสาวและบุตรธิดาที่จะเกิดมาจะไม่ได้รับสิ่งใดจากเจ้าบ่าวหรือจากครอบครัวของเจ้าบ่าว นอกไปจาก “ของขวัญ” การแต่งงานชนิดนี้จึงเรียกว่าการแต่งงานที่มีแต่ “ของขวัญ” โดยปราศจากสมบัติอื่นใดที่ตามมา ซึ่งก็คือ “matrimonium ad morganaticum”
 
== อ้างอิง ==