ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทวีป วรดิลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Has many (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
'''ทวีป วรดิลก''' ([[25 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2471]] - ) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2538
 
ทวีป วรดิลก เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 9 คนของ พระทวีปธุรประศาสน์ (วร วรดิลก) อดีตเจ้าเมือง[[กระบี่]] และ[[ชลบุรี]] ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในกรณี[[กบฏบวรเดช]] พี่ทั้งสามคนล้วนอยู่ในวงการนักเขียน และนักหนังสือพิมพ์ คือ [[ดรุณ ศิวะศริยานนท์]] [[สุวัฒน์ วรดิลก]] และ[[ถวัลย์วร วรดิลก]] ใช้ชีวิตในวัยเด็กที่[[อำเภอหลังสวน]] [[จังหวัดชุมพร]] เรียนชั้นมัธยมที่โรงเรียมวัดโสมนัส และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร และศึกษาคณะนิติศาสตร์ [[มหาวิทยาัลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
 
ระหว่างเรียนธรรมศาสตร์ได้ทำกิจกรรมนักศึกษา และทำนิตยสาร "ธรรมจักร" ของสโมสรนักศึกษา จนถูกเพ่งเล็งจากฝ่ายบริหาร และเป็นหนึ่งในห้านักศึกษาที่ถูกลบชื่อออกจากทะเบียนนักศึกษา ฐานยุยงให้มีการต่อต้านรัฐบาล เมื่อ พ.ศ. 2494
บรรทัด 34:
ทวีป วรดิลก ทำงานกับหนังสือพิมพ์หลายฉบับในช่วง พ.ศ. 2496 - 2506 เช่น [[สยามนิกร]] [[พิมพ์ไทย]] [[สุภาพบุรุษ-ประชามิตร]] และ[[เสียงอ่างทอง]] จนถูกจับด้วยข้อหา[[กบฏ]] และ[[คอมมิวนิสต์]] ในปี พ.ศ. 2503 ถูกคุมขังพร้อมกับ [[จิตร ภูมิศักดิ์]] และ[[ทองใบ ทองเปาต์]] ในระหว่างถูกคุมขัง ได้สอบผ่านเป็น[[เนติบัณฑิต]] โดยมีเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวออกจากเรือนจำไปสอบในตอนเช้า และกลับเรือนจำในตอนเย็น
 
ในปี พ.ศ. 2506 เริ่มทำงานเป็นทนายความให้กับสำนักกฎหมาย[[มารุต บุนนาค]] และย้ายไปเป็นฝ่ายกฎหมายของ[[ธนาคารมหานคร]] (สมัยนั้นชื่อ ธนาคารไทยพัฒนา) หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ย้ายไปอยู่ประเทศอังกฤษกับน้องสาว ก่อนจะกลับมาทำงานเขียนบทความ แปลนวนิยาย แต่งบทกว เขียนสารคดีประัวัติศาสตร์ีประวัติศาสตร์ และเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับหลายบริษัท
 
ผลงานที่มีชื่อเสียง คือ นวนิยายแปลเรื่อง "คนขี่เสือ" และบทกวีนิพนธ์เพื่อชีวิต เช่น "จงเป็นอาทิตย์เมื่ออุทัย" "กำแพงเงา" และผลงานแต่งคำร้อง เพลง "โดมในดวงใจ" ([[เอื้อ สุนทรสนาน]] แต่งทำนอง) "มาร์ช ม.ธ.ก." (ทำนองเพลงฝรั่งเศส) "นางในสวรรค์" "รุ้งสวรรค์" "[[รักข้ามขอบฟ้า]]" ([[สง่า อารัมภีร]] แต่งทำนอง) และ "มาร์ชสิทธิมนุษยชน" ([[สุธรรม บุญรุ่ง]] (จิตร ภูมิศักดิ์) แต่งทำนอง)