ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบอบนาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วน ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ แปลจาก enwiki
บรรทัด 1,785:
 
ภายในพรรคนาซีเอง ฝ่ายที่ถือความเชื่อต่อต้านทุนนิยมคือ[[ชตวร์มอัพไทลุง]] กองกำลังกึ่งทหารซึ่งนำโดย[[แอ็นสท์ เริห์ม]] ชตวร์มอัพไทลุงมีความสัมพันธ์แบบซับซ้อนกับที่เหลือของพรรค ซึ่งทำให้ทั้งเริห์มและผู้นำชตวร์มอัพไทลุงท้องถิ่นมีอัตตาณัติมากพอสมควร{{sfn|Nyomarkay|1967|pp=1110–11}} ผู้นำท้องถิ่นหลายคนยังได้ส่งเสริมแนวคิดทางการเมืองต่าง ๆ ในหน่วยของตัวเอง ทั้ง "แนวคิดชาตินิยม สังคมนิยม ต่อต้านยิว เหยียดเชื้อชาติ เฟิลคิช หรืออนุรักษ์นิยม"{{efn-lr|แปลจาก "nationalistic, socialistic, anti-Semitic, racist, völkisch, or conservative ideas."{{sfn|Nyomarkay|1967|p=113}}}} มีความตึงเครียดเกิดขึ้นระหว่างชตวร์มอัพไทลุงและฮิตเลอร์ โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ. 1930 เป็นต้นไป หลายคนในชตวร์มอัพไทลุงเริ่มไม่วางใจในตัวฮิตเลอร์เนื่องด้วย "ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดขึ้นเรื่อย ๆ ที่มีกับกลุ่มผลประโยชน์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่และกำลังฝ่ายขวาจารีต"{{efn-lr|แปลจาก "increasingly close association with big industrial interests and traditional rightist forces"{{sfn|Nyomarkay|1967|p=119}}}} พวกชตวร์มอัพไทลุงมองการยึดอำนาจของฮิตเลอร์ใน ค.ศ. 1933 ว่าเป็น "การปฏิวัติครั้งแรก" ต่อฝ่ายซ้าย และเริ่มมีเสียงเรียกร้องในหมู่พวกเขาให้มี "การปฏิวัติครั้งที่สอง" ต่อฝ่ายขวา{{sfn|Nyomarkay|1967|pp=123–124}} หลังจากที่ได้ใช้ความรุนแรงกับฝ่ายซ้ายไปใน ค.ศ. 1933 กองกำลังชตวร์มอัพไทลุงของเริห์มก็ได้เริ่มโจมตีรายบุคคลซึ่งถูกหมายไว้ว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาฝ่ายอนุรักษ์นิยม{{sfn|Nyomarkay|1967|pp=123–124, 130}} ฮิตเลอร์เห็นการกระทำโดยอิสระของเริห์มว่าได้ละเมิดและอาจถึงขั้นเป็นภัยต่อตำแหน่งผู้นำของเขา และยังเป็นอันตรายต่อระบอบโดยเป็นการแปลกแยกประธานาธิบดีฝ่ายอนุรักษ์นิยม[[เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค]] และกองทัพเยอรมันซึ่งเอนเอียงไปฝ่ายอนุรักษ์นิยม{{sfn|Nyomarkay|1967|p=133}} ผลสุดท้ายเริห์มและสมาชิกสายมูลวิวัติคนอื่น ๆ ของชตวร์มอัพไทลุงได้ถูกฮิตเลอร์กวาดล้างไปใน ค.ศ. 1934 ในเหตุการณ์[[คืนมีดยาว]]{{sfn|Nyomarkay|1967|p=133}}
 
=== ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ===
{{ดูเพิ่มที่|ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ}}
[[ไฟล์:Bundesarchiv Bild 183-1987-0410-503, Nürnberg, Reichsparteitag, Wehrmachts-Aufmarsch.jpg|thumb|upright=1.25|[[การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค|การชุมนุมพรรคนาซี]]ที่[[เนือร์นแบร์ค]] ค.ศ. 1936]]
 
ภายใต้ระบอบนาซีซึ่งเน้นชาติเป็นสำคัญ ปัจเจกนิยมถูกประณาม และความเป็นส่วนหนึ่งของ''[[ฟ็อลค์]]'' (''Volk'') และ''[[ฟ็อลค์สเกอไมน์ชัฟท์]]'' (''Volksgemeinschaft'' "ประชาคมของประชาชน") ของชาวเยอรมันถูกเน้นย้ำแทน{{sfn|Mosse|2003|p=239}} ฮิตเลอร์ประกาศว่า "ทุกกิจกรรมและทุกความต้องการของปัจเจกทั้งปวงจะได้รับจัดการโดยส่วนรวมซึ่งมีพรรคเป็นตัวแทน"{{efn-lr|แปลจาก "Hitler declared that "every activity and every need of every individual will be regulated by the collectivity represented by the party" and that "there are no longer any free realms in which the individual belongs to himself"<ref name="Fest">{{cite book
|url=https://books.google.com/books?id=BjDrszaNTygC&q=%22individual%27s+entire+life%22+hitler&pg=PA418
|title=Hitler
|publisher=Houghton Mifflin Harcourt
|last=Fest|first= Joachim
|page=418
|isbn=9780544195547
|date=2013
}}</ref>}} [[ไฮน์ริช ฮิมเลอร์]] ให้เหตุผลกับการจัดตั้ง[[รัฐตำรวจ]] (police state) ควบคุม ที่กองกำลังรักษาความมั่นคงสามารถใช้อำนาจได้โดยพลการ ด้วยการกล่าวว่าความเป็นระเบียบและความมั่นคงของชาติควรมาก่อนความต้องการของปัจเจกชน{{sfn|Browder|2004|p=240}}
 
อ้างอิงตามนักปรัญชาและนักทฤษฎีการเมือง[[ฮันนาห์ อาเรินท์]] (Hannah Arendt) สิ่งเย้ายวนของระบอบนาซีในฐานะอุดมการณ์รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ (พร้อมไปด้วยประชากรเยอรมันขับเคลื่อนรับใช้ของมัน) อยู่ในภาพสรรสร้างที่จะช่วยเหลือสังคมจัดการกับ[[ความไม่ลงรอยกันทางประชาน|ความรับรู้ซึ่งขัดแย้งไม่ลงรอยกัน]] (cognitive dissonance) ทั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นสอดแทรกอยู่อย่างน่าสลด และหายนะทางเศรษฐกิจและทางวัตถุอันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่นำมาซึ่งการก่อการปฏิวัติกำเริบรอบตัวพวกเขา ระบอบนาซีในฐานะระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จนำเสนอทางออกจากปัญหาทางประวัติศาสตร์ซึ่งประเทศเยอรมนีประสบที่ "ชัดเจน" ที่จะมาแทนที่[[พหุนิยมทางการเมือง|พหุลักษณ์]]ซึ่งดำรงอยู่ภายในรัฐ[[ระบบรัฐสภา|ระบอบรัฐสภา]]หรือ[[ประชาธิปไตย]] ระดมแรงเกื้อหนุนด้วยการด้อยค่ารัฐบาลไวมาร์ชุดก่อน และจัดเตรียมแนวทางการเมืองเชิงชีววิทยาเพื่อไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ที่จะเป็นไทจากความไม่แน่นอนในอดีต มวลชนซึ่งแปลกแยกและปลีกแยกถูกฮิตเลอร์และอภิชนพรรคชี้นำไปยังทิศทางหนึ่ง ถูกทำให้กลายเป็นสาวกทางอุดมการณ์ด้วยโฆษณาชวนเชื่อที่เฉียบแหลม และถูกใช้ปลุกชีพระบอบนาซีขึ้นมา<ref>{{cite book
|first=Hannah |last=Arendt
|title=The Origins of Totalitarianism
|location=[[ออร์แลนโด]], [[รัฐฟลอริดา]]
|publisher=Harcourt Inc.
|date=1973
|pages= 305–459
|isbn=
}}</ref>
 
ในขณะที่ผู้ฝักใฝ่ระบอบนาซีรังเกียจการปกครองโดยรัฐสภาและประชาธิปไตยแบบสหรัฐหรืออังกฤษ[[การเปรียบเทียบระบอบนาซีกับลัทธิสตาลิน|คล้ายกับลัทธิสตาลิน]] (Comparison of Nazism and Stalinism) แต่พวกเขามีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร วิกฤต[[ญาณวิทยา]]จะเกิดขึ้นหากพยายามสังเคราะห์และเปรียบต่างระหว่างระบอบนาซีและลัทธิสตาลินให้เป็นสองด้านของเหรียญเดียวกันด้วยการมีผู้นำทรราช เศรษฐกิจซึ่งควบคุมโดยรัฐ และโครงสร้างตำรวจควบคุมที่คล้ายกัน กล่าวได้ว่า แม้ทั้งสองจะมีองค์ประกอบของสิ่งประกอบสร้างทางการเมืองร่วมกัน แต่ทั้งสองมีโลกทัศน์ที่เป็นปฏิปักษ์กันโดยสิ้นเชิง และเมื่อวิเคราะห์เปรียบกันโดยตรงก็จะพบ "อสมมาตรที่มิอาจเชื่อมประสานกันได้"<ref>{{cite book
|editor-first=Michael |editor-last=Geyer |editor2-first=Sheila |editor2-last=Fitzpatrick
|chapter=Introduction: After Totalitarianism – Stalinism and Nazism Compared
|title=Beyond Totalitarianism: Stalinism and Nazism Compared
|location=[[เคมบริดจ์]]และ[[นิวยอร์ก]]
|publisher=Cambridge University Press
|date=2008
|pages=20–21
|isbn=9781139475112
}}</ref>
 
== หมายเหตุ ==