ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จันทรุปราคา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10060115 สร้างโดย 58.8.44.243 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
DomeMyDome (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Lunar eclipse April 15 2014 California Alfredo Garcia Jr1.jpg|thumb|300px|จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557]]
'''จันทรุปราคา''' (ชื่ออื่น เช่น '''จันทรคาธ''', '''จันทรคราส''', '''ราหูอมจันทร์''' หรือ '''กบกินเดือน'''; {{lang-en|lunar eclipse}}) เป็นปรากฏการณ์ที่[[ดวงจันทร์]]ผ่านหลัง[[โลก]]เข้าสู่อัมบราเงามืด (umbra) โดยตรง ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อ[[ดวงอาทิตย์]] โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง ชนิดและระยะของ[[อุปราคา]]ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์เทียบกับปมวงโคจร (orbital node)
 
จันทรุปราคาสามารถดูได้จากทุกที่ในฝั่งกลางคืนของโลก ซึ่งต่างกับ[[สุริยุปราคา]]ซึ่งมองเห็นได้จากพื้นที่ค่อนข้างเล็กของโลก จันทรุปราคากินเวลาเป็นชั่วโมง ขณะที่สุริยุปราคาเต็มดวงกินเวลาเพียงไม่กี่นาทีในที่หนึ่ง ๆ เนื่องจากเงาของดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่า นอกจากนี้ จันทรุปราคายังสามารถดูได้โดยไม่ต้องมีสิ่งป้องกันดวงตาหรือการป้องกันเป็นพิเศษ เพราะมืดกว่าจันทร์เพ็ญ
 
== ประเภทของจันทรุปราคา<ref>{{Cite web|last=Nuttapong|title=หลังเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน เตรียมตัวมาส่องปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวครั้งที่ 2 ของปี|url=https://www.narit.or.th/index.php/amateur-astro-training/astro-photo-article/1080-partial-lunar-eclipse-5-june-2020|website=สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)|language=en-gb}} สืบค้นเมื่อ 2023-1-1.</ref> ==
== มาตราดังชง ==
เงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ '''เงามัว (Penumbra Shadow)''' เป็นเงาส่วนนอกสุด เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะมีความสว่างลดลงเล็กน้อย และ '''เงามืด (Umbra Shadow)''' เป็นเงาที่มืดสนิท เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะทำให้เกิดส่วนมืดเว้าแหว่ง จึงแบ่งประเภทของปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ดังนี้
[[André-Louis Danjon|อองเดร ดังชง]]คิดค้นมาตราต่อไปนี้ (เรียก [[มาตราดังชง]]) เพื่อจัดความมืดโดยรวมของจันทรุปราคา<ref>{{cite web | title = Observing and Photographing Lunar Eclipses | url = http://skytonight.com/observing/objects/eclipses/3304036.html | last = Paul Deans and Alan M. MacRobert | publisher = Sky and Telescope | access-date = 2014-10-09 | archive-date = 2007-05-20 | archive-url = https://web.archive.org/web/20070520233320/http://skytonight.com/observing/objects/eclipses/3304036.html | url-status = dead }}</ref>
 
=== จันทรุปราคาเงามัว ===
จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด สามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นค่อนข้างยาก
 
=== จันทรุปราคาบางส่วน ===
จันทรุปราคาบางส่วน (Partial lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง
 
=== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ===
จันทรุปราคาเต็มดวง (Total lunar eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์ทั้งดวงเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในเงามืดของโลก จะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เนื่องจากแสงขาวจากดวงอาทิตย์จะถูกหักเหเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศโลก สีแดงและสีส้มเบี่ยงทิศทางเข้าหากลางเงามืด จึงมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงระหว่างเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง
 
=== จันทรุปราคาแบบกึ่งกลาง ===
จันทรุปราคาแบบกึ่งกลาง (Central lunar eclipse) เป็นจันทรุปราคาเต็มดวงในระหว่างที่ดวงจันทร์ผ่านใจกลางเงาของโลกไปสัมผัสกับจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์(antisolar point) ซึ่งเป็นจุดที่จะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ 180° จันทรุปราคาประเภทนี้ค่อนข้างหายาก มีอุปราคาที่ใหญ่ และระยะเวลาคราสจะยาวนานกว่าจันทรุปราคาเต็มดวงที่ไม่ได้ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์
 
=== ซีลินิเลียน ===
ซีลินิเลียน (Selenelion) เป็นจันทรุปราคาที่สามารถสังเกตเห็นทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ที่เกิดจันทรุปราคาพร้อมกันได้ เกิดจากการหักเหโดย[[ชั้นบรรยากาศ|ชั้นบรรยากาศของโลก]] ทำให้ปรากฎดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่เกิดจันทรุปราคาอยู่สูงเกินตำแหน่งจริง จันทรุปราคาประเภทนี้ สามารถสังเกตการณ์ได้บนพื้นที่ที่สูงกว่าขอบฟ้า
 
== ช่วงเวลา ==
[[ไฟล์:Lunar eclipse contact diagram.svg|thumb|303x303px|ภาพอธิบายช่วงเวลาของจันทรุปราคา]]
 
* P1 : เริ่มต้นการเข้าสู่คราสเงามัว เงามัวของโลกสัมผัสกับขอบของดวงจันทร์
 
* U1 : เริ่มต้นของคราสบางส่วน เงาของโลกสัมผัสกับขอบของดวงจันทร์
 
* U2 : เริ่มต้นของคราสเต็มดวง พื้นผิวของดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกทั้งหมด
 
* กึ่งกลางคราส : ระยะสูงสุดของคราส ดวงจันทร์อยู่ใกล้ศูนย์กลางของโลกมากที่สุด
 
* U3 : สิ้นสุดของคราสเต็มดวง ขอของดวงจันทร์ออกจากพื้นผิวโลก
 
* U4 : สิ้นสุดคราสบางส่วน เงาของโลกออกจากพื้นผิวดวงจันทร์
 
* P4 : สิ้นสุดคราสเงามัว เงามัวของโลกไม่สัมผัสกับดวงจันทร์อีกต่อไป
 
== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ==
[[André-Louis Danjon|อองเดร ดังชง]] คิดค้นมาตราต่อไปนี้ (เรียก [[มาตราดังชง]]) เพื่อจัดความมืดและบ่งบอกถึงลักษณะโดยรวมของจันทรุปราคา<ref>{{cite web | title = Observing and Photographing Lunar Eclipses | url = http://skytonight.com/observing/objects/eclipses/3304036.html | last = Paul Deans and Alan M. MacRobert | publisher = Sky and Telescope | access-date = 2014-10-09 | archive-date = 2007-05-20 | archive-url = https://web.archive.org/web/20070520233320/http://skytonight.com/observing/objects/eclipses/3304036.html | url-status = dead }}</ref>
:'''L=0''': อุปราคามืดมาก แทบมองไม่เห็นดวงจันทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลางคราสเต็มดวง (mid-totality)
:'''L=1''': อุปราคามืด มีสีเทาหรือออกน้ำตาล แยกแยะรายละเอียดได้ยาก
เส้น 12 ⟶ 47:
:'''L=4''': อุปราคาสีแดง-ทองแดงหรือส้มสว่างมาก เงาอัมบราสีออกน้ำเงินและขอบสว่างมาก
และตัวอักษรตัว l หมายถึง luna
หรือดวงจันทร์<gallery>
 
== ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ==
เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
:* ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น
:* ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
:* ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด
:* ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด
:* ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก
<gallery>
ไฟล์:Lunar-eclipse-09-11-2003.jpeg|จันทรุปราคาเต็มดวง (ระดับ 4)
ไฟล์:Evnt UmbrelMoon40307 02.JPG|จันทรุปราคาเต็มดวง (ขณะเริ่มสัมผัส) เช้ามืดวันที่ [[4 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2550]] มองจาก อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี