ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัณฑิต กันตะบุตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narisornkan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narisornkan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Bundhit_kantabutra.jpg‎|thumb|right|ศาสตราจารย์ บัณฑิตกันตะบุตร ]]‎[[ศาสตราจารย์]] บัณฑิต กันตะบุตร ผู้ซึ่งนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก และเป็นผู้ริเริ่มการสอนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัย เป็นบุตรของพระยาราชวิไลการ ได้เกิดที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2458 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญกรุงเทพฯ ท่านเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศฟิลิปปินส์ จนสำเร็จปริญญาตรี (B.S.) จาก Far Eastern University และ ปริญญาโท (M.S.) จาก The University of Philippines หลังจากนั้นท่านบินข้ามทวีป ไปศึกษาต่อ ณ.ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ [[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] (University of Chicago) ได้รับปริญญา MBA เน้นหนักวิชาคณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
 
ระหว่างที่ศาสตราจารย์ บัณฑิต กันตะบุตร ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) พร้อม ๆ กับเป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้าภาควิชาสถิติ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ท่านมองเห็นศักยภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถปฏิวัติการศึกษา และการพัฒนาประเทศไทย ท่านจึงได้หาเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ และทรัพยากรอื่น ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อจัดหา และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์สองระบบแรกของประเทศไทย คือ เครื่อง IBM 1620 ที่[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และเครือ่ง IBM 1401 ที่[[สำนักงานสถิติแห่งชาติ]] ในเวลาไล่เลี่ยกัน ในปี พ.ศ.2506
 
สำหรับการสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร ได้จัดหลักสูตรสอนการเขียน Machine Language, Symbolic Language, FORTRAN และ COBOL เป็นแห่งแรกของประเทศ ที่ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มาหวิทยาลัย โดยใช้เครื่อง IBM 1620 ให้นิสิตใช้เรียน และใช้วิ่งโปรแกรมได้เต็มที่ ขณะเดียวกันก็ยังมีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ มาขอใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ทั้งเพื่อการเรียนการสอน และเพื่อการทำวิจัยมากกมาย กล่าวได้ว่า จากวิสัยทัศน์ที่ล้ำสมัยนี้ เป็นจุดเริ่มต้น ของการผลิตลุคลากรชั้นนำด้านไอที ให้กับประเทศ ซึ่งมีผลจนถึงทุกวันนี้ หลักสูตรคอมพิวเตอร์ที่ภาควิชาสถิตินี้ ยังเปิดโอกาสให้บุคคลภาคนอก เข้ารับการอบรมด้วย จึงเป็นแรงผลักดันสำคัญอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาไอที และเศรษฐกิจของประเทศในช่วงเวลาต่อมา ส่วนเครื่อง IBM 1401 ที่ สสช. ก็ใช้ปฏิบัติงานด้านประมวลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เช่นงานสำมโนประชากรเป็นต้น