ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบอบนาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Thastp (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1,618:
|publisher=Cambridge University Press
|isbn=9780521329484
}}</ref>
 
พวกนาซีต่อต้านแนวคิด[[สวัสดิการ|สวัสดิการสังคม]] (social welfare) โดยหลักการ และยึดแนวคิดแบบทฤษฎีดาร์วินทางสังคมแทนว่าผู้ที่อ่อนแอและอ่อนด้อยควรดับสูญไป{{sfn|Evans|2005|pp=483–84}} พวกเขาประณามระบบสวัสดิการของสาธารณรัฐไวมาร์และการกุศลของเอกชน โดยกล่าวหาว่าเป็นการช่วยเหลือผู้คนที่พวกเขามองว่ามีเชื้อชาติที่อ่อนแอและต่ำต้อยซึ่งควรถูกถอนรากถอนโคนทิ้งผ่านกระบวน[[การคัดเลือกโดยธรรมชาติ]]{{sfn|Evans|2005|p=484}} อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการว่างงานและความยากจนอย่างแพร่หลายจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ พวกนาซีจำเป็นต้องจัดตั้งสถาบันการกุศลมาช่วยเหลือชาวเยอรมันที่มีเชื้อชาติบริสุทธิ์เพื่อรักษาฐานเสียงสนับสนุนจากประชาชน และในขณะเดียวกันอ้างว่านี่เป็นการแสดงถึง "การช่วยเหลือตนเองทางเชื้อชาติ" และไม่ใช่การกุศลแบบไม่เลือกหน้าหรือระบบสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า{{sfn|Evans|2005|pp=484–85}} โครงการนาซีอาทิ[[วินเทอร์ฮิล์ฟสแวร์ค|โครงการบรรเทาทุกข์ฤดูหนาวของประชาชนเยอรมัน]] (''Winterhilfswerk'') และโครงการ[[สวัสดิการประชาชนชาติสังคมนิยม]] (National Socialist People's Welfare; NSV) ที่ครอบคลุมกว่าถูกจัดระเบียบในรูปสถาบันกึ่งเอกชน โดยตามหลักการจะพึ่งพาทุนบริจาคเอกชนจากชาวเยอรมันเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่มีเชื้อชาติเดียวกัน แต่ในทางปฏิบัติผู้ที่ไม่ยอมบริจาคอาจได้พบกับผลร้ายแรงที่จะตามมา{{sfn|Evans|2005|pp=486–87}} ระบบ NSV ต่างจากสถาบันสวัสดิการสังคมสมัยสาธารณรัฐไวมาร์และองค์กรการกุศลคริสเตียน โดยที่จะให้ความช่วยเหลือบนฐานของเชื้อชาติอย่างชัดเจน ความช่วยเหลือมีไว้สำหรับเฉพาะผู้ที่ "มีความสมบูรณ์ทางเชื้อชาติ สามารถและพร้อมทำงาน เชื่อถือได้ในทางการเมือง กับพร้อมและสามารถสืบพันธุ์" ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ชาวอารยันจะถูกยกเว้น รวมถึงผู้ที่ "ขี้เกียจทำงาน" "ไม่เข้าสังคม" และ "เจ็บป่วยทางพันธุกรรม"{{sfn|Evans|2005|p=489}} มีความพยายามนำผู้หญิงชนชั้นกลางเข้าทำงานเพื่อสังคมในการสนับสนุนครอบครัวขนาดใหญ่ซึ่งประสบความสำเร็จ{{sfn|Grunberger|1971b|p=46}} และโครงการบรรเทาทุกข์ฤดูหนาวมีบทบาทเป็นพิธีกรรมเพื่อผลิตความเห็นอกเห็นใจจากสาธารณชน{{sfn|Grunberger|1971b|p=79}}
 
นโยบายกสิกรรมมีความสำคัญต่อนาซี เพราะนอกจากเป็นการตอบสนองต่อเศรษฐกิจแล้ว ยังเป็นการตอบสนองต่อมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวกับ''เลเบินส์เราม์''ของพวกเขาเช่นกัน ในความคิดของฮิตเลอร์ การหาที่ดินและผืนดินมาเพิ่มเป็นสิ่งที่จำเป็นในการขึ้นรูปเศรษฐกิจเยอรมนี{{sfn|Kershaw|2008|pp=52-53}} และเพื่อผูกมัดเกษตรกรกับที่ดินของเขา การซื้อขายที่ดินทำเกษตรถูกห้าม<ref>{{cite book
|first=Rafael |last=Scheck
|title=Germany, 1871–1945: A Concise History
|page=167
|isbn=9781845208172
|publisher=Berg Publishers
|date=2008
}}</ref> กรรมสิทธิ์ไร่นายังคงเป็นของเอกชน แต่มีการมอบสิทธิผูกขาดธุรกิจให้กับคณะกรรมการการตลาดในการควบคุมราคาและการผลิตด้วยระบบโควตา<ref name=berman >{{cite book
|title=The Primacy of Politics: Social Democracy and the Making of Europe's Twentieth Century
|url=https://books.google.com/books?id=BNV5uVCQnq8C&q=146&pg=PA146
|first=Sheri |last=Berman
|page=146
|isbn=978-0-521-52110-9
|date=2006
}}</ref> [[กฎหมายไร่นามรดกไรช์]] (Reichserbhofgesetz) ค.ศ. 1933 ได้จัดตั้งโครงสร้างกลุ่มผูกขาดขึ้นภายใต้องค์กรรัฐนามว่า[[ไรช์สแนร์ชตันท์]] (Reichsnährstand; RNST) ซึ่งกำหนด "ทุกอย่างตั้งแต่เมล็ดพันธุ์และปุ๋ยที่ให้ใช่จนถึงวิธีการสืบทอดที่ดิน"{{efn-lr|แปลจาก "everything from what seeds and fertilizers were used to how land was inherited"<ref name=berman/>}} ฮิตเลอร์มองว่าเศรษฐกิจเยอรมันเป็นเครื่องมือทรงอำนาจเป็นหลัก และเชื่อว่าเศรษฐกิจนั้นไม่ได้มีไว้สร้างความมั่งคั่งหรือความก้าวหน้าทางเทคนิคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองประชาชาติ แต่เชื่อว่าความสำเร็จทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการจัดหาปัจจัยและวัสดุพื้นฐานที่จำเป็นในการพิชิตดินแดนทางทหาร{{sfn|Overy|1995|pp=1-30}} แม้ว่าพัฒนาการทางเศรษฐกิจอันเป็นผลจากโครงการชาติสังคมนิยมต่าง ๆ จะมีบทบาทในการสนองต่อประชาชนเยอรมัน แต่นาซีและฮิตเลอร์โดยเฉพาะไม่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวจะเพียงพอต่อการผลักดันเยอรมนีขึ้นเป็น[[มหาอำนาจ]]ในเวทีโลก พวกนาซีจึงพยายามพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยทั่วไปไปพร้อมกับการใช้จ่ายทางทหารอย่างมหาศาลเพื่อติดอาวุธใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังการปฏิบัติใช้[[แผนสี่ปี]] ซึ่งรวบอำนาจปกครองให้กับพวกเขาและความสัมพันธ์แบบสั่งการที่เหนียวแน่นระหว่างรัฐบาลชาติสังคมนิยมกับอุตสาหกรรมอาวุธเยอรมัน<ref>{{cite book
|first=Klaus |last=Hildebrand
|title=The Third Reich
|location=[[ลอนดอน]] และ[[นิวยอร์ก]]
|publisher=Routledge
|date=1986
|pages=39–48
|isbn=9780415078610
}}</ref> งบประมาณรายจ่ายของกองทัพระหว่าง ค.ศ. 1933 และ 1939 สูงถึงแปดหมื่นสองพันล้านไรชส์มาร์ค และนับเป็นสัดส่วนร้อยละ 23 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติเยอรมนี เมื่อพวกนาซีได้เคลื่อนขบวนประชาชนและเศรษฐกิจของพวกเขาเข้าทำสงคราม<ref>{{cite book
|first=Jost |last=Dülffer
|title=Nazi Germany 1933–1945: Faith and Annihilation
|location=[[ลอนดอน]]
|publisher=Bloomsbury Academic
|date=2009
|pages=72–73
|isbn=9780340613931
}}</ref>