ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขที่อยู่ไอพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
/*
ย้อนการแก้ไขที่ 10483476 สร้างโดย 184.22.91.195 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{จัดรูปแบบ}}
'''เลขที่อยู่ไอพี'''<ref>{{Cite web |url=http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |title=สำเนาที่เก็บถาวร |access-date=2009-11-29 |archive-date=2017-07-15 |archive-url=https://web.archive.org/web/20170715173151/http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php |url-status=dead }}</ref><ref>https://web.archive.org/web/20170715173151/</ref> ({{lang-en|IP address}}) คือสัญลักษณ์เชิงหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด (เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร<ref name =" rfc760">RFC 760, ''DOD Standard Internet Protocol'' (January 1980)</ref> เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง<ref name =" rfc791">RFC 791, ''Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification'' (September 1981)</ref>
 
แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง<ref name = rfc760 /> ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน ค.ศ. 1995 คือ[[เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งใช้ตัวเลข 128 บิตกำหนดที่อยู่<ref name =" rfc1883" >RFC 1883, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden (December 1995)</ref> และได้ทำให้เป็นมาตรฐานใน อาร์เอฟซี 2460 เมื่อ ค.ศ. 1998<ref name =" rfc2460">RFC 2460, ''Internet Protocol, Version 6 (IPv6) Specification'', S. Deering, R. Hinden, The Internet Society (December 1998)</ref> ส่วนการนำมาใช้จริงนั้นเริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษที่ 2000
 
เลขที่อยู่ไอพีเป็นเลขฐานสอง แต่ก็มักจะแสดงผลและเก็บบันทึกในไฟล์ข้อความด้วยสัญกรณ์ที่มนุษย์สามารถอ่านได้ ตัวอย่างเช่น '''172.16.254.1''' (รุ่น 4) และ '''2001:db8:0:1234:0:567:8:1''' (รุ่น 6) เป็นต้น
 
องค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) เป็นผู้ดำเนินการจัดสรรปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีทั่วโลก และมอบอำนาจให้[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค]] (RIR) ทั้ง 5 เขต ทำหน้าที่จัดสรรกลุ่มเลขที่อยู่ไอพีสำหรับ[[หน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น]] (ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) และหน่วยงานอื่น ๆ
 
== รุ่นของอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ==
บรรทัด 42:
|}
 
ผู้ใช้สามารถใช้บล็อกที่สงวนไว้ดังกล่าวอันใดก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ดูแลเครือข่ายจะแบ่งบล็อกเป็น[[เครือข่ายย่อย]] ตัวอย่างเช่น เราเตอร์ตามบ้าน
 
=== การหมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ===
[[การหมดไปของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4]] คือภาวะการจัดหาเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ที่ว่างอยู่ขององค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IANA) และหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (RIR) เพื่อที่จะกำหนดให้ผู้ใช้ปลายทางและหน่วยงานทะเบียนอินเทอร์เน็ตส่วนท้องถิ่น เช่นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต มีจำนวนลดน้อยถอยลง เลขที่อยู่ส่วนกลางหลักของ IANA ได้ใช้หมดไปแล้วเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 เมื่อ 5 บล็อกสุดท้ายถูกจัดสรรให้กับ RIR ทั้ง 5 ภูมิภาค<ref>{{cite web|url=http://www.nro.net/news/ipv4-free-pool-depleted|title=Free Pool of IPv4 Address Space Depleted|last=Smith|first=Lucie|author2=Lipner, Ian|date=3 February 2011|publisher=[[Regional Internet registry#Number_Resource_Organization|Number Resource Organization]]|accessdate=3 February 2011}}</ref><ref>{{cite web|url=http://mailman.nanog.org/pipermail/nanog/2011-February/032105.html |title=Five /8s allocated to RIRs – no unallocated IPv4 unicast /8s remain | author=ICANN,nanog mailing list}}</ref>
[[ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายเอเชีย-แปซิฟิก]] (APNIC) เป็น RIR แรกที่ใช้เลขที่อยู่ส่วนภูมิภาคหมดไปเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 2011 ยกเว้นปริภูมิเลขที่อยู่จำนวนเล็กน้อยที่สงวนไว้สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปยังเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ซึ่งเจตนาจัดสรรให้เป็นกระบวนการที่ถูกจำกัด
<ref>{{cite web|title=APNIC IPv4 Address Pool Reaches Final /8|url=http://www.apnic.net/publications/news/2011/final-8|accessdate=15 April 2011|author=Asia-Pacific Network Information Centre|date=15 April 2011|archive-date=2011-08-07|archive-url=https://web.archive.org/web/20110807162057/http://www.apnic.net/publications/news/2011/final-8|url-status=dead}}</ref>
 
บรรทัด 52:
{{บทความหลัก|เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6}}
[[ไฟล์:Ipv6 address.svg|right|300px|thumb|แผนภาพแสดงการแยกเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 จากเลขฐานสิบหกเป็นเลขฐานสอง]]
ภาวะปริภูมิเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งที่มีเทคนิคต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ กระตุ้นให้[[คณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต]] (IETF) ต้องแสวงหาเทคนิคใหม่เพื่อขยายความสามารถในการกำหนดที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จึงคิดค้นกันว่าวิธีแก้ปัญหาอย่างถาวรคือการออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลใหม่ อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่นถัดไปที่เจตนาให้แทนที่รุ่น 4 ก็คือ [[อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6]] (IPv6) ซึ่งกำหนดเมื่อ ค.ศ. 1995 <ref name=rfc1883/><ref name=rfc2460/> โดยขนาดของเลขที่อยู่เพิ่มขึ้นจากเดิม 32 บิตเป็น 128 บิต หรือ 16 ออกเตต ทำให้น่าจะเพียงพอสำหรับอนาคตอันใกล้ ถึงแม้ว่าบล็อกเครือข่ายจะถูกกำหนดอย่างเหลือเฟือ ถ้าคำนวณโดยคณิตศาสตร์ ปริภูมิเลขที่อยู่ใหม่นี้มีจำนวนมากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ประมาณ {{val|3.403|e=38}} (2<sup>128</sup>) หมายเลข
 
เจตนาหลักของการออกแบบใหม่ไม่เพียงแค่เพิ่มปริมาณเลขที่อยู่ให้เพียงพอเท่านั้น ยังช่วยให้มีการรวบรวมหมายเลขขึ้นต้นของเครือข่ายย่อยที่จุดจัดเส้นทางอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตารางจัดเส้นทางมีขนาดเล็กกว่า และการจัดสรรแบบเอกเทศเล็กสุดเท่าที่เป็นไปได้ คือเครือข่ายย่อยที่มีแม่ข่ายจำนวน 2<sup>64</sup> เครื่อง เท่ากับขนาดทั้งหมดของอินเทอร์เน็ตโดยเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ยกกำลังสอง ด้วยระดับนี้ อัตราการใช้งานเลขที่อยู่จริงจะน้อยมากบนส่วนใด ๆ ของเครือข่ายเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 การออกแบบใหม่นี้ก็ยังรองรับโอกาสที่จะแบ่งโครงสร้างเลขที่อยู่ของส่วนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ซึ่งเป็นการจัดการเฉพาะที่ของปริภูมิที่เหลืออยู่ของส่วนนั้น จากหมายเลขขึ้นต้นที่ใช้สำหรับจัดเส้นทางภายนอกเครือข่าย เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 มีความสามารถในการเปลี่ยนหมายเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทางทั้งเครือข่ายได้อัตโนมัติ ซึ่งความสามารถในการเชื่อมต่อทั่วโลกหรือนโยบายการจัดเส้นทางควรเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบเครือข่ายภายในใหม่หรือไล่หมายเลขใหม่ด้วยมือ
บรรทัด 58:
เลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 จำนวนมหาศาลช่วยให้สามารถกำหนดบล็อกขนาดใหญ่กับจุดประสงค์เฉพาะกิจ และรวบรวมการจัดเส้นทางได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าจัดสรรได้เหมาะสม เนื่องด้วยปริภูมิเลขที่อยู่ขนาดใหญ่ จึงไม่จำเป็นต้องมีวิธีการอนุรักษ์เลขที่อยู่ให้ซับซ้อนดังที่ใช้ในการจัดเส้นทางระหว่างโดเมนแบบไร้คลาส (CIDR)
 
ระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปและเซิร์ฟเวอร์องค์การสมัยใหม่หลายระบบได้รองรับอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลรุ่น 6 อยู่แล้วในตัวเอง แต่อุปกรณ์อื่นยังนำมาใช้ไม่แพร่หลาย เช่นเราเตอร์ตามบ้าน [[วอยซ์โอเวอร์ไอพี]] (VoIP) กับอุปกรณ์สื่อผสม และอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย
 
==== เลขที่อยู่ส่วนตัวของรุ่น 6 ====
บล็อกเลขที่อยู่บางบล็อกในรุ่น 6 ก็สงวนไว้ใช้สำหรับเครือข่ายส่วนตัวหรือภายในเช่นเดียวกับรุ่น 4 สำหรับรุ่น 6 นี้จะเรียกว่า [[เลขที่อยู่เฉพาะที่หนึ่งเดียว]] (unique local address: ULA) อาร์เอฟซี 4193 ได้สงวนเลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง <tt>fc00::/7</tt> สำหรับบล็อกนี้ ซึ่งแบ่งเป็นบล็อก <tt>/8</tt> อีกสองบล็อกที่ใช้นโยบายต่างกัน เลขที่อยู่เหล่านี้ใช้ตัวเลข[[สุ่มเทียม]]จำนวน 40 บิตเพื่อลดความเสี่ยงของการชนกันของหมายเลขหากไซต์ผสานเข้าด้วยกันหรือกลุ่มข้อมูลเดินไปผิดเส้นทาง <ref>RFC 4193 section 3.2.1</ref>
 
การออกแบบในช่วงแรกได้กำหนดใช้บล็อกหนึ่งสำหรับจุดประสงค์นี้ (<tt>fec0::</tt>) เรียกว่าเลขที่อยู่เฉพาะไซต์ (site-local address) <ref name=":0">RFC 3513</ref> อย่างไรก็ตาม การนิยามว่าสิ่งใดประกอบขึ้นเป็น ''ไซต์'' ยังคงไม่ชัดเจน และนโยบายการกำหนดเลขที่อยู่ที่ไม่ดีพอทำให้เกิดความสับสนในการจัดเส้นทาง ข้อกำหนดสำหรับช่วงเลขที่อยู่นี้จึงถูกทอดทิ้ง และจะต้องไม่มีการใช้ในระบบใหม่ ๆ <ref>RFC 3879</ref>
 
เลขที่อยู่ที่ขึ้นต้นด้วย <tt>fe80:</tt> เรียกว่า[[เลขที่อยู่เฉพาะลิงก์]] (link-local address) ถูกกำหนดให้ส่วนต่อประสานใช้เพื่อสื่อสารผ่านลิงก์เท่านั้น เลขที่อยู่นี้จะสร้างขึ้นมาโดยอัตโนมัติโดยระบบปฏิบัติการสำหรับส่วนต่อประสานเครือข่ายแต่ละส่วน ช่วยให้เกิดความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายทันทีและอัตโนมัติแก่เครื่องแม่ข่ายไอพีรุ่น 6 และหมายความว่า ถ้าเครื่องแม่ข่ายหลายเครื่องเชื่อมต่อกันผ่านฮับหรือสวิตช์ทั่วไป มันจะมีเส้นทางการสื่อสารผ่านทางเลขที่อยู่เฉพาะลิงก์ของมัน คุณลักษณะนี้มีใช้ในชั้นที่ต่ำกว่าของการควบคุมดูแลเครือข่ายไอพีรุ่น 6 (เช่น [[โพรโทคอลค้นพบจุดต่อข้างเคียง]], NDP)
 
เลขขึ้นต้นของเลขที่อยู่ส่วนตัวต่าง ๆ จะไม่ถูกนำไปใช้จัดเส้นทางบนอินเทอร์เน็ตสาธารณะ
 
== เครือข่ายย่อยของไอพี ==
เครือข่ายไอพีอาจแบ่งเป็น[[เครือข่ายย่อย]]ได้ทั้งไอพีรุ่น 4 และไอพีรุ่น 6 เลขที่อยู่ไอพีหมายเลขหนึ่งจะถูกจำแนกเป็นสองส่วนเพื่อจุดประสงค์นี้ได้แก่ ''เลขขึ้นต้นเครือข่าย'' (network prefix) และ ''ตัวระบุแม่ข่าย'' (host identifier) สำหรับรุ่น 4 หรือ ''ตัวระบุส่วนต่อประสาน'' (interface identifier) สำหรับรุ่น 6 ตัวพรางเครือข่ายย่อยหรือเลขขึ้นต้นไซเดอร์จะบ่งบอกว่าเลขที่อยู่ไอพีจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนดังกล่าวอย่างไร
 
คำว่า ''ตัวพรางเครือข่ายย่อย'' (subnet mask) ใช้กับไอพีรุ่น 4 เท่านั้น แต่ทั้งสองรุ่นก็ใช้มโนทัศน์และสัญกรณ์ของไซเดอร์เหมือนกัน โดยเขียนเครื่องหมายทับตามด้วยตัวเลขฐานสิบต่อท้ายเลขที่อยู่ไอพี ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ''เลขขึ้นต้นของการจัดเส้นทาง'' (routing prefix) ยกตัวอย่าง กำหนดให้เลขที่อยู่ไอพีเป็น <tt>192.0.2.1</tt> และตัวพรางเครือข่ายย่อยเป็น <tt>255.255.255.0</tt> [[สัญกรณ์ไซเดอร์]]สำหรับทั้งสองนี้ก็คือ <tt>192.0.2.1/24</tt> เพราะ 24 บิตแรกของเลขที่อยู่ไอพีแสดงถึงหมายเลขเครือข่ายและเครือข่ายย่อย
 
== การกำหนดเลขที่อยู่ไอพี ==