ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Reverted 1 edit by 49.228.149.45 (talk) (TwinkleGlobal)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 76:
| today = {{flag|Laos}}<br/>{{flag|Thailand}}<br/>{{flag|Cambodia}}
}}
'''ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์''' คือ[[อาณาจักรลาวล้านช้าง]]ที่ตั้งอยู่ทางต้นใต้ของ[[ประเทศลาว]]ในปัจจุบัน ดำรงอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2256 ถึง พ.ศ. 2489 เป็นเวลา 236 ปี อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็น[[ประเทศราช]]ของ[[ไทย]]จนถึงสมัย[[รัชกาลที่ 5]] เมื่อ[[ฝรั่งเศส]]เข้ามาครอบครองบริเวณประเทศลาวทั้งหมด จำปาศักดิ์ถูกยุบรวมเข้ากับ[[อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง]] กลายมาเป็น'''[[ราชอาณาจักรลาว]]''' เมื่อปี พ.ศ. 2489
 
== ประวัติศาสตร์ ==
{{ประวัติศาสตร์ลาว}}
=== สมัยเอกราช ===
เมื่อ[[พระเจ้าสุริยวงศาริยวงศาธรรมิกราช]]แห่งนครเวียงจันทน์เสด็จสวรรคต ไม่มีพระราชบุตรสืบราชสมบัติ [[พระยาเมืองจัน]]ผู้เป็นเสนาบดีได้ชิงเอาราชสมบัติ และจะเอานางสุมังคลา พระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นแม่หม้ายและมีลูกในครรภ์ขึ้นเป็นเมีย แต่นางไม่ยอมจึงหนีไปขอความช่วยเหลือจาก[[พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก]] พระครูจึงพาญาติโยมของตนประมาณ 3,000 คนและนางสุมังคลาหนีออกจากเวียงจันทน์ไปซ่อนอยู่ที่ ภูซ่อง่อ ห่อคำ เมืองบริคัณฑนิคมเมือง[[บริคัณฑนิคม]] แล้วจึงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า[[สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร| เจ้าหน่อกษัตริย์]] ต่อมาภายหลังได้อพยพไปอยู้ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก
 
ต่อมานางแพงเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ จึงได้อาราธนาพระครูยอดแก้วมาปกครองบ้านเมืองแทน แต่ไม่นานต่อมาพระครูก็ให้คนไปเชิญเอาเจ้าหน่อกษัตริย์ มาทำพิธีอภิเษกเป็นกษัตริย์ครองนครจำปาศักดิ์ในปี พ.ศ. 2257 ทรงพระนามว่า [[สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร]] พระองค์จึงได้ประกาศอาณาเขตแยกออกจากเวียงจันทน์ นับตั้งแต่เมืองมุกดาหาร [[จังหวัดนครพนม|เมืองนครพนม]] [[อำเภอสุวรรณภูมิ|เมืองสุวรรณภูมิ]] [[จังหวัดยโสธร|เมืองยโสธร ]] [[เมืองเชียงแตง]] [[เมืองสาละวัน]] [[จังหวัดศรีสะเกษ|เมืองศรีนครเขต]] [[เมืองคำทอง]] [[เมืองตะโปน]] [[เมืองอัตตะปือ]] [[อำเภอโขงเจียม|เมืองโขงเจียม]] [[อำเภอดอนมดแดง|เมืองดอนมดแดง]] [[เมืองศรีจำปัง]] [[เมืองรัตนบุรี]] เป็นต้น
 
เมื่อสมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทร เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2281 [[เจ้าไชยกุมาร]]พระราชโอรสจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ แลแต่งตั้งให้[[เจ้าธัมมเทโว]] พระราชอนุชาให้เป็นเจ้าอุปราช ต่อมากองทัพไทยได้ยกมาตีเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2321 ได้ยกกองทัพผ่านมาทางเมืองจำปาศักดิ์ และตีเอาเมืองจำปาศักดิ์ได้โดยง่าย เพราะสมเด็จพระเจ้าไชยกุมารยอมออกมาอ่อนน้อมโดยไม่มีการต้อสู้ นครจำปาศักดิ์ที่แยกตัวออกจากเวียงจันทน์และรักษาเอกราชได้เพียง 64 ปี ก็สูญเสียเอกราชให้แก่ฝ่ายไทย เช่นเดียวกับ[[เวียงจันทน์]]และ[[หลวงพระบาง]]
 
=== สมัยภายใต้การปกครองของไทย ===
หลังอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ตกเป็นประเทศราชของไทยแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่[[ท้าวฝ่ายหน้า]]แห่งบ้านสิงห์ท่า ([[จังหวัดยโสธร|เมืองยโสธร]]) กับ[[พระปทุมวรราชสุริยวงศ์|พระปทุมสุรราช (คำผง)]] เจ้าเมือง[[จังหวัดอุบลราชธานี|เมืองอุบล]] ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้[[ท้าวฝ่ายหน้า]]ได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นพระประเทศราชครองนครจำปาศักดิ์มีนามว่า [[พระวิไชยราชขัตติยวงศา]]
 
เมื่อ[[พระวิไชยราชขัตติยวงศาวิไชยราชขัตติยวงศา]]ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้ง[[เจ้านู]] พระราชโอรสของ[[สมเด็จพระเจ้าไชยกุมาร]] ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้[[เจ้าหมาน้อย]] โอรสของเจ้าอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิด[[กบฏอ้ายสาเกียดโง้ง]]ขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 [[เจ้าราชบุตรโย้]] โอรสของ[[เจ้าอนุวงศ์]] ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์[[กบฏเจ้าอนุวงศ์]]ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูก[[เจ้าฮุย]]จับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371
 
เมื่อ[[เจ้าฮุย]]ถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2384 [[เจ้านาค]]ผู้เป็นอุปราชจึงได้ครองเมืองสืบแทน จนถึงแก่พิราลัยด้วย[[อหิวาตกโรค]]ใน พ.ศ. 2396 ทางฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้ง[[เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่)|เจ้าคำใหญ่]] ผู้เป็นโอรสของเจ้าฮุย ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ มีนามว่า [[เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่)]] จนถึง พ.ศ. 2402 ก็ถึงแก่กรรม [[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก)|เจ้าคำสุก]]ผู้เป็นอนุชาจึงได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบแทน มีพระนามว่า [[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก)]] พระองค์ได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 ไปยังกรุงเทพฯจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ทั้งสามคนได้แก่ [[เจ้าราชดนัย (หยุย)]] เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย)
 
เมื่อเกิด[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112|กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส]] ฝ่ายไทยได้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่[[ฝรั่งเศส]]ในปี พ.ศ. 2446 เมื่อ[[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก)]] ถึงแก่พิราลัย [[เจ้าราชดนัย (หยุย)]] ก็ได้รับแต่งตั้งจากฝรั่งเศสให้เป็นผู้ว่าการนครจำปาศักดิ์ ดังนั้นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์จึงมีฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
 
== ลำดับกษัตริย์และเจ้าผู้ครองนคร ==
ผู้ปกครองอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ก่อนปี พ.ศ. 2322 อันเป็นปีที่เสียเอกราชแก่อาณาจักรสยามนั้น มีสถานะเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรเอกราช นับตั้งแต่ พ.ศ. 2322 เป็นต้นไปถือว่าเป็นเจ้าผู้ครองนคร ยกเว้นผู้ครองนครองค์ที่ 3 ที่เป็นแค่ชั้นขุนนางสยาม ที่มีบรรดาศักดิ์ คือ พระประเทศราช มิได้เป็นกษัตริย์หรือเจ้าครองนครแต่อย่างใด เนื่องจากสถานะของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์เป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในบางสมัยปรากฏว่าเมื่อเจ้าผู้ครองนครถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราชจะเป็นผู้รักษาราชการไปก่อนจนกว่าจะมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งลงมาจากกรุงเทพมหานคร
 
{| class="wikitable"
! width="20"|ลำดับ || width="200"|รายพระนาม || width="100"|พุทธศักราช || หมายเหตุ
|-
| 1 || [[สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร]] || 2256 - 2280 || พระราชนัดดาของ[[พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช]]แห่งเวียงจันทน์
|-
| 2 || [[สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร]] || 2280 - 2334 || พระราชโอรสของพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ เสียเอกราชให้ไทย พ.ศ. 2322
|-
| 3 || [[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] ([[ท้าวฝ่ายหน้า]]) || 2334 - 2354 || ขุนนางสยาม ตำแหน่งบรรดาศักดิ์ คือ พระประเทศราชผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระโอรสพระวรราชปิตา ([[พระตา]]) เจ้าผู้ครองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ([[หนองบัวลำภู]]) อันสืบเชื้อสายมาแต่[[เจ้าอุปราชนอง]] แห่งนคร[[เวียงจันทน์]] และมีศักดิ์เป็นพระอนุชาพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช
|-
| 4 || [[เจ้านู]] || 2354 || นัดดาพระเจ้าองค์หลวงฯ ถึงแก่พิราลัยหลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้ 3 วัน
|-
| 5 || [[เจ้าหมาน้อย]] || 2356 - 2360 || นัดดาพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรฯ
|-
| 6 || [[เจ้าราชบุตร (โย้)]] || 2362 - 2370 || พระราชโอรสของ[[เจ้าอนุวงศ์]]แห่งเวียงจันทน์ ร่วมกับเจ้าอนุวงศ์[[สงครามเจ้าอนุวงศ์|ประกาศแยกตัวเป็นอิสระจากกรุงรัตนโกสินทร์]] พ.ศ. 2369-70
|-
| 7 || [[เจ้าฮุย]] || 2371 - 2383 || นัดดาพระเจ้าองค์หลวงฯ
|-
| 8 || [[เจ้านาค]] || 2384 - 2393 || เชษฐาของเจ้าฮุย
|-
| 9 || [[เจ้าบัว]] || 2396 - 2398 || หนังสือ ''ลำดับกษัตริย์ลาว'' ระบุว่า ยุคนี้ว่างเจ้าผู้ครองนคร 5 ปี (2394-98)
|-
| 10 || [[เจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)]] || 2399 - 2401 || โอรสเจ้าฮุย, หลังถึงแก่พิราลัย เจ้าอุปราช (จู) รักษาราชการแทน
|-
| 11 || [[เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก ณ จำปาศักดิ์)]] || 2405 - 2443 || โอรสเจ้าฮุย อนุชาเจ้ายุติธรรมสุนทร (คำใหญ่)
|-
| 12 || [[เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์)]] || 2443 - 2489 || โอรสเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) หลัง พ.ศ. 2446 ฝรั่งเศสลดฐานะเป็นผู้ว่าราชการนครจำปาศักดิ์ ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการ[[จังหวัดนครจัมปาศักดิ์]] ภายใต้การปกครองของไทย พ.ศ. 2484 - 2489
|}
 
==อ้างอิง==