ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตีเฟน ฮอว์กิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 79:
| signature = Hawkingsig.svg
}}
*
'''สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง''' ({{lang-en|Stephen William Hawking}}; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนัก[[ฟิสิกส์ทฤษฎี]] นัก[[จักรวาลวิทยา]] และนักเขียน [[ศาสตราจารย์]]ประจำ[[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติ[[ทฤษฎีบท]]เกี่ยวกับ[[ภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วง]]ในกรอบของ[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่า[[หลุมดำ]]ควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์กิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์กิง)
 
ฮอว์กิงป่วยจากโรค[[อะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส]] (ALS) ชนิดหายาก ซึ่งเริ่มมีอาการเร็ว แต่ดำเนินโรคช้า ทำให้เขามีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อย ๆ เป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่งต้องสื่อสารโดยใช้[[Speech-generating device|อุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด]] ควบคุมผ่านกล้ามเนื้อมัดเดียวในแก้ม เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์กิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมี[[ประวัติย่อของกาลเวลา]] (''A Brief History of Time'') และ[[จักรวาลในเปลือกนัท]] (T''he Universe in a Nutshell'') ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์
 
สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 อายุ 76 ปี<ref name="Guardian-Death">{{cite news |last=Sample |first=Ian |date=14 March 2018 |title=Stephen Hawking: modern cosmology's brightest star dies aged 76 |url=https://www.theguardian.com/science/2018/mar/14/stephen-hawking-professor-dies-aged-76 |work=[[The Guardian]] |accessdate=14 March 2018}}</ref>
 
== ประวัติ ==
'''สตีเฟน ฮอว์กิง'''เกิดเมื่อวันที่ [[8 มกราคม]] [[พ.ศ. 2485]] ที่เมืองออกซฟอร์ดไชร์ [[ประเทศอังกฤษ]] ในวัยเด็กเข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนเซนต์แอลแบน จากนั้นเข้าศึกษาต่อสาขา[[คณิตศาสตร์]]และ[[ฟิสิกส์]]จาก[[มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด]] และรับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 เมื่อปี [[พ.ศ. 2505]] ต่อมาได้เข้าศึกษาที่[[ทรินิตีคอลเลจ]] [[มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]] ในสาขา[[จักรวาลวิทยา]] และได้รับปริญญา[[ดุษฎีบัณฑิต]]เมื่อปี [[พ.ศ. 2509]] หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ต่อมาเขาได้ก่อตั้งและรับหน้าเป็นผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยทฤษฎีทางจักรวาลวิทยา (Centre for Theoretical Cosmology) แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จวบจนสิ้นอายุขัย
 
ในต้นทศวรรษที่ 1960 (ประมาณ พ.ศ. 2503-2508) สตีเฟน ฮอว์กิงก็มีอาการที่เรียกว่า amyotrophic lateral sclerosis (ALS) อันเป็นอาการผิดปกติของ[[ระบบประสาท]]โดยไม่ทราบสาเหตุ โดยมีผลกับ[[ประสาทสั่งการ]] (motor neurons) นั่นคือ [[เส้นประสาท]]ที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของ [[กล้ามเนื้อ]] กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะอ่อนแอลงจนเกือบเป็น[[อัมพาต]] แต่เขายังคงทำงานวิชาการต่อไป
 
== การทำงาน ==
ฮอว์กิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของ[[หลุมดำ]] เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์เพื่อทำดุษฎีบัณฑิต ฮอว์กิงได้อ่านรายงานของนัก[[คณิตศาสตร์]]และนักฟิสิกส์ ชื่อ [[โรเจอร์ เพนโรส]] (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่า [[ซิงกูลาริตี้]] (singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ'''หลุมดำ''' ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใด ๆ ก็หนีออกมาไม่ได้
 
จากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2513]] ฮอว์กิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่า[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพ]]ทั่วไปของ[[ไอน์สไตน์]] นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า [[บิ๊กแบง]] และจะสิ้นสุดลงที่ [[หลุมดำ|หลุมดำ (black hole)]]
 
ฮอว์กิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่[[รังสี]]อะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่า[[โปรตอน]] เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่า'''หลุมดำจิ๋ว''' (mini black hole) ซึ่งมี[[แรงโน้มถ่วง]]และ[[มวล]]มหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์กิง
 
เมื่อ ปี [[พ.ศ. 2517]] เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี [[พ.ศ. 2520]] และเมื่อในปี [[พ.ศ. 2522]] ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “[[เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน]]” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ [[พ.ศ. 2206]] (ตรงกับรัชสมัย[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์[[ไอแซก นิวตัน]] คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์กิง กับนิวตันและไอนสไตน์)
 
สตีเฟน ฮอว์กิงคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ [[แรงโน้มถ่วง]], [[แรงแม่เหล็กไฟฟ้า]], [[แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน]] และ[[แรงนิวเคลียร์แบบเข้ม]] อันจะนำไปสู่ '''[[ทฤษฎีสรรพสิ่ง]]''' (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของ[[เอกภพ]]นั้น ฮอว์กิงคิดว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง
 
== ชีวิตส่วนตัว ==
สตีเฟน ฮอว์กิงแต่งงานครั้งแรกกับ'''เจน ไวลด์''' ภายหลังได้หย่าร้าง และแต่งงานใหม่กับพยาบาล ชื่อ '''เอเลน เมสัน''' สตีเฟน ฮอว์กิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบ[[คอมพิวเตอร์]] เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร
==การเสียชีวิต==
ฮอว์กิงเสียชีวิตเมื่อตอนเช้าวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่บ้านของเขาในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ สาเหตุการเสียชีวิตยังนั้นไม่เป็นที่เปิดเผย โดยทางครอบครัวได้ออกมาแสดงความเศร้าเสียใจ<ref>{{cite news|title=Physicist Stephen Hawking dies aged 76 |url=http://www.bbc.com/news/uk-43396008|publisher=[[BBC News]]|date=14 March 2018|accessdate=14 March 2018}}</ref> และกล่าวแต่เพียงว่าเขาเสียชีวิตอย่างสงบ<ref>{{Cite web|url=http://abcnews.go.com/International/award-winning-scientist-stephen-hawking-dies-76/story?id=53729818|first=Karma|last=Allen|title=Stephen Hawking, author of 'A Brief History of Time,' dies at 76|date=14 March 2018|website=ABC News|access-date=14 March 2018}}</ref><ref>{{Cite news|url=https://www.sfgate.com/world/article/Physicist-Stephen-Hawking-dies-after-living-with-12751523.php|title=Physicist Stephen Hawking dies after living with ALS for 50-plus years|first=Robert|last=Barr|work=SFGate|access-date=14 March 2018}}</ref>
 
== ผลงาน ==
* Plan of The Blume "Road to Smart City" (1965)
* A Large Scale Structure of Space-Time ร่วมกันเขียนกับ G.F.R. Ellis (1973)
* Superspace and Supergravity (1981)
* The Very Early Universe (1983)
* [http://en.wikipedia.org/wiki/A_Brief_History_of_Time A Brief History of Time] : from the Big Bang to Black Holes (1988)
* Black Holes and Baby Universe and Other Essays (1994)
* [http://en.wikipedia.org/wiki/The_Universe_in_a_Nutshell The Universe In A Nutshell] (2001)
*[[:en:The_Grand_Design_(book)|The Grand Design]] ร่วมกันเขียนกับ Leonard Mlodinow (2010) ซึ่งเยอะมากๆ
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== หนังสืออ่านเพิ่ม ==
* {{Cite book|author=Boslough, John|title=Stephen Hawking's Universe|location=New York|publisher=Avon Books|year=1985|isbn=0-380-70763-2}} A layman's guide to Stephen Hawking
* Ferguson, Kitty (1991). ''Stephen Hawking: Quest For A Theory of Everything''. Franklin Watts. ISBN 0-553-29895-X
* {{Cite book|author=Hawking, S. W. & Ellis, G. F. R.|title=[[The Large Scale Structure of Space-Time]]|publisher=Cambridge University Press|year=1973|isbn=0-521-09906-4}} Highly influential in the field.
* {{Cite book|author=Hawking, S. W. & [[Werner Israel|Israel, W.]]|title=General relativity: an Einstein centenary survey|location=New York|publisher=[[Cambridge University Press]]|year=1979|isbn=0-521-22285-0}} A much cited centennial survey.
* {{Cite book|author=Misner, Charles; Thorne, Kip S. & Wheeler, John Archibald|title=Stephen Hawking A Biography|location=San Francisco|publisher=Greenwood Press|year=1995|isbn=978-0313323928}}
* {{Cite video|people=Morris, Errol|date=1991|url=http://www.imdb.com/title/tt0103882/|title= A Brief History of Time|medium=Documentary|publisher=Triton Pictures}}
* [[Clifford A. Pickover|Pickover, Clifford]], ''Archimedes to Hawking: Laws of Science and the Great Minds Behind Them'', [[Oxford University Press]], 2008, ISBN 978-0-19-533611-5
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Stephen Hawking}}
* [http://www.hawking.org.uk/ เว็บไซต์ของสตีเฟน ฮอว์กิง]
 
{{อายุขัย|2485|2561}}
[[หมวดหมู่:นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากออกซฟอร์ด]]