ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตต์ สังขดุลย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
พลเรือเอกจิตต์จบการศึกษาจาก[[โรงเรียนนายเรือ]]และได้เข้าประจำการเป็นนายทหารเมื่อวันที่ [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2480]]
 
ขณะที่พลเรือเอกจิตต์มียศเป็นเรือโทนั้น ท่านได้รับคำสั่งให้ประจำอยู่ที่แผนกการปืน [[เรือหลวงธนบุรี]] ซึ่งเป็นเรือปืนยามฝั่งที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือในขณะนั้น ต่อมาเมื่อเกิด[[กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส]] เรือหลวงธนบุรีจึงได้รับคำสั่งให้ไปรักษาน่านไทยบริเวณพรมแดนด้านตะวันออกที่หมู่[[เกาะช้าง]] [[จังหวัดตราด]] เมื่อเกิดเหตุการณ์[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]]ในวันที่ [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2484]] เรือโทจงจิตต์ สังขดุลย์ (ยศและชื่อในขณะนั้น) ก็ได้เข้าร่วมรบในฐานะนายป้อมปืนท้ายด้วย ภายหลังสิ้นสงครามแล้ว เรือโทจงจิตต์จึงได้รวบรวมบันทึกความทรงจำของตนเอง และของเพื่อนทหารที่ร่วมรบ ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ '''''"เมื่อธนบุรีรบ"''''' เมื่อเดือนพฤษภาคม [[พ.ศ. 2484]]
 
หลังจากสิ้นสุด[[กรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส]]แล้ว พลเรือเอกจิตต์ได้รับราชการใน[[กองทัพเรือไทย|กองทัพเรือ]] และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานตามลำดับ จากตำแหน่งในหน่วยรบของกองต่อสู้อากาศยาน เป็นต้นเรือ[[เรือหลวงศรีอยุธยา]] ย้ายมาประจำอยู่ที่กรมเสนาธิการทหารเรือ และโรงเรียนนายเรือ จนได้เป็นผู้บัญชาการโรงเรียนใน [[พ.ศ. 2500]] จากนั้นก็ได้ย้ายไปเป็นทูตฝ่ายทหารเรือประจำ[[ประเทศฝรั่งเศส]]และ[[ประเทศสเปน]] ผู้บัญชาการ[[โรงเรียนเสนาธิการทหาร]] [[กองบัญชาการทหารสูงสุด]] ([[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2507]] - [[30 กันยายน]] [[พ.ศ. 2510]][http://web.schq.mi.th/~jsc/ExCommander.htm]) เจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหาร ([[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2510]] - [[30 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2511]][http://web.schq.mi.th/~j4/director.htm]) เสนาธิการทหารเรือ และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งปลัด[[กระทรวงกลาโหม]]