ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปราสาทพระขรรค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
คุณน้ำตาล (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
คุณน้ำตาล (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้อความ
บรรทัด 3:
[[ภาพ:Preahkhan46.jpg|thumb|right|รูปสลักนูนต่ำที่ถูกแก้ไขจากรูปพระพุทธเป็นรูปฤาษี]]
 
'''ปราสาทพระขรรค์''' (Preah Khan) เขมรออกเสียงว่า "เปรี๊ยะคัน" สร้างขึ้นในปี [[พ.ศ. 1734]] เป็น[[ปราสาทหิน]]ในยุคท้ายๆ ของ[[อาณาจักรขอม]] เป็นพุทธสถานสมัย[[บายน]] [[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]] ทรงสร้างอุทิศถวายแด่พระราชบิดา (พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2) ปรากฏ[[เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ]]ขนาดเล็กจำหลักด้วยศิลาทรายตั้งอยู่ภายในปราสาทองค์หนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของพระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
 
ปราสาทพระขรรค์เป็นศาสนสถาน ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลง ตัวอาคารมีลักษณะเด่นที่การก่อสร้างด้วยศิลา 2 ชั้น โดยใช้เสาหินทรายกลมขนาดใหญ่รับน้ำหนักโครงสร้างและคาน ที่บานประตูแต่ละปราสาท มีรูปสลัก[[อสูร]]เป็นคู่ๆ ยืนถือกระบองเสมือนคอยพิทักษ์ดูแลศาสนสถานแห่งนี้
 
เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาพพระพุทธรูปมักถูกทำลายหรือแก้ไข คงเหลือแต่ภาพจำหลักนูนต่ำของ[[ฤาษี]] ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพฤาษีกำลังนั่งบำเพ็ญพรตในท่า "[[โยคาสนะ]]" (นั่งชันเข่าและไขว้เท้า) สลักอยู่ตามผนังหรือเสาภายใต้[[ซุ้มเรือนแก้ว]]
 
นอกจากนี้ จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ ยังกล่าวถึงการสร้าง "[[ธรรมศาลา]]" (ที่พักคนเดินทาง) และ "[[อโรคยศาล]]" (โรงพยาบาล) ตามเส้นทางจาก[[นครธม]]ไปยังเมืองต่างๆ รอบราชอาณาจักร และจารึกยังกล่าวถึงการสร้างรูปเคารพ เพื่อประดิษฐานยังหัวเมืองต่างๆ ซึ่งแสดงถึงความใส่ใจในทุกข์สุขของราษฎรและความศรัทธาในศาสนาของ[[พระเจ้าชัยวรมันที่ 7]]