ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดประดู่ฉิมพลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ohmaphat (คุย | ส่วนร่วม)
Ohmaphat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 41:
ที่ชื่อว่า วัดฉิมพลี เพราะบริเวณที่ตั้งวัดเต็มไปด้วย[[งิ้ว (พืช)|ต้นงิ้ว]] ในสมัย[[รัชกาลที่ 3]] [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] เมื่อครั้งดำรงยศเป็นพระยาศรีพิพัฒนรัตนราชโกษา จางวางพระคลังสินค้า ได้จัดหาที่ดินและก่อสร้างวัด โดยใช้เวลานานถึง 8 ปี จึงแล้วเสร็จในรัชสมัย[[รัชกาลที่ 4]] ในเวลานั้นถือเป็นวัดราษฎร์ที่ใหญ่และงดงามกว่าวัดราษฎร์โดยทั่วไป
 
เมื่อวัดสร้างแล้วเสร็จนั้น [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] ได้เพียรพยายามเสาะหาพระพุทธรูปที่สวยงาม เพื่อนำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ ซึ่งตามประวัติกล่าวว่า เจ้าอธิการวัดอ้อยช้าง หรือ[[วัดบางอ้อยช้าง]] [[จังหวัดนนทบุรี]] ได้อัญเชิญพระพุทธรูป[[พระศรีศาสดา]]มาจากจังหวัดพิษณุโลก เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ วัดอ้อยช้าง แต่ความทราบไปถึง[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] ท่านจึงไปอัญเชิญมาประดิษสถานที่วัดประดู่ฉิมพลี ต่อมาภายหลังครั้นความทราบไปถึง[[รัชกาลที่ 4]] จึงทรงมีพระบรมราชโองการลงมาว่า เนื่องจาก[[พระศรีศาสดา]]เป็นพระพุทธรูปสำคัญอยู่คู่กับ[[พระชินสีห์]]มาก่อน จึงให้อัญเชิญ[[พระศรีศาสดา]]จากวัดประดู่ฉิมพลี มาประดิษสถานที่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]แต่ขณะที่เชิญมานั้น ยังสร้างพระวิหารไม่เสร็จ จึงโปรดให้นำไปไว้ที่[[วัดสุทัศน์เทพวราราม]] ชั่วคราวก่อน เมื่อเดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีฉลูเบญจศก พ.ศ. ๒๓๙๖
 
เมื่อพระประธานของวัดประดู่ฉิมพลีไม่มีแล้ว [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)]] จึงได้ไปเลือกหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่สวยงาม และมีขนาดเท่ากับ[[พระศรีศาสดา]]จากวัดอ้อยช้าง เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะศิลปะสุโขทัย พระพักตร์เอิบอิ่ม ผิวองค์พระดั่งทองคำ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถ วัดประดู่ฉิมพลี และได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า '''พระสุโขทัย''' หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า '''หลวงพ่อสุโขทัย'''