ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะคิงแอนด์ไอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ละครบรอดเวย์]] เดอะคิงแอนด์ไอ นำแสดงโดย [[ยูล บรินเนอร์]] (รับบท คิงมงกุำฎ) และ[[เกอร์ทรูด ลอว์เรนซ์]] (รับบท แอนนา) ได้รับความนิยมมาก เล่นซ้ำถึง 1,246 รอบ และได้รับ[[รางวัลโทนี]] ประจำปี พ.ศ. 2495 และมีผู้นำไปจัดแสดงที่[[โรงละครเวสต์เอนด์]] [[ลอนดอน]] [[ประเทศอังกฤษ]] ในปี พ.ศ. 2496 และสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2499 นำแสดงโดย ยูล บรินเนอร์ และ [[เดบอราห์ เคอร์]] (รับบท แอนนา) เดอะคิงแอนด์ไอ ฉบับภาพยนตร์ ได้รับ[[รางวัลออสการ์]]ถึง 5 สาขา
 
บทคิงมงกุฎ สร้างชื่อเสียงให้กับยูล บรินเนอร์ เป็นอย่างมาก จากนักแสดงที่ไม่มีชื่อเสียง ทำให้เขาได้รับบทหลากหลาย ทั้งในละครเพลงและภาพยนตร์ เช่นรับบทเป็น [[ฟาโรห์รามเสสที่สอง]] ในภาพยนตร์ ''[[The Ten Commandments]]'' (1956) (ชื่อไทย บัญญัติสิบประการ) บท[[คาวบอย]] ใน ''[[The Magnificent Seven]]'' (1960) (ชื่อไทย เจ็ดสิงห์แดนเสือ) ยูล บรินเนอร์ รับบทคิงมงกุฎ ห้าครั้ง ในปี พ.ศ. 2494 ในภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2499 ละครเพลงฉบับสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2520 และ 2528 และละครทางโทรทัศน์ในปี พ.ศ. 2515 (ใช้ชื่อว่า Anna and the King) ได้รับรางวัลออสการ์ และรางวัลโทนีจากบทนี้
 
ละครเพลง เดอะคิงแอนด์ไอ ได้รับความนิยมและถูกนำมาจัดแสดงใหม่อีกหลายครั้งทั้งที่นิวยอร์ก และลอนดอน รวมทั้ง[[ภาพยนตร์แอนิเมชั่น]] ในปี พ.ศ. 2542 ซีรีส์ฉายทางโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2515 และภาพยนตร์ ''[[Anna and the King]]'' ในปี พ.ศ. 2542 นำแสดงโดย [[โจวเหวินฟะ]] (รับบท คิงมงกุฎ) [[โจดี ฟอสเตอร์]] (รับบท แอนนา) และ [[ไป่ หลิง]] (รับบท ทับทิม)
 
ภาพยนตร์ เดอะคิงแอนด์ไอ ได้เข้ามาฉายในประเทศไทย {{ต้องการอ้างอิงตรงนี้}} <!--คุณแม่ผมยืนยันว่าได้ดูในโรง--> แต่การครอบครองภาพยนตร์เรื่องนี้อาจผิดกฎหมาย เนื่องจากนำเสนอข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และไม่เหมาะสม เกี่ยวกับ[[พระมหากษัตริย์ไทย]]
เดอะคิงแอนด์ไอ ถูกห้ามฉายใน[[ประเทศไทย]]
 
==แหล่งข้อมูลอื่น==