ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นางเสือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
จัดรูปแบบ +เก็บกวาด +จัดรูปแบบไม้ยมกด้วยสจห.
date
บรรทัด 14:
| dynasty = [[ราชวงศ์พระร่วง|พระร่วง]] (อภิเษกสมรส)
}}
 
'''นางเสือง''' เป็นพระอัครมเหสีใน[[พ่อขุนศรีอินทราทิตย์]] และเป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์อีกสองพระองค์คือ [[พ่อขุนบานเมือง]]และ[[พ่อขุนรามคำแหง]] แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความกังขาเกี่ยวกับตัวตนของพระนางว่ามีจริงหรือเป็นเพียงเรื่องที่แต่งขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์<ref name="มติชน">{{cite web |url=http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1359085271|title= "นางเสือง" เป็นนิยาย ประวัติศาสตร์การเมือง |author= สุจิตต์ วงษ์เทศ |date=January 25, มกราคม พ.ศ. 25562013 |work= |publisher= มติชนออนไลน์ |accessdate=23November พฤศจิกายน23, 25572014}}</ref>
 
== พระราชประวัติ ==
นางเสือง มีประวัติค่อนข้างน้อยนัก พระราชสมภพเมื่อใดที่ไหนหรือสวรรคตเมื่อใดไม่ทราบความ ปรากฏพระองค์ครั้งแรกและครั้งเดียวจากเนื้อความใน''[[จารึกพ่อขุนรามคำแหง]]'' ความว่า "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูพี่น้องท้องเดียวห้าคน ผู้ชายสาม ผู้หญิงสอง พี่เผือผู้อ้ายตายจากเผือเตียมแต่ยังเล็ก..." แสดงให้เห็นว่าพระนางมีพระราชโอรส-ธิดา 5 พระองค์ เป็นพระราชโอรสสามพระองค์ กับพระราชธิดาอีกสองพระองค์<ref>{{cite web|url=http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=47|title=ศิลาจารึก|author=พ่อขุนรามคำแหง|date=พ.ศ. 18351292|work=|publisher=ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร|accessdate=November 22, พฤศจิกายน 25572014|archive-date=2015-09-24|archive-url=https://web.archive.org/web/20150924093318/http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=47|url-status=dead}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.lib.ru.ac.th/pk/biography1.html|title= พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ |author= |date=|work= |publisher= สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง |accessdate=November 22, พฤศจิกายน 25572014}}</ref><ref>ธวัช ปุณโณทก. ''อักษรไทยโบราณ ลายสือไทย และวิวัฒนาการของชนชาติไทย''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 97</ref> และปรากฏอีกครั้งว่า "เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู..."<ref>{{cite book | author = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | title = นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย | url = http://www.sac.or.th/main/pdf/Thai_king_directories.pdf | publisher = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | location = กรุงเทพฯ | year = 2554 2011| page = 25 | access-date = 2014-11-22 | archive-date = 2012-03-04 | archive-url = https://web.archive.org/web/20120304072652/http://www.sac.or.th/main/pdf/Thai_king_directories.pdf | url-status = dead }}</ref> แสดงให้เห็นว่าพระองค์ได้รับการปรนนิบัติพัดวีอย่างดีจากพระราชโอรสคือ พ่อขุนรามคำแหงนั่นเอง ด้วยพระราชประวัติที่มีน้อยนิด บางแห่งก็สันนิษฐานกันอีกว่า นางเสือง อาจจะเป็นพระภคินีของ[[พ่อขุนผาเมือง]]ก็เป็นได้<ref>{{cite book | author = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | title = นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย | url = https://www.tmd.go.th/Thai_king_directories.pdf | publisher = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | location = กรุงเทพฯ | year = 25542011 | page = 19}}</ref>
 
พิทูร มลิวัลย์ สันนิษฐานพระนาม "เสือง" นั้น ตรงกับ[[ภาษาลาว|คำลาว]]หรือ[[ภาษาไทยถิ่นอีสาน|อีสาน]]ว่า "เสิง" หรือ "เสิงสาง" แปลว่า "รุ่งอรุณ, รุ่งราง, สว่างราง ๆ " พระนามจึงแปลความหมายได้ว่า "นางรุ่ง" หรือ "นางเรือง"<ref>{{cite book | author = พิทูร มลิวัลย์ | title = วรรณคดีสุโขทัย | url = http://old-book.ru.ac.th/e-book/t/TH231/th231-1.pdf | publisher = คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง | location =| year = 2517 1974| page = 30-31}}</ref> สอดคล้องกับพระนามพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่มีความว่า "ผู้ทรงไว้ซึ่งความสว่าง"<ref name="มติชน"/> ส่วนมังกร ทองสุขดี สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "เชื่อง" แปลว่า "ช้า, แช่มช้อย, ไม่ดุร้าย, ใจดี"<ref>{{cite web |url= https://www.silpa-mag.com/history/article_36753 |title= “นางเสือง” แม่ของคนไทยที่ปรากฏในจารึกประวัติศาสตร์คนแรก แม่ดีเด่นจากศิลาจารึก? |author= มังกร ทองสุขดี, รศ. ดร. |date= August 11, สิงหาคม 25652022 |work= |publisher= ศิลปวัฒนธรรม |accessdate= 26October ตุลาคม26, 25652022}}</ref>
 
ส่วนเทวรูปที่พบที่โซกพระแม่ย่านั้น แท้จริงแล้วเป็นเทวรูป[[พระวิษณุ|พระนารายณ์]] เพียงแต่ได้รับการนับถือที่เปลี่ยนไปตามความเชื่อของชาวเมือง<ref>กนกวรรณ โสภณวิจิตร. ''ประวัติศาสตร์สุโขทัย''. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2554, หน้า 113</ref> บ้างก็ว่าอาจเป็นเทวสตรีมากกว่า เพราะมีสัณฐานและเครื่องประดับอย่างสตรี โดยมีลักษณะเป็นหินชนวนสีเขียว สูง 1.30 เมตร หน้าเป็นรูปไข่แบบพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย แต่ใบหน้าเหมือนคนแก่ คางมน บนศีรษะสวมกรวยซ้อนกันสี่ชั้นลักษณะเป็นมงกุฎแตกบิ่น มีเครื่องประดับที่ใบหู เปลือยอกเห็นสองเต้า แขนแนบลำตัว นุ่งผ้ากรอมเท้าห้อยชายผ้าซ้อนลงมาสามชั้น สวมกำไลข้อมือ และข้อเท้า สวมรองเท้าปลายงอน<ref>{{cite web |url= https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000062063 |title= “พระขพุงผี” ผีรักษาเมืองสุโขทัย! เชื่อกันว่าเป็นพระราชชนนีพ่อขุนรามคำแหง!! |author= โรม บุนนาค |date= June 22, มิถุนายน 25592016 |work= |publisher= ผู้จัดการออนไลน์ |accessdate= October 26, ตุลาคม 25652022}}</ref><ref>{{cite book | author = นิรมล หาญทองกูล| title = ทิพยเทวทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา | url = https://www.bpi.ac.th/upload/media/2022/05/8850628c429402b63.pdf | publisher = สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ | location =| year = 2562 2019| page = 36}}</ref> จากหลักฐานที่พบ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]] หรือ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงสันนิษฐานว่า เทวรูปดังกล่าวสอดคล้องกับ "พระขพุงผี" ผีประจำเขาหลวงเมืองสุโขทัย ที่ปรากฏอยู่ใน[[จารึกพ่อขุนรามคำแหง|จารึกหลักที่ 1]] ที่มีภูมิสถานสอดคล้องกัน<ref>{{cite web |url= https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5388 |title= พระขยุงผีเทพยดา : "พระแม่ย่า" สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุโขทัย |author= พชรพงษ์ พุฒซ้อน |date=September 24, กันยายน 25612018 |work= |publisher= มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์|accessdate=October 26, ตุลาคม 25652022}}</ref> ซึ่งคำว่า "ขพุง" มาจาก[[ภาษาเขมร|คำเขมร]]ว่า ''ขพุง'' ({{lang|km|ខ្ពង់}} ''ขพง'') แปลว่า สันเขา รวมกันจึงมีความหมายว่า ''ผีแห่งยอดเขา''<ref>{{cite book | author = นิรมล หาญทองกูล| title = ทิพยเทวทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา | url = https://www.bpi.ac.th/upload/media/2022/05/8850628c429402b63.pdf | publisher = สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ | location =| year = 2562 2019| page = 31-33}}</ref> นับถือเป็นเทพรักษาเมืองสุโขทัย และเป็นผู้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล<ref>{{cite book | author = นิรมล หาญทองกูล| title = ทิพยเทวทาสี อัญชลีพระขพุงผีเทพดา | url = https://www.bpi.ac.th/upload/media/2022/05/8850628c429402b63.pdf | publisher = สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ | location =| year = 2562 2019| page = 35}}</ref> ส่วนที่ชาวเมืองเรียกเทวรูปดังกล่าวว่า ''พระแม่ย่า'' นั้น ทองเจือ สืบชมภู สันนิษฐานว่า ชาวบ้านคงเข้าใจว่าเทวรูปนี้คงเป็นนางกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งตามคติชนท้องถิ่น ซึ่งน่าจะเป็นนางเสือง ผู้เป็นพระราชมารดาของพ่อขุนรามคำแหง และเป็นพระปัยยิกา (ย่าทวด) ของ[[พระมหาธรรมราชาที่ 1]]<ref>{{cite web |url=http://www.sukhothai.go.th/tour/tour_09.htm|title= ศาลพระแม่ย่า |author=|date= |work= |publisher= จังหวัดสุโขทัย |accessdate=22November พฤศจิกายน22, 25572014}}</ref>
 
== ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ==
เรื่องราวที่มีอยู่น้อยนิดของพระนาง ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครเวทีอิงประวัติศาสตร์เรื่อง "นางเสือง" ด้วยถือว่าเป็น "พระราชินีไทยที่ปรากฏพระนามเป็นพระองค์แรกในประวัติศาสตร์" ละครเวทีดังกล่าวออกแสดงในปี พ.ศ. 2511, พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2556 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]]<ref>{{cite web |url=http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1358152306|title= อีกครั้งละคร "นางเสือง" "ม.ล.จุลลา งอนรถ" กำกับเวที |author=|date=January 14, มกราคม 25562013 |work= |publisher= ประชาชาติธุรกิจ |accessdate=22November พฤศจิกายน22, 25572014}}</ref><ref>{{cite web |url=http://www.bangkokbiznews.com/mobile/xhtml/news/detail/07/486746/|title= จากเชื้อพระวงศ์สู่นางเสือง |author= |date=|work= |publisher= กรุงเทพธุรกิจ |accessdate=22November พฤศจิกายน22, 25572014}}</ref> บทประพันธ์โดย[[สมภพ จันทรประภา]] กำกับการแสดงโดย[[หม่อมหลวงจุลลา งอนรถ]]<ref>{{cite web |url=http://www.naewna.com/lady/gallery/1904|title= "นางเสือง" ละครเวทีอิงประวัติศาสตร์ ฉาก แสง สี เสียง ตระการตา |author=|date=|work= |publisher= แนวหน้า |accessdate=22November พฤศจิกายน22, 25572014}}</ref> เนื้อเรื่องจะปลุกใจให้มีความรักชาติ<ref>{{cite web |url=http://www.komchadluek.net/detail/20130121/149798/ปลุกความรักชาติผ่านนางเสือง.html|title= ปลุกความรักชาติผ่านนางเสือง |author= |date=January 21, มกราคม 25562013 |work= |publisher= คมชัดลึก |accessdate=22November พฤศจิกายน22, 25572014}}</ref>
 
== อ้างอิง ==