ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอริช ลูเดินดอร์ฟ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ไกเซอร์" → "ไคเซอร์" ด้วยสจห.
บรรทัด 22:
| laterwork =
}}
[[พลเอกทหารราบ]] '''เอริช ฟรีดริช วิลเฮ็ล์ม ลูเดินดอร์ฟ''' ({{lang-de|Erich Friedrich Wilhelm Ludendorff}}) เป็นนายทหารบกของจักรวรรดิเยอรมัน ผู้มีชัยชนะในยุทธการที่ลีแยฌ (Battle of Liège) และยุทธการที่ทันเนินแบร์ค (Battle of Tannenberg) ในช่วงต้น[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] ต่อมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1916 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานใหญ่ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์ ({{lang|de|Erster Generalquartiermeister}}) เขาและ[[เพาล์ ฟ็อน ฮินเดินบวร์ค|จอมพลฮินเดินบวร์ค]]เปรียบเสมือนเป็นมือซ้ายขวาของ[[จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี|จักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2]] คอยช่วยวางแผนและบัญชากองทัพเยอรมันตลอดช่วง[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]
 
ในปี 1918 ด้วยความปราชัยในหลายศึก เขาและฮินเดินบวร์คกราบทูลองค์ไกไคเซอร์ให้ทำข้อตกลงหยุดยิงกับฝ่ายสัมพันธมิตรในทันที แต่รัฐบาลจักรวรรดิยังยืนกรานที่จะทำสงครามต่อ คณะรัฐบาลได้ขู่องค์ไกไคเซอร์ว่า คณะรัฐมนตรีทั้งคณะจะลาออกหากไม่ทรงปลดลูเดินดอร์ฟ องค์ไกไคเซอร์วิลเฮ็ล์มจึงเรียกฮินเดินบวร์คและลูเดินดอร์ฟเข้าเฝ้า ทั้งสองรู้สถานการณ์ดีจึงกราบทูลลาออก ไกไคเซอร์ทรงอนุญาตให้ลูเดินดอร์ฟลาออก แต่ไม่อนุญาตให้ฮินเดินบวร์คลาออก ลูเดินดอร์ฟต่อว่าฮินเดินบวร์คหลังเข้าเฝ้าว่า ''"ผมไม่ทำงานอะไรกับท่านอีกแล้ว เพราะท่านทำกับผมได้โครตทุเรศเลย"''<ref>von Müller, 1961, p. 413.</ref>
 
หลังจบสงคราม ลูเดินดอร์ฟได้กลายเป็นผู้นำของชาติที่มีความโดดเด่นและสนับสนุนแนวคิด[[ตำนานแทงข้างหลัง]] ด้วยความเชื่อที่ว่า ความพ่ายแพ้สงครามของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นมาจากการทรยศหักหลังต่อกองทัพเยอรมันโดยพวก[[ลัทธิมากซ์]]และ[[บอลเชวิค]] ซึ่งถูกมองว่าต้องรับผิดชอบเต็มๆที่ปล่อยให้เยอรมันประสบความเสียเปรียบหลายอย่างในการเจรจาร่าง[[สนธิสัญญาแวร์ซาย]]
 
ลูเดินดอร์ฟได้มีส่วนร่วมในการก่อรัฐประหารของว็อล์ฟกัง คัพ ในค.ศ. 1920 และ[[กบฏโรงเบียร์]]ของ[[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ใน ค.ศ. 1923 ก่อนที่จะผันตัวลงรับสมัครเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเยอรมันในปี ค.ศ. 1925 ซึ่งต้องปราชัยให้กับอดีตเจ้านายอย่างจอมพลฮินเดินบวร์ค