ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nutthoney (คุย | ส่วนร่วม)
ย่อบทความให้กระชับรัดกุมขึ้น
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
 
=== การก่อตั้ง ===
โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เดิมชื่อโรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2449 ภายใต้มิสซังคาทอลิก โดย[[คณะภคินีเซนต์มอร์]] ที่ย่านถนนสีลม
ในปี พ.ศ. 2449 ภายใต้มิสซังคาทอลิก คณะภคินีได้เริ่มดำเนินการเปิดโรงเรียนขึ้น 2 แห่ง ในเวลาใกล้เคียงกัน แห่งหนึ่ง คือ [[โรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์]] ([[โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์]] ในปัจจุบัน) ที่ย่านถนนสีลม ดำเนินการโดย[[คณะภคินีเซนต์มอร์]] และอีกแห่งหนึ่ง คือ [[โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์]] ที่ย่านกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี ดำเนินการโดย[[คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร]]
 
ที่ตั้งของโรงเรียน เดิมเป็นที่นาตราจองในตำบลทุ่งวัวลำพอง บนถนนสีลม  ซึ่ง[[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)|เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี]] ได้รวบรวมและรวบรละจัดซื้อไว้เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งใน่งใน ปี พ.ศ. 2449 ท่านได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติจาก[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]บริจาคที่ดินด้านหลังบ้านจำนวน 9 ไร่ ให้แก่[[คณะภคินีเซนต์มอร์]]เพื่อนำไปจัดตั้งโรงเรียน{{efn|เดิม[[คณะภคินีเซนต์มอร์]] (เอกสารบางฉบับเรียกว่า "แซงต์มอร์") มีการสอนเด็กหญิงอยู่ก่อนแล้ว บริเวณเหนือปากคลองผดุงกรุงเกษมริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก แต่สถานที่ดังกล่าวทรุดโทรมเพราะถูกน้ำเซาะพังทลายขึ้นทุกปี [[เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)|เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี]]จึงบริจาคที่ดินที่ถนนสีลมให้ภคินีคณะเซนต์มอร์จัดตั้งเป็นโรงเรียนขึ้น}}<ref>หนังสือตึกเก่า-โรงเรียนเดิม, By ยุวดี ศิริ, Matichon Public Company Limited, 2014., หน้า 121-129</ref> ได้มีการรังวัดปักเขตกำหนดเส้นรุ้ง-แวง โดยรุ้งต้นตะวันออกติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้น โดยรุ้งต้นตะวันตกติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีตัดใหม่ 3 เส้น เส้นแวงทิศเหนือติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้น เส้นแวงทิศใต้ติดที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี 3 เส้นแ้น ดังนั้นรูปแปลงที่ดินที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีบริจาคให้จึงน่าจะเป็นแปลงสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง 3 เส้น ยาว 3 เส้น และมีที่ดินทั้ง 3 ด้านติดที่ดินของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ส่วนอีกด้านหนึ่งที่เหลือติดถนนที่เจ้าพระยาสุรศักดิ์ตัดขึ้นใหม่ แต่ปัจจุบันโรงเรียนมีที่ดินเพิ่มขึ้นเป็น 16 ไร่ 3 งาน 68 ตารางวา ซึ่งน่าจะมีการจัดซื้อเพิ่มเติมในภายหลัง
 
การก่อสร้างโรงเรียน เริ่มขึ้นโดยซิสเตอร์คณะเซนต์มอร์ ได้มอบหมายให้ นาย[[อัลเฟรโด ริกาซซี]] (Alfred Rigazzi) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ผู้ซึ่งออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีหัวลำโพง{{efn|นายอัลเฟรโด ริกาซซี เดินทางเข้ามารับราชการเป็นนายช่างสถาปนิกของกระทรวงโยธาธิการ ในช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ออกแบบ[[สถานีรถไฟเชียงใหม่]], โรงแรมรถไฟหัวหิน กรมไปรษณีย์กลาง ฯลฯ}} ออกแบบก่อสร้างอาคารโรงเรียน เริ่มแรกเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูนหลังคาทรงปั้นหยามุงกระเบื้องว่าว กล่าวว่าเดิมใต้ถุนใช้เป็นที่เก็บน้ำ และฐานรากอาคารทำด้วยขอนไม้ขนาดใหญ่ ในบริเวณปลูกต้นไม้ร่มรื่น มีคูระบายน้ำรอบโรงเรียน และมีการแบ่งที่ดินส่วนหนึ่งเป็นที่เลี้ยงหมูและไก่งวง
 
ในปี พ.ศ. 2450 คณะภคินีเซนต์มอร์มีเหตุให้ต้องเดินทางออกจากประเทศไทย จึงได้ยกกิจการให้กับมิสซังคาทอลิก คิดมูลค่าสิ่งก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 115,000 ฟรังก์ โดย[[คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร]] รับผิดชอบที่จะเป็นผู้จ่ายเอง มิสซังคาทอลิกจึงมอบกิจการโรงเรียนให้คณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร เข้าดำเนินการต่อ และได้เปลี่ยนชื่อจากเป็น [[โรงเรียนพระกุมารเยซูคอนแวนต์]] เป็น โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์]]<ref name=":2">[http://www.spcthai.org/spcthai_info/spcthai_history/spcinthai%20-%2003/index.html ก้าวที่สาม...เริ่มต้นพันธกิจด้านการศึกษาของคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร และก้าวต่อ ๆ มาในดินแดนสยาม], spcthai.org, สืบค้นเมื่อวันที่ 2021-07-27</ref> ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ในปี พ.ศ. 2451 แมร์กังดีด ได้สถาปนาให้โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เป็นศูนย์กลางที่ตั้งแห่งคณะภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในสยาม เนื่องจากมีอาณาบริเวณกว้างขวางเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางของคณะฯ และมีพื้นที่ใหญ่กว่าโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ และโรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ ประกอบกับที่ตั้งของ 2 โรงเรียนดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในเขต[[อาสนวิหาร]] ดังนั้น การย้ายสำนักภคินีมาจัดตั้งที่โรงเรียนแห่งนี้ถือเป็นที่เฉพาะที่จะมีแต่นักบวชหญิง โดยไม่มีบาทหลวงของมิสซังคาทอลิกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในขณะเดียวกันคณะภคินีก็ได้มอบหมายให้ เซอร์[[แซงต์ ซาเวียร์]] อธิการิณี จากโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นอธิการิณี ผู้จัดการและครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนแห่งนี้<ref name=":1">[http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/2015-10-05-02-39-46/1703-2018-02-12-08-05-02 "๑๐๔ ปี เซนต์โยเซฟคอนเวนต์กับโรงเรียนคาทอลิกหญิงในประเทศสยาม"] หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔</ref>