ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ช่วงคู่แปด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
[[ภาพ:Octave_example.png|frame|left|ตัวอย่างอ็อกเทฟจาก G4 ไปยัง G5]]
สมมติให้โน้ตตัวหนึ่งมีความถี่เสียงที่ 400 [[เฮิรตซ์]] (เสียง ลา) โน้ตที่มีอ็อกเทฟเหนือโน้ตนี้จะอยู่ที่ 800 เฮิรตซ์ (เสียง ลา สูง) ซึ่งเป็นสองเท่าของโน้ตเดิม และอ็อกเทฟใต้โน้ตนี้จะอยู่ที่ 200 เฮิรตซ์ (เสียง ลา ต่ำ) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของโน้ตเดิม เป็นต้น อัตราส่วนระหว่างความถี่เสียงของโน้ตสองตัวที่ต่างกันหนึ่งอ็อกเทฟคือ 2:1
{{clear|left}}
 
== สัญกรณ์ ==
[[ภาพ:Ottava Ex.png|thumb|right|300px|ตัวอย่างโน้ตตัวเดียวกันในแต่ละห้อง แต่กำกับไว้ด้วยสัญกรณ์อ็อกเทฟ]]
การกำหนดอ็อกเทฟบนบรรทัดห้าเส้น จะกระทำเพื่อลดการใช้[[เส้นน้อย]] เมื่อตัวโน้ตอยู่ในตำแหน่งสูงหรือต่ำเกินไปซึ่งทำให้อ่านยาก สัญกรณ์ของอ็อกเทฟจะกำกับไว้ที่เหนือหรือใต้กลุ่มของตัวโน้ต มีรูปแบบต่างๆ ดังนี้
* '''8va''' (''ottava'') หมายถึงให้เล่นเสียงสูงขึ้นหนึ่งอ็อกเทฟ
* '''8vb''' (''ottava bassa'') หมายถึงให้เล่นเสียงต่ำลงหนึ่งอ็อกเทฟ
* '''15ma''' (''quindicesima'') หมายถึงให้เล่นเสียงสูงขึ้นสองอ็อกเทฟ
* '''15mb''' (''quindicesima bassa'') หมายถึงให้เล่นเสียงต่ำลงสองอ็อกเทฟ
นอกจากนี้ยังมีการเติมสัญกรณ์เพิ่มเพื่อให้เล่นต่อไปเรื่อยๆ เช่น '''c. 8va''' (''coll'ottava'') หมายถึงให้เล่นเสียงสูงขึ้นหนึ่งอ็อกเทฟตั้งแต่จุดที่กำหนดเป็นต้นไป จนกว่าจะถูกยกเลิกด้วย '''loco''' หรือที่พบได้บ่อยกว่าคือการใช้เส้นประคร่อมลงไปเพื่อกำหนดระยะยกเลิกอ็อกเทฟ
 
[[หมวดหมู่:ทฤษฎีดนตรี]]