ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลหัวเฉียว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
สุพิชชา ศศิภา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 10318880 โดย Ekminarin (พูดคุย) ด้วยสจห.
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 13:
| เว็บไซต์ = [http://www.hc-hospital.com โรงพยาบาลหัวเฉียว]
}}
'''โรงพยาบาลหัวเฉียว''' ({{lang-zh|c=华侨|p=Huáqiáo}}) เป็น[[รายชื่อโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย|โรงพยาบาลเอกชน]]ทั่วไป (General Hospital) ที่ไม่มุ่งแสวงหาผลกำไร ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ให้บริการทุกสาขาการแพทย์โรงพยาบาลหัวเฉียว ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เริ่มจากเป็นสถานพยาบาลผดุงครรภ์เล็กๆ เปิดให้บริการทำคลอด ทั้งในและนอกสถานที่ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2481 มีสถิติคนไข้นอกเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจนสถานที่ไม่สามารถรองรับผู้มารักษาได้ แม้แต่ใน ช่วงปี พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่กรุงเทพฯ ถูกโจมตี แพทย์และพยาบาลยังคงให้บริการทำคลอดและรักษาพยาบาลอย่างไม่ย่อท้อ
'''โรงพยาบาลหัวเฉียว โรงพยาบาลเอกชนเพื่อสังคม ในสังกัดมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
มีมาตรฐานบริการเทียบเท่าโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ
 
เมื่อสงครามสิ้นสุดลงเนื่องจากประชากรในกรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คณะกรรมการบริหารมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งดำริให้ย้ายโรงพยาบาลฯ จากบริเวณหลังวัดเทพศิรินทราวาสมายังสถานที่ตั้งปัจจุบัน โดยหันหน้าออกทางถนนกรุงเกษม และเริ่มต้นโครงการก่อสร้างอาคารถาวรและทันสมัยสมบูรณ์แบบขึ้นเพื่อรองรับ การบริการรักษาพยาบาลครอบคลุมทุกสาขาโรคโดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนาและฐานะ
รากฐานจากการผดุงครรภ์ การคลอดบุตร.. กับการพัฒนาศักยภาพในทุกด้าน
สู่การเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ด้วยบริการ 8 ศูนย์ทางการแพทย์ รักษาโรคซับซ้อน โรครักษายาก
 
อาคาร 22 ชั้น จึงได้กำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2513 ด้วยความร่วมมือและแรงใจของผู้มีจิตศรัทธา บริจาคทรัพย์สมทบทุนก่อสร้างและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างไม่ขาดสาย การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงในปี พ.ศ. 2521 และเปิดบริการในวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2521
โรงพยาบาลหัวเฉียว หรือที่คนจีนเรียกว่า “ฮั่วเคี้ยวกิ้วหูอุยอี่” เกิดขึ้นจากการจัดตั้งหน่วยผดุงครรภ์ของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 โดยจัดตั้งเป็นสถานผดุงครรภ์ขนาดเล็ก 8 เตียง คำว่า “หัวเฉียว” หมายถึง “คนจีนโพ้นทะเล”
พ.ศ. 2488 โรงพยาบาลหัวเฉียวได้ย้ายที่ทำการใหม่มาตั้งบนถนนกรุงเกษม ซึ่งมีประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญเกิดขึ้นใน พ.ศ.2489 เมื่อใช้เป็นสถานที่ถวายการต้อนรับเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และสมเด็จพระอนุชา (พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9)
โรงพยาบาลหัวเฉียวได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น มีสถิติการคลอดบุตรมากกว่าเดือนละ 1,000 คน คณะกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งจึงเห็นความจำเป็นที่จะขยายและเพิ่มขีดความสามารถให้ดูแลคนไข้ได้ถึง 750 เตียง และปรับปรุงให้ทันสมัยได้มาตรฐานการแพทย์สมัยใหม่ รักษาได้ในทุกสาขาการแพทย์
พ.ศ. 2541 โรงพยาบาลหัวเฉียว อาคาร 22 ชั้นจึงถือกำเนิดขึ้น เป็นโรงพยาบาลที่สูงที่สุดในกรุงเทพฯ สมัยนั้น มีความทันสมัยทั้งในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์เพื่อช่วยเหลือคนไข้ฉุกเฉิน โดยยึดหมั่นในหลักการดำเนินงานโดยไม่หวังผลกำไร เพราะทุนทรัพย์ที่สร้างอาคารโรงพยาบาลหัวเฉียว พร้อมจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ มาจากเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาอันสูงสุด นำโดย ดร.อุเทน เตชะไพบูลย์ ประธานกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9)พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (พระราชธิดาพระองค์เล็ก) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร 22 ชั้น เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ยังความปลาบปลื้มและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น เสด็จฯ ทอดพระเนตรห้องพักคนไข้ ห้อง ICU และลานจอดเฮลิคอปเตอร์
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2543 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลหัวเฉียว
 
วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร 22 ชั้น โรงพยาบาลหัวเฉียว อย่างเป็นทางการ
'''ปัจจุบัน โรงพยาบาลหัวเฉียว มุ่งมั่นพัฒนา ก้าวสู่โรงพยาบาลตติยภูมิระดับสูง รักษาโรคซับซ้อน โรครักษายาก''' ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลฯ ที่มีวิสัยทัศน์และจิตใจอันเป็นกุศล มีความตั้งใจที่จะบริหารงานโดยยึดหลักคุณธรรมและเมตตาธรรม ตามปณิธานของหลวงปู่ไต้ฮง (ไต้ฮงกง) และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งที่มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพการรักษาพยาบาล รวมถึงการบริการให้เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ให้การบริการทุกสาขาการแพทย์ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิในหลากหลายสาขามีแพทย์ประจำกว่า 100 ท่าน และแพทย์ที่ปรึกษากว่า 500 ท่าน มีขอบเขตการรักษาพยาบาลที่จำเป็นต้องใช้แพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด ( Sub – Specialty ) ในสาขาต่างๆ ที่สามารถให้บริการรักษาพยาบาลถึงกลุ่มประชาชนที่มีเศรษฐานะปานกลางไปจนถึงระดับต่ำ ให้สามารถเข้าถึงบริการทั้งระดับกว้างและลึก ทุกระดับฐานะทางสังคม
 
โรงพยาบาลหัวเฉียวเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงจังเมื่อปลายปี พ.ศ.2548 – ปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่ด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan – 160 Slices) เครื่องตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านม (Digital Mammogram) ฯลฯ และการพัฒนาด้านสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ การเปิดบริการ 8 ศูนย์บริการทางการแพทย์ ได้แก่ ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หลอดเลือดสมอง ศูนย์ศัลยกรรม ศูนย์กระดูกและข้อ ศูนย์จักษุ ศูนย์แม่และเด็ก ศูนย์ทันตกรรม ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ
ในด้านบริการทางการแพทย์สาขาอื่นๆ โรงพยาบาลหัวเฉียว มีบริการอย่างครบครัน อาทิ คลินิกอายุรกรรม คลินิกหู คอ จมูก ศูนย์ไตเทียม คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ศูนย์ตรวจสุขภาพ รวมถึงมีโครงการเพื่อสังคมอีกมากมาย เช่น โครงการธรรมโอสถ โครงการธรรมรักษา และโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เช่น การมอบทุนต้นกล้าพยาบาล การสงเคราะห์ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลและค่าฟอกไต เป็นต้น
โรงพยาบาลหัวเฉียว มีหลักนโยบายบริหารเพื่อดำรงไว้ซึ่งการเป็นองค์กรเพื่อสังคม (Social Enterprise) 6 ด้าน ได้แก่ คุณภาพการรักษาพยาบาล คุณธรรมจริยธรรมของบุคลากรทางการแพทย์ ธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ ความเอื้ออาทรต่อผู้ป่วยและครอบครัว กำหนดอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล และโครงการเพื่อสังคม เพื่อให้โรงพยาบาลหัวเฉียว เดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และดำรงตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ดังเช่นวิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลที่ว่า.. '''“ หัวเฉียวก้าวไกล มั่นใจมาตรฐาน ประทับใจบริการ โรงพยาบาลเพื่อสังคม ”''' <ref>{{Cite web|title=โรงพยาบาลหัวเฉียว--HUA CHIEW HOSPITAL|url=http://www.hc-hospital.com/about-huachiew.html|access-date=2021-01-03|website=www.hc-hospital.com}}</ref>
 
 
{| class="wikitable"
|+ คณะกรรมการมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
|-
|ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ || ประธานกรรมการ
|-
|นายกอบชัย ซอโสตถิกุล || รองประธานกรรมการ
|-
|ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ || รองประธานกรรมการง
|-
|นายสัก กอแสงเรือง || รองประธานกรรมการ
|-
|นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล || รองประธานกรรมการ
|-
|นางศิริกุล โอภาสวงศ์ || กรรมการและเลขาธิการ
|-
|นายสุรพงษ์ เตชะหรูวิจิตร || กรรมการและรองเลขาธิการ
|-
|นายจารุรัตน์ คุณัตถานนท์ || กรรมการและเหรัญญิก
|-
|นายสุรพงศ์ เสรฐภักดี || กรรมการและรองเหรัญญิก
|-
|นางจินดา บุญลาภทวีโชค || กรรมการตรวจสอบ
|-
|ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ || กรรมการ
|-
|นายธนา เสนาวัฒนกุล || กรรมการ
|-
|นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา || กรรมการ
|-
|นายสุหัทย์ ไพรสานฑ์กุล || กรรมการ
|-
|นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ || กรรมการ
|-
|นายชาญกิจ วิทยาวรากรณ์ || กรรมการ
|-
|นายอุกฤษฏ์ อัษฎาธร || กรรมการ
|-
|นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ || กรรมการ
|-
|นายบุศรินทร์ วนาสวัสดิ์ || กรรมการ
|}
 
== คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลหัวเฉียว ==
 
ดร.วิเชียร เตชะไพบูลย์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์คณะกรรมการบริหาร
นายกอบชัย ซอโสตถิกุล ประธานคณะกรรมการบริหาร
นายกำสิน เสรฐภัคดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 1
นายสุธี เกตุศิริ รองประธานคณะกรรมการบริหาร คนที่ 2
ดร.สุทัศน์ เตชะวิบูลย์ กรรมการบริหาร
ศ.ดร.สม จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการบริหาร
นายวิชิต ชินวงศ์วรกุล กรรมการบริหาร
นพ.สามารถ ตันอริยกุล กรรมการบริหาร
นางศิริกุล โอภาสวงศ์ กรรมการบริหาร
นายชูเดช เตชะไพบูลย์ กรรมการบริหาร
นายกฤษกร เตชะวิบูลย์ กรรมการบริหาร
นายอรัญ เอี่ยมสุรีย์ กรรมการบริหาร
 
== ประธานเจ้าหน้าที่บริหารโรงพยาบาล ==
 
นายสุธี เกตุศิริ ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2542 – 2562
นางประภัสสร รุจิรากรสกุล ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน
 
ปัจจุบัน โรงพยาบาลหัวเฉียว เติบโตก้าวหน้าขึ้นเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (GENERAL HOSPITAL) ให้บริการทุกสาขาการแพทย์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินตามรอยปณิธานของหลวงปู่ไต้ฮง พร้อมให้บริการด้วยคุณภาพมาตรฐาน HA (Hospital Accreditation)<ref>{{Cite web|title=โรงพยาบาลหัวเฉียว--HUA CHIEW HOSPITAL|url=http://www.hc-hospital.com/about-huachiew.html|access-date=2021-01-03|website=www.hc-hospital.com}}</ref>
 
== อ้างอิง ==