ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลตัส (ห้างสรรพสินค้า)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Poonpun2016 (คุย | ส่วนร่วม)
Poonpun2016 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 27:
===ธุรกิจช่วงแรก-ขายหุ้นให้เทสโก้===
'''โลตัส''' เกิดจากความต้องการขยายรูปแบบร้านค้าปลีกของ [[เครือเจริญโภคภัณฑ์]] หรือกลุ่มซีพี ในนามของ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด โดยได้จดทะเบียนบริษัทในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 มีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท<ref>[https://www.isranews.org/isranews-scoop/49592-cp_49592.html เปิด‘หุ้นใหญ่’ เทสโก-โลตัส คนเครือ ซี.พี.โผล่ ใครเจ้าของแท้จริง ?] สำนักข่าวอิศรา เขียนวันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 08:00 น.</ref> โดยได้เปิดบริการสาขาทดลองรูปแบบสาขาแรกที่[[ซีคอนสแควร์]]ในนาม '''โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์''' เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2537<ref name=lotushistory>[https://web.archive.org/web/20190926064433/https://www.tescolotus.com/about/history# ความเป็นมา|Tesco Lotus] เว็บไซต์ tescolotus.com ผ่านทาง web.archive.org สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564</ref> ก่อนที่ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จะเปิดสาขาที่ 2 ในนาม '''โลตัส ดิสเตาน์สโตร์''' ที่[[อำเภอเมืองสมุทรสาคร]] [[จังหวัดสมุทรสาคร]]<ref>[http://www.sakhononline.com/report/?p=17https%3A%2F%2Fmgronline.com%2Fbusiness%2Fdetail%2F9630000022223&fbclid=IwAR1XyBSZWtacD1hWNWSnzHH4c_0LKtbHJXE3dXArDFMEe3TLLvVzrENYZqc เทสโก้โลตัสแก้เกมแข่งบิ๊กซี จับตาห้างค้าปลีกผุดสามแยกกระทุ่มแบน] sakhononline.com เผยแพร่เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564</ref> แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนกลายเป็น[[วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540]] ทำให้ใน พ.ศ. 2541 กลุ่มซีพีตัดสินใจขายหุ้นร้อยละ 75 ของบริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทมให้กับกลุ่ม[[เทสโก้]] ผู้ประกอบการค้าปลีก[[ประเทศอังกฤษ]] ด้วยมูลค่า 365 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 12,000 ล้านบาท เพื่อให้ได้เงินไปใช้หนี้ต่างประเทศ โดยเป็นแนวทางที่ [[ธนินท์ เจียรวนนท์]] กล่าวว่า ต้องเลือกสละบางอย่างเพื่อรักษาเรือและเอาชีวิตให้รอด<ref>[https://mgronline.com/business/detail/9630000022223?fbclid=IwAR0wn7vI7IVwskyN008rJbj0t5ze2eg_LrD21H6GEiAC657m5PMhdxG9_7w ย้อนตำนานวงการค้าปลีกไทย กำเนิดโลตัส สู่การผลัดมือ (อีกครั้ง)]เผยแพร่: 5 มี.ค. 2563 11:20 ปรับปรุง: 5 มี.ค. 2563 12:48 โดย: ผู้จัดการออนไลน์</ref>
{{คำพูด|ตอนวิกฤตผมไปคุยกันสี่พี่น้องว่า ผมรับรองว่าธุรกิจเดิมของเราจะไม่ล้ม ธุรกิจเกษตรทั้งหลาย ผมรับรองว่าไม่ล้มละลายแน่นอน ผมรักษาได้แน่ ส่วนธุรกิจใหม่ที่ผมสร้างขึ้นมา ให้ผมปวดหัวคนเดียวก็พอ พี่ทั้งสามไม่ต้องปวดหัว เพราะผมจะขายธุรกิจที่ผมสร้างขึ้นมาใหม่ก่อน อยากให้พี่ๆ สบายใจ ไม่งั้นเขาก็ห่วง ซึ่งการขายโลตัสออกไปในวันนั้น ทำให้เห็นถึงความผูกพันกับแบรนด์โลตัส ในฐานะที่เป็นผู้สร้างขึ้นมากับมือ|ธนินท์ เจียรวนนท์|right}}
ภายหลังการควบรวมธุรกิจจึงได้เปลี่ยนแปลงชื่อมาเป็น '''เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์เซ็นเตอร์''' ในช่วงแรกแล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น '''เทสโก้ โลตัส''' นับตั้งแต่นั้น โดยใช้ [[สีน้ำเงิน]] เป็นโทนสีของห้าง ซึ่งในช่วงแรกกลุ่มซีพียังคงถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 25 แต่ภายหลังก็ได้ทยอยขายหุ้นออกไปจนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 กลุ่มซีพีถือหุ้นอยู่ไม่ถึงร้อยละ 1 จึงตัดสินใจขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดออกไปในปีนี้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาพลักษณ์ของ [[ธนินท์ เจียรวนนท์]] ให้สามารถให้ความเห็นเรื่องค้าปลีกได้อย่างมีจุดยืน<ref>[http://info.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4096&fbclid=IwAR1G66G1JQ9gO9GVUO-glSDAtSVVAdjf-sImBAC_GkIuxV17zgE3n1LQLz8 ซีพีขายทิ้งเทสโก้โลตัส-แม็คโคร สยบข่าวอุ้มยักษ์ค้าปลีก ] ผู้จัดการรายวัน เผยแพร่เมื่อ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564</ref>