ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอแหลมสิงห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ที่มาของชื่อ "แหลมสิงห์" มาจากหินธรรมชาติที่มีรูปลักษณะคล้ายกับ[[สิงโต]]หมอบ 2 ตัวที่ปากอ่าวแหลมสิงห์ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงตัวเพราะถูกทำลายไปในเหตุ[[วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112]]<ref>''เมืองไทย ดี๊ดี'', รายการโทรทัศน์ทางช่อง 11: วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557</ref>
==ตำนานสิงโตที่แหลมสิงห์==
คำโบราณปรัมปราเล่าว่าเมื่อก่อนนี้ไม่มีสิงโตคู่นี้ แต่กล่าวกันว่าบนเขาแหลมสิงห์มีสิงโตจริงๆ อยู่คู่หนึ่ง สิงโตตัวผู้ตัวเมียคู่นี้ไปไหนด้วยกันเสมอและลงมาอาบน้ำ[[ทะเล]]ด้วยกันทุกวัน
ต่อมา[[ฝรั่งเศส]]พวกหนึ่งคอยดักทำร้ายสิงโตคู่นี้ โดยใช้วัตถุระเบิดชนิดหนึ่ง สิงโตตัวหนึ่งถึงแก่ความตาย อีกตัวหนึ่งวิ่งหนีลงทะเลทัน ตัวที่หนีลงทะเลไปนั้น เมื่อตายในน้ำแล้วก็มากลายรูปเป็นสิงโตศิลายืนหยัดอยู่ริมทะเล ส่วนตัวที่ถูกยิงตายอยู่ที่ริมฝั่งทะเล ส่วนตัวที่ถูกยิงตายอยู่ที่ริมฝั่งทะเล เหลือเพียงแต่ซากหินปรักหักพังยืนข้างศิลาตัวใหญ่ พอจะจับสังเกตเป็นเค้าโครงได้ มีแววเป็นรูปสิงโตได้บ้าง (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: ความเป็นมาของอำเภอสำคัญในประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. หน้า 58-59)
:นอกจากนี้ยังมีอีกตำนานอีกสำนวนหนึ่งเล่าว่า แหลมสิงห์เป็นชื่อของ[[ภูเขา]]ลูกหนึ่งที่มีบางส่วนยื่นออกไปในทะเลเป็นแหลม ตรงปลายแหลมมีหินซ้อนกันเป็นกลุ่มก้อน เมื่อมองจากทะเลจะเห็นคล้ายสิงโตยืนอยู่ 2 ตัว ชาวบ้านจึงเรียกแหลมนี้ว่า แหลมสิงห์ ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองจันทบุรี ได้ใช้หินก้อนหนึ่งที่ดูคล้ายสิงโตนั้นเป็นเป้าทดลองปืนจนหินส่วนนั้นแตกสลาย ที่เหลืออีกก้อนหนึ่งนั้นคือส่วนที่คล้ายหัวสิงโตก็หักหลุดตกน้ำไป (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์, 2542. หน้า 7241)