ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัตราเร็วของแสง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว
MayThe2nd (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อน
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Advanced Test Reactor.jpg|[[ปรากฏการณ์เชเรนคอฟ]] ในเครื่อง[[ปฏิกรณ์นิวเคลียร์]] เป็นผลมาจาก อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เร็วกว่าแสงที่เดินทางในน้ำ|thumb|197x197px]]
 
'''อัตราเร็วของ[[แสง]] (speed of light,velocity of light) '''ใน[[สุญญากาศ]] มีนิยามว่าเท่ากับ 299,792,458 [[เมตรต่อวินาที]] (หรือ 1,079,252,848.8
[[กิโลเมตร]]ต่อ[[ชั่วโมง]] หรือประมาณ 186,000.000 [[ไมล์]]ต่อวินาที หรือ 671,000,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) ค่านี้เขียนแทนด้วยตัว '''''[[c]]''''' ซึ่งมาจาก[[ภาษาละติน]]คำว่า celeritas (แปลว่า [[อัตราเร็ว]]) และเรียกว่าเป็นค่าคงที่ของ[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์|ไอน์สไตน์]] แสงเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดนั่นคือไม่ว่าผู้สังเกตจะเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด ด้วยเงื่อนไขใด อัตราเร็วของแสงที่ผู้สังเกตคนนั้นวัดได้ จะเท่าเดิมเสมอ ซึ่งขัดกับความรู้สึกของคนทั่วไป แต่เป็นไปตาม [[ทฤษฎีสัมพัทธภาพ]] ของ [[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]]
 
บรรทัด 13:
 
== ภาพทั่วไป ==
จากทฤษฎีทาง[[ฟิสิกส์]] [[รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า]]ทุกชนิดรวมทั้งแสง จะแพร่ออกไป(เคลื่อนที่)ในสุญญากาศ ด้วยอัตราเร็วคงที่ค่าหนึ่ง เรียกว่า อัตราเร็วของแสง ซึ่งเป็นค่าคงที่เชิงกายภาค เขียนแทนด้วยตัว c ตาม[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] [[ความโน้มถ่วง]]ยังแพร่ออกไปในอัตราเร็ว c ด้วย ซึ่งจากทฤษฎีนี้ยังสามารถบอกได้ว่า สิ่งที่มวลไม่สามารถเร็วเท่ากับหรือมากกว่าแสงได้ เพราะมวลเพิ่มขึ้นจนเป็น[[อนันต์]]ต้าน[[การเคลื่อนที่]]
 
จากกฎของแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่น [[สมการของแมกซ์เวลล์]]) อัตราเร็ว c ของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า จะไม่ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุที่ปล่อยรังสี