ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ชนะสิบทิศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
}}
 
'''ผู้ชนะสิบทิศ''' เป็น[[นวนิยาย]]อิงประวัติศาสตร์ งานประพันธ์ของ [[ยาขอบ]] กล่าวถึงเรื่องราวของนักรบผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็น "ผู้ชนะสิบทิศ" นั่นคือ พระเจ้าบุเรงนองแห่งกรุงหงสาวดี นวนิยายได้รับความนิยมมากและดัดแปลงเป็น[[ละครเวที]] [[ละครโทรทัศน์]] และ [[ภาพยนตร์]] หลายครั้ง ตลอดจน [[ละครวิทยุ]] รวมถึงมีการประพันธ์เพลง [[ผู้ชนะสิบทิศ (เพลง)|ผู้ชนะสิบทิศ]] ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายด้วย
 
== ประวัติ ==
ผู้ชนะสิบทิศ เป็นนิยายที่[[ยาขอบ]] หรือ[[โชติ แพร่พันธุ์]] พระนิพนธ์ใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] ในครั้งแรกใช้ชื่อว่า "ยอดขุนพล" เริ่มเขียนใน พ.ศ. 2474 จบลงใน พ.ศ. 2475 ในหนังสือพิมพ์ "สุริยา" และเริ่มเขียน "ผู้ชนะสิบทิศ" ในหนังสือพิมพ์ "ประชาชาติ" เมื่อวันที่ [[10 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2475]] จบภาคหนึ่งเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 ในตอน "ความรักครั้งแรก" รวมเล่มพิมพ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 ฉบับพิมพ์รวมเล่มใช้ชื่อ "ลูกร่วมนม" สร้างชื่อเสียงให้ยาขอบ<ref>ตอนที่ 3 บุเรงนองกะยอดินนรธา : ขุนพลผู้ทรงเสน่ห์ ในหนังสือบุเรงนองกะยอดินนรธา กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย โดย ดร.[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] ISBN 974-323-512-4</ref> เขียนรวมทั้งหมด 3 ภาค เมื่อ พ.ศ. 2482 แต่ยังไม่จบ เนื่องจากขาดข้อมูลบางอย่างที่จะต้องใช้ประกอบการเขียน ในเนื้อเรื่องกล่าวถึง[[ราชวงศ์ตองอู]]ตอนต้น เริ่มตั้งแต่รัชสมัยของ[[พระเจ้าเมงจีโย]] ไปจนถึง[[พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้]] หรือ มังตราราชบุตร โดยคำว่าผู้ชนะสิบทิศนั้น มาจากคำที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงกล่าวถึง พระเจ้าบุเรงนองว่าเป็น '''The Conqueror of Ten Directions''' แต่สำหรับชื่อนิยาย จากหนังสือประวัติยาขอบ อ้างอิงว่า [[มาลัย ชูพินิจ]] เป็นผู้ตั้งให้{{อ้างอิง}}
 
ผู้ชนะสิบทิศได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งยุคของ[[จอมพลแปลก พิบูลสงคราม]]เป็นช่วงที่รัฐบาลไทยมีนโยบายสร้าง[[สหรัฐไทยเดิม]] โดยการส่งทหารไทยเข้ารุกรานดินแดนพม่าของอังกฤษร่วมกับญี่ปุ่น มีการปลุกระดมชาตินิยม ปี [[พ.ศ. 2485]] ทางรัฐบาลได้มีการเข้าควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ทุกอย่าง นิยายผู้ชนะสิบทิศได้ถูกพิจารณาว่ามีเนื้อหาที่ยกย่องศัตรูของชาติ มีการใช้เรื่องราวที่ในนิยายไม่ได้กล่าวไว้ เช่นเรื่อง[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง]]มาใช้การปลุกระดม[[ชาตินิยม]] ทำให้นิยายผู้ชนะสิบทิศในสมัยนั้นถูกสั่งห้ามพิมพ์จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครองอย่างเด็ดขาด{{อ้างอิง}}