ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์"

ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 38:
จากความมุ่งมั่น และพยายามของทุกฝ่าย ทำให้การก่อสร้างตัวอาคารแล้วเสร็จภายในเวลาเพียง 16 เดือน จากเดิมที่กำหนดไว้ 40 เดือน ด้วยงบประมาณน้อยกว่าที่กำหนด ส่วนการตกแต่งภายในอาคารนั้นแล้วเสร็จในต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534
 
ในวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญโอกาส[[พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ในเดือน12 สิงหาคม พ.ศ. 2535]]
 
นับตั้งแต่เริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้รองรับผู้เข้าร่วมประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 กว่า 10,000 คน จาก 154 ประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ซึ่งได้รับคำชื่นชมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำด้านธุรกิจไมซ์ (MICE ย่อมาจาก Meetings, Incentives, Conventions and Exhibitions) ในประเทศไทยตลอดมา
 
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท เอ็น.ซี.ซี. แมนเนจเม้นท์ แอนด์ ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด
 
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562<ref>[https://www.facebook.com/js100radio/posts/2316976824992538 ปิดปรับปรุงศูนย์ฯสิริกิติ์ ตั้งแต่ 26 เม.ย.62] , จส.100</ref> และมีกำหนดกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565<ref>[https://www.prachachat.net/tourism/news-850689 เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” โฉมใหม่ มากกว่าศูนย์การประชุม] , ประชาชาติธุรกิจ</ref><ref>{{Cite web|last=Banking|first=Money and|title=“ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน 2565|url=https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/queen-sirikit-national-convention-center-18082022|website=Money and Banking|language=en}}</ref>
 
==การจัดสรรพื้นที่==
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 กำหนดเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565<ref>[https://www.facebook.com/js100radio/posts/2316976824992538 ปิดปรับปรุงศูนย์ฯสิริกิติ์ ตั้งแต่ 26 เม.ย.62] , จส.100</ref><ref>[https://www.prachachat.net/tourism/news-850689 เอ็น.ซี.ซี.ฯ เปิดตัว “ศูนย์ประชุมสิริกิติ์” โฉมใหม่ มากกว่าศูนย์การประชุม] , ประชาชาติธุรกิจ</ref><ref>{{Cite web|last=Banking|first=Money and|title=“ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์” พร้อมเปิดให้บริการ 12 กันยายน 2565|url=https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/queen-sirikit-national-convention-center-18082022|website=Money and Banking|language=en}}</ref> ศูนย์ประชุมโฉมใหม่นี้ออกแบบโดยใช้สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย<ref>{{Cite web|date=2022-08-09|title=คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย ความร่วมสมัย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก|url=https://urbancreature.co/queen-sirikit-national-convention-center/|website=Urban Creature|language=en-US}}</ref> ภายในประกอบด้วย โถงประชุมและนิทรรศการ จำนวน 8 ฮอลล์ ห้องเพลนารีฮอลล์ ห้องบอลรูม พื้นที่ค้าปลีก และร้านอาหาร
 
== งานที่จัดในศูนย์ประชุมฯ ==