ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lookruk (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10239780 สร้างโดย 2406:3100:1131:1:0:0:0:95E (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 15:
|}
 
กาบไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไไ หยยยยยอออออออออออออออออออออออออออยยยยยยยยยยยยย{{ดูเพิ่มที่|ไพร่}}
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]นั้น ประมาณว่าไทยมี[[ทาส]]เป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ<ref>ดนัย ไชยโยธา. (2546). '''ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคกรุงธนบุรีถึงกรุงรัตนโกสินทร์'''. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. ISBN 974-276-111-6. หน้า 106.</ref> เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อ ๆ กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่
 
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ<ref name="ชัย286"/> มีผลกับทาสที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา และห้ามมิให้มีการซื้อขายบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปีเป็นทาสอีก
 
เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป<ref>ชัย เรืองศิลป์. หน้า 287.</ref> นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว
 
== การเลิกไพร่ ==
{{ดูเพิ่มที่|ไพร่}}
หมอสมิธ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอมรีโพซิตอรี เขียนบทความตำหนิรัฐบาลสยามอย่างรุนแรง ด้วยเห็นว่า "ในบรรดาประเทศเจริญทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินก็ดี พวกขุนนางก็ดี ไม่มีสิทธิ์เกณฑ์แรงราษฎรผู้เสียภาษีอากรโดยไม่ให้อะไรตอบแทน"<ref name="ชัย289">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 289.</ref> เพราะไพร่รับราชการโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน ซ้ำยังต้องออกค่าใช้จ่ายทุกอย่างในระหว่างการรับราชการนั้นเองอีกด้วยต่างหาก เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร เป็นต้น<ref name="ชัย289"/> นอกจากนี้ยังมีพวก "คนไทยหนุ่ม" ที่อยากให้เลิกขนบไพร่ บางส่วนแสดงความคัดค้านที่รัฐบาลสักเลกในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เพราะทำให้การทำนาได้รับความเสียหาย<ref name="ชัย290">ชัย เรืองศิลป์. หน้า 290.</ref>