ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคแทบอลิซึม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรรค
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Catabolism schematic.svg|thumb|250px|right|แผนภาพแคแทบอลิซึมของสารอาหารในร่างกาย]]
 
'''แคแทบอลิซึม''' เป็นกลุ่ม[[วิถีเมแทบอลิซึม]]ซึ่งสลายโง่โ


โมเลกุลเป็นหน่วยขนาดเล็กและปลดปล่อยพลังงาน ในแคแทบอลิซึม โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น [[พอลิแซ็กคาไรด์]] [[ลิพิด]] [[กรดนิวคลีอิก]]และ[[โปรตีน]]ถูกสลายเป็นหน่วยขนาดเล็กกว่า เช่น [[มอโนแซ็กคาไรด์]] [[กรดไขมัน]] [[นิวคลีโอไทด์]]และ[[กรดอะมิโน]]ตามลำดับ โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ซึ่งประกอบด้วยหน่วย[[มอโนเมอร์]]สายยาวนี้ เรียกว่า [[พอลิเมอร์]]
 
เซลล์ใช้มอโนเมอร์ที่ปลดปล่อยจากการสลายพอลิเมอร์เพื่อสร้างโมเลกุลพอลิเมอร์ใหม่ หรือย่อยมอโนเมอร์นั้นอีกจนเหลือผลิตภัณฑ์ของเสียที่มีโครงสร้างเรียบง่าย และปลดปล่อยพลังงานออกมา ของเสียในเซลล์รวมถึง[[กรดแลกติก]] [[กรดอะซีติก]] [[คาร์บอนไดออกไซด์]] [[แอมโมเนีย]]และ[[ยูเรีย]] การสร้างของเสียเหล่านี้โดยปกติเป็นขบวนการ[[ออกซิเดชัน]]เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยพลังงานเคมีอิสระ ซึ่งบางส่วนสูญเสียไปในรูปความร้อน แต่ส่วนที่เหลือถูกใช้เพื่อขับเคลื่อนการสังเคราะห์[[อะดีโนซีนไตรฟอสเฟต]] (ATP) โมเลกุลนี้ทำหน้าที่เป็นหนทางที่เซลล์ขนส่งพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากแคแทบอลิซึมไปยังปฏิกิริยาที่ต้องการพลังงานซึ่งประกอบเป็นแอแนบอลิซึม ฉะนั้น แคแทบอลิซึมจึงให้พลังงานเคมีซึ่งจำเป็นต่อการคงสภาพและการเจริญเติบโตของเซลล์ ตัวอย่างของขบวนการแคแทบอลิซึม เช่น [[ไกลโคไลสิส]] [[วัฏจักรเครปส์]] การสลายโปรตีนกล้ามเนื้อเพื่อใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นใน[[การสร้างกลูโคส]] และการสลายไขมันใน[[เนื้อเยื่อไขมัน]]เป็นกรดไขมัน