ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Tapranksan (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 110.168.250.196
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ลบข้อมูลไม่มีอ้างอิง/ไม่เป็นสารานุกรม
 
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''มหาสติปัฏฐานสูตร''' หรือ '''สติปัฏฐานสูตร''' เป็น[[พระสูตรที่รวมวิธีการปฏิบัติ[[วิปัสสนา]]ด้วยที่ว่าด้วยการเจริญ[[สติ]] ที่เรียกว่า สติปัฏฐานสี่ คือ การมีสติอันเป็นไปใน [[มหาสติปัฏฐานสูตร#กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน|กาย]], [[มหาสติปัฏฐานสูตร#เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน|เวทนา]], [[มหาสติปัฏฐานสูตร#จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน|จิต]], และ [[มหาสติปัฏฐานสูตร#ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน|ธรรม]] จนเห็นรูปนามตามความเป็นจริงว่าเป็น [[อนิจจัง]] [[ทุกขัง]] [[อนัตตา]] อันเป็นทางสายเอกในอันที่จะนำพาผู้ปฏิบัติไปสู่การบรรลุมรรคผล[[นิพพาน]]ได้
 
'''มหาสติปัฏฐานสูตร''' เป็นพระสูตรสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่ชาวกุรุชนบท ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ
บรรทัด 23:
 
อรรถกถาของสูตรนี้[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1#มูลกำเนิดมหาสติปัฏฐานสูตร กล่าวว่า] ชาวกุรุเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยสมบูรณ์และมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจึงตรัสกรรมฐานไว้[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๑๑_สมาธินิทเทส#๒._จตุธาตุววัฏฐานกถา|อย่างย่อ]], ทรงแสดงพลว[[วิปัสสนาญาณ]]คือ[http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=9&h=พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในกายอยู่#375 ขยญาณ]และ[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=2&h=สติที่กำหนดลม#อานาปานสติเป็นอริยสัจ_๔ ภังคญาณ]ไว้เป็นหลักในตอนท้ายของทุกบรรพะ, อีกทั้งในตอนท้ายอรรถกถา[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6&h=ภิกษุสามหมื่นรูปดำรงอยู่ในพระอรหัต#อานิสงส์ แสดงว่า]มีผู้บรรลุหลังฟังสูตรนี้จบด้วย.
 
==บรรพะ 21==
=== กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ===
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีทำกรรมฐานด้วยการตามดูกาย 14 บรรพะ. ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1#เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้_๔_อย่าง หลักเนตติปกรณ์]บรรพะนี้เหมาะสำหรับการเริ่มต้นของตัณหา[[จริต]] ที่มี[[อินทรีย์]]คือปัญญาอ่อนกำลัง เพราะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็น[[รูปกรรมฐาน]]เป็นของหยาบพิจารณาได้ชัดเจนง่ายกว่านามกรรมฐานใน 3 สติปัฏฐานที่เหลือ. ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=3#เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน อรรถกถาของเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน]และ[[s:เนตติปกรณ์_ฉบับปรับสำนวน|หลักเนตติปกรณ์]] ผู้ที่ปฏิบัติตามกายานุปัสสนา[[สติปัฏฐาน]]จนสามารถ[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_th.php?B=5&A=9562&w=ตทงฺควินเยน%20วา%20วิกฺขมฺภนวินเยน%20วา%20วินยิตฺวา ตทังคปหานหรือวิกขัมภนปหาน]อภิชฌาและโทมนัสได้แล้ว เท่ากับได้รูปกรรมฐานแล้ว ฉะนั้น จะต้องทำสติปัฏฐาน 3 ข้อหลังต่อด้วย, เพื่อทำปหานในอรูปธรรมด้วย ไม่เช่นนั้น อนุสัยกิเลสก็จะนอนเนื่องในอรูปกรรมฐานเหล่านั้น คอยเป็น[[อุปปนิสสยปัจจัย]]แบบอารัมมณะแก่ปริยุฏฐานกิเลส. อนึ่ง ในทุกๆ ท้ายบรรพะ จะมีการทำภังคญาณในสติของจิตดวงที่ทำรูปกรรมฐานหรืออรูปกรรมฐานดับไปในวาระจิตก่อนหน้าด้วย เพราะแม้เมื่อทำกรรมฐานทั้ง 21 บรรพะจนเป็นตทังคปหานหรือวิกขัมภนปหานแล้ว แต่อภิชฌาและโทมนัสก็ยังสามารถอาศัยอยู่ในจิตที่เพิ่งทำวิปัสสนาได้. ต่อไปนี้เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 14 แบบ:-
 
1. '''อานาปานบรรพะ''' - แสดงวิธีทำกรรมฐานด้วยการตามดูลมหายใจ หรือ ที่เรียกว่า [[อานาปานสติ]] โดยพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างย่อเฉพาะฝ่ายสมถะ 4 ข้อ จาก 16 ข้อ ใน[http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=18 อานาปานัสสติสูตร].
 
อรรถกถา[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=6&h=อานาปานะ%20๑,กัมมัฏฐานที่ให้ถึงอัปปนา#จบจตุสัจจบรรพ กล่าวว่า] "บรรพะนี้เหมาะกับสมถ[[ยานิก]]<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=02&i=406&h=มีพระอรหัตเป็นที่สุด#ว่าด้วยภิกษุพหูสูต_๓_จำพวก อรรถกถาภิกขุโนวาทกสิกขาบท กรรมฐาน 2 แบบ ที่ทำให้บรรลุอรหัตผล]</ref>" เพราะเป็นกรรมฐานที่ทำให้ถึงโลกิย[[อัปปนา]]ได้. ส่วนวิปัสสนาที่เหลือ 12 ข้อในอานาปานัสสติสูตร ถูกย่อไว้ในท้ายบรรพะที่แสดงวิธีการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาไว้ว่า "โยคีตามเห็นเหตุเกิดในกายบ้าง ตามเห็นเหตุดับในกายบ้าง (สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา ฯลฯ)", ซึ่งอรรถกถาอธิบายข้อความนั้นไว้ 2 ส่วน คือ
 
:#'''[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=2#เจริญอานาปานสติ ส่วนสมถะ]''' อธิบายเหตุให้เกิดลมหายใจ
:#'''[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=2#อริยสัจ_๔_ในอานาปานะ ส่วนภังคญาณ]''' อธิบายนิโรธสัจของสติในจิตที่พิจารณาเหตุเกิดส่วนสมถะไป
 
อนึ่ง บรรพะนี้และทุกบรรพะรวมถึงในอุทเทส แยกออกเป็น 2 ส่วน คือ
 
:#ส่วนอารมณ์ที่ถูกตามดู จะอยู่ก่อนอนุปัสสี (ตามพิจารณาเห็น) และ อิติ (ดังนี้) ศัพท์ ซึ่งส่วนนี้ของแต่ละบรรพะจะเหมาะกับสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิกอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น. อย่างอานาปานสติบรรพะนี้ ท่านแสดงว่าเป็นสมถยานิก.
:#ส่วนสติสัมปชัญญะที่ตามดู จะอยู่หลังอนุปัสสีและอิติศัพท์ ซึ่งส่วนนี้ของแต่ละบรรพะจะให้ตามดูอารมณ์กรรมฐานนั้นๆ ทั้งของตนเองและของผู้อื่น แต่ตอนจบจะเหมือนกัน คือ ภังคญาณที่พิจารณาอริยสัจในสติดวงที่เพิ่งดับไปหลังทำกรรมฐานในอารมณ์ที่แสดงไว้ในส่วนแรกของบรรพะ.
 
อนึ่ง ส่วนนี้ในพระไตรปิฎกของมหายานไม่มี เพราะตาม[http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=32 มหาโคสิงคสาลสูตร]พระ[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1&h=มอบท่านพระอุบาลี,มอบท่านพระอานนท์,มอบกะนิสิตของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร,มอบกะพระมหากัสสป,มอบกะพระอนุรุทธ#พระอานนท์บรรลุพระอรหัต เถระผู้นำในสังคายนาครั้งที่ 1]ของเถรวาท ส่วนมากท่านเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรอัครสาวกด้วย ฉะนั้น ท่านจึงแสดงมหาสติปัฏฐานสูตรตามที่ฟังมาจากพระสารีบุตร เพราะพระพุทธเจ้า[http://www.84000.org/tipitaka/read/?20/145 ยกย่องธรรมะที่พระสารีบุตรแสดง]ให้เทียบเท่ากับที่พระองค์แสดง, ส่วนทางนิกายอื่นรวมถึงมหายานนั้น สังคายนากันโดยไม่มีพระเถระเหล่านั้นอยู่ด้วย ฉะนั้น พระสูตรฝั่งมหายานจึงไม่มีส่วนที่มาจากพระสารีบุตร ทั้งในสูตรนี้ และทั้งอภิธรรมด้วย.
 
วิสุทธิมรรค[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๓_กัมมัฏฐานคหณนิทเทส#โดยเหมาะสมแก่จริยา|กล่าวว่า]] อานาปานสติเป็นกรรมฐานสำหรับ'''โมห'''จริต (คนขี้ลืม). และ[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๑๔_ขันธนิทเทส#สติ|กล่าวว่า]] สติมีหน้าที่ทำให้จิตเจตสิกไม่หลงลืมอารมณ์ (อสัม'''โมห'''รสา), ดังนั้น ถ้ายังเป็นคนขี้หลงขี้ลืมอยู่ สติก็จะไม่สามารถเจริญได้. พระพุทธเจ้าจึงต้องแสดงอานาปานสติก่อนบรรพะอื่นเพื่อข่มความขี้ลืมนี้ไว้ก่อนจะไปทำกรรมฐานบรรพะอื่น เพราะลมหายใจอยู่กับตัวและเคลื่อนไหวอัตโนมัติอยู่ตลอด ลมหายใจจึงเป็นกรรมฐานที่เหมือนมีคนมาสะกิดไม่ให้ลืมอยู่ตลอด ในระยะเริ่มกรรมฐานจึงง่ายต่อการรักษาสติไว้มากกว่ากรรมฐานกองอื่น, ลมหายใจมี[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๘_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส#อธิบายที่ต่างจากกรรมฐานอื่น|ระดับสำหรับการฝึกที่ชัดเจน]] คือ ถ้าลมหายหาลมไม่เจอแสดงว่า สติไม่มีกำลังพอจะรู้ลมในระดับนั้น, และใช้มนสิการน้อย คือ เมื่อหลงลืมกรรมฐานไปแล้ว เพราะสติไม่มีกำลังหรือเพราะไปใส่ใจเรื่องอื่นก็ตาม แต่ลมหยาบก็ยังคงมาปรากฏเตือนให้เห็นเรื่อยๆ อยู่ดี. จะเห็นได้ว่า กรรมฐานอื่นไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้สมบูรณ์เท่าอานาปานัสสติเลย, ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงแสดงอานาปานบรรพะก่อน เพราะเกื้อกูลต่อการเจริญสติมากที่สุด.
 
2. '''อิริยาปถบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานที่เรียนมาใดๆ ทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถใหญ่ทั้ง 4 [[อิริยาบถ]] คือ ยืน เดิน นั่ง นอน. กล่าวคือ เมื่อเรียนกรรมฐานมีอานาปานัสสติเป็นต้นแล้ว ก็ให้บริหารให้เจริญขึ้นต่อเนื่องอยู่ตลอดทั้งอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย.
 
มีประเด็นว่า มหาอรรถกถา<ref>ม.อ. (ปปญฺจ.๑) [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_th.php?B=7&A=8141&w=อิริยาปถสมฺปชญฺ สติปฏฺฐานสุตฺตวณฺณนา]</ref>ไม่ให้ปฏิบัติวิปัสสนาโดยใช้อิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อย เพราะอิริยาบถไม่ใช่[[สัมมสนรูป]], แต่พระมหาสิวะได้อธิบายวิธีที่สามารถนำมาทำวิปัสสนาได้ โดยการแยก[[รูปปรมัตถ์]]ออกจากอิริยาบถที่เป็น[[อัตถบัญญัติ]] แล้วทำวิปัสสนาเฉพาะในสัมมสนรูป. อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์โดยหลัก[[s:เนตติ_สังคหวาระ-อุทเทสวาระ-นิทเทสวาระ#หาระสังเขป|จตุพยูหหาระ]]แล้ว วัตถุประสงค์ของบรรพะนี้ คือ การเน้นให้[[โยคี]]ทำกรรมฐานที่เรียนมาเช่นอานาปานัสสติเป็นต้นตลอดเวลาไม่ขาดช่วง, ฉะนั้น มติของ[[มหาอรรถกถา]]จึงอธิบายโครงสร้างของสูตรได้ตรงตามพุทธประสงค์มากกว่า. ส่วนมติของพระมหาสิวะนั้นก็ถูกต้องตามหลักธรรมะและช่วยอธิบายเรื่องสมถยานิกและวิปัสสนายานิกที่มาในมหาอรรถกถาด้วย แม้จะไม่เข้ากับโครงสร้างของสูตรนี้ก็ตาม. ทั้งสองมติ'''ไม่ได้ขัดแย้งกัน'''และเป็นประโยชน์ทั้งคู่ พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่ตัดสินถูกผิดใดๆ ในสองมตินี้ เพียงแต่ให้มติของมหาอรรถกถาเป็นมติหลัก เพราะมติของมหาอรรถกถาเข้ากับโครงสร้างของสูตรมากกว่า.
 
อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะ เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะ
 
:#[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6&h=ไม่เกิดในอิริยาบถ%20สัมปชัญญะ#สรุปความ มหาอรรถกถา] ว่าบรรพะนี้ไม่ได้แสดงอารมณ์กรรมฐานไว้โดยตรง เพราะ'''เป็นแค่บรรพะที่ย้ำให้ทำกรรมฐานใดๆ ให้ตลอดเวลาไม่มีหยุดพัก''' จึงไม่แสดงอารมณ์ของกรรมฐานไว้โดยตรง, อิริยาบถเองก็เป็นทั้งบัญญัติด้วย ซ้ำอิริยาบถยังเป็นบัญญัติแบบเดียวกับอสัมมสนรูปด้วย อรรถกถาจึงกล่าวว่าไม่ต้องเรียนกรรมฐานใน 2 บรรพะนี้. อย่างไรก็ตามเมื่อทำธาตุมนสิการบรรพะแล้วจะสามารถแยกอิริยาบถบัญญัติจากปรมัตถ์ตามคำอธิบายของพระมหาสิวะด้านล่าง ก็จะได้อารมณ์เป็นรูปปรมัตถ์ ซึ่งรูปปรมัตถ์ไม่เป็นอารมณ์ของอัปปนาฌาน, ฉะนั้น อัปปนาจึงไม่เกิดในสองบรรพะนี้, แต่สามารถทำวิปัสสนาได้. ในมหาอรรถกถาของสองบรรพะนี้จึงแสดงวิปัสสนาไว้ และกล่าวว่าบรรพะนี้เหมาะกะสมถยานิก.
:#*[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=6&h=ส่วนพระมหาสิวเถระกล่าวว่า#สรุปความ พระมหาสิวะ]อธิบายคำของมหาอรรถกถาว่า อารมณ์ที่แสดงในบรรพะนี้และสัมปชัญญะบรรพะไม่ใช่อารมณ์แบบ[[อัปปนากรรมฐาน]] 30 จึงทำให้ถึงอัปปนาไม่ได้, และยังไม่ใช่ธรรมที่ควรสัมมสนะอีกด้วย. แต่เมื่อผ่านธาตุมนสิกาบรรพะมาแล้ว ก็จะสามารถแยกอิริยาบถและสัมปชัญญะไม่ให้เป็นสัตว์บุคคลได้ ดังนั้น จึงสามารถทำวิปัสสนาได้.
:#[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๘_อนุสสติกัมมัฏฐานนิทเทส#อิริยาบถที่สมควร|อัปปนาสามารถเกิดได้ง่ายกว่าในอิริยาบถนั่ง]], ถ้าท่านแสดงสองบรรพะนี้เป็นสมถะด้วย โยคีผู้ใหม่จะเดินบ้าง นอนบ้างทำสมถะ ซึ่งเป็นอิริยาบถที่ยากต่อการทำให้เกิดอัปปนา. แม้ผู้ที่ได้วสีแล้ว อิริยาบถนั่งก็ยังเป็นอิริยาบถที่เข้าอัปปนาได้ง่ายกว่า. อย่างไรก็ตาม สมถยานิกผู้ใหม่เมื่อเริ่มทำสมถะก็ควรทำทั้งอิริยาบถใหญ่และย่อยเช่นกันเพื่อรักษานิมิตกรรมฐาน เพียงแต่เน้นที่อิริยาบถนั่งเพราะจิตจะตั้งมั่นได้ง่ายกว่า กรรมฐานจะเจริญขึ้นง่ายและไวกว่าอิริยาบถอื่น.
 
ด้วยประการดังกล่าวมาแล้วนั้น อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะจึงเหมาะกับวิปัสสนายานิก. นอกจากนี้ มหาอรรถกถาของบรรพะนี้ก็อธิบายไว้ตามแนววิปัสสนาด้วย.
 
3. '''สัมปชัญญบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานใดๆ ที่เรียนมาทั้งสมถะและวิปัสสนาให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถย่อยทั้ง 7 คือ เดินหน้า ถอยหลัง แล เหลียว เหยียด คู้ ใช้สอยข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอิริยาบถบรรพะข้างบน.
 
4. '''ธาตุมนสิการบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[ธาตุ 4]]อย่าง[[s:วิสุทธิมรรค_ฉบับปรับสำนวน_ปริจเฉท_๑๑_สมาธินิทเทส#จตุธาตุววัฏฐานกถา|ย่อ]] คือ แสดงเพียงธาตุดิน (m-มวล) ธาตุน้ำ (a-ความดึงดูด,ความเร่ง,ความหนืด) ธาตุไฟ (t-อุณหภูมิ) ธาตุลม (v,u-ความเร็ว,ความไหว) ซึ่งต่างจาก[http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=6042&Z=6308 มหาหัตถิปโทปมสูตร]ที่แสดงไว้อย่างละเอียดกว่า. บรรพะนี้เหมาะกับวิปัสสนายานิก เพราะธาตุ 4 เป็นรูปปรมัตถ์ ไม่ใช่อารมณ์ของอัปปนา อรรถกถาของบรรพะนี้จึงอธิบายทั้งสองส่วนของสูตรเป็นกรรมฐานวิปัสสนาทั้งหมด คือ จตุธาตุววัตถานในส่วนแรกและภังคญาณในส่วนหลัง.
 
จตุธาตุววัตถานแสดงต่อจากอานาปานัสสติ,อิริยาบถ,และสัมปชัญญบรรพะ เพราะสมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรม ต้องเจริญคู่กัน. ฉะนั้น แสดงอานาปานสติในอิริยาบถใหญ่น้อยแล้ว จึงแสดงรูปกรรมฐานด้วยจตุธาตุววัตถานต่อกัน. จะเห็นได้ว่า ในอรรถกถาของ 3 บรรพะจึงกล่าวถึงจตุธาตุววัตถานวิปัสสนาในฐานะรูปกรรมฐานไว้ แม้ว่าวิปัสสนาในรูปกรรมฐานควรจะเริ่มที่บรรพะนี้ก็ตาม นั่นก็เพราะเหตุที่สมถวิปัสสนาเป็นยุคนัทธธรรมนั่นเอง.
 
5. '''ปฏิกูลมนสิการบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[กายคตาสติ|การระลึกถึงแต่อวัยวะ 32]] หรือที่เรียกว่า อาการ 32. บรรพะนี้เหมาะกับสมถะยานิก เพราะมีอารมณ์เป็นอวัยวะสมูหฆนอัตถ[[บัญญัติ]]จึงสามารถบรรลุโลกิยอัปปนาได้. คำอธิบายที่เหลือดูคำอธิบายอานาปานบรรพะข้างบน.
 
6-14. '''นวสีวถิกาบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[นวสี|สีวถิก]]หรือ ซากศพไว้ 9 วาระ. มหาอรรถกถาแนะนำว่า "บรรพะนี้เหมาะกับสมถยานิก" เพราะอารมณ์ของอสุภกรรมฐานที่ทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้. และพระมหาสิวะได้กล่าวเสริมว่า "บรรพะนี้แสดงวิปัสสนา" ไว้ด้วย เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงนวสีวถิกาไว้ด้วยสำนวนอาทีนวญาณ. สรุปว่า อารมณ์เหมาะกับสมถยานิก แต่ก็สามารถนำไปทำวิปัสสนาได้เช่นกัน.
 
===เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน===
 
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยเวทนา 3 ไว้ 1 บรรพะ. ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1#เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้_๔_อย่าง หลักเนตติปกรณ์]บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นตัณหา[[จริต]] ที่มี[[อินทรีย์]]คือปัญญาแก่กล้า เพราะเมื่อปหานอภิชฌาและโทมนัสในกายได้แล้ว ตัณหาก็จะไปติดใจในอรูปธรรมอยู่อีก ทำให้นิวรณ์ยังคงเกิดแทรกภาวนาได้ ทั้งโลกิยะและโลกุตตรอัปปนาจึงไม่อาจเกิดได้ ทางแก้คือ ทำอรูปกรรมฐาน แต่อรูปกรรมฐานมีถึง 3 สติปัฏฐาน จะต้องเลือกว่าจะเจริญสติปัฏฐานไหนก่อน มหาอรรถกถา[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=3#เวทนาเป็นอรูปกัมมัฏฐาน จึงอธิบายว่า]พระพุทธเจ้าทรงแสดงเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานต่อจากกายานุปัสสนา เพราะเวทนา ผัสสะ และจิต สามารถตามดูได้ชัดเจนง่ายกว่า[[อรูปธรรม]]อื่นๆ. ส่วนวิธีเลือกว่าจะเอาเวทนาหรือจิตมาเป็นอารมณ์กรรมฐานนั้น ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1#เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้_๔_อย่าง หลักเนตติปกรณ์] มีหลักอยู่ว่า โยคีตัณหาจริตที่มีปัญญาแก่กล้าแล้ว ยังมีสุขเวทนา[[วิปัลลาส]]ในอรูปธรรมอยู่มาก จึงควรทำปหานะตัณหาในเวทนาก่อน ด้วยการทำเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, ส่วนโยคีทิฏฐิจริตที่อินทรีย์คือปัญญาอ่อนหัดนั้นปหานวิปัลลาสในเวทนาได้แล้ว จึงให้ทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะเหลือนิจจและอัตตวิปัลลาสอยู่ โดยให้ทำจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานก่อน เพราะมีรายละเอียดน้อยกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เมื่อปหานนิจจทิฏฐิได้แล้ว ถ้ายังไม่บรรลุมรรคผลค่อยทำธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเพื่อละอัตตทิฏฐิ. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-
 
15. '''เวทนาบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[เวทนา]] คือ ความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉยๆ ที่มี[[อามิส]] ไม่มีอามิสไว้ เพื่อที่จะทำปหานะเวทนาที่มีอามิสและเจริญเวทนาที่ไม่มีอามิสแทน . บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากมีเวทนาหลายดวงเป็นอารมณ์.
 
===จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน===
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยจิต 1 บรรพะ. ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1#เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้_๔_อย่าง หลักเนตติปกรณ์]บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นทิฏฐิ[[จริต]] ที่มี[[อินทรีย์]]คือปัญญาอ่อนหัด คำอธิบายอื่นดูในหัวข้อเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-
 
16. '''จิตตบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[จิต]]ด้วยการวิเคราะห์สัมปยุตธรรมของจิตปัจจุบันสันตติ เพื่อทำ[[ฆนะ]]วินิพโภคะ (การแยกปัจจัยปัจจยุปบันที่ซับซ้อน)ในอรูปธรรม. บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากมีจิตหลายดวงเป็นอารมณ์ (แต่วิญญาณัญจายตนอัปปนา มีอารมณ์แค่อากาสานัญจายตนจิตอย่างเดียวเท่านั้น).
 
===ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน===
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานแสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับ 5 บรรพะ (ธัมม ศัพท์ ในอรรถการณะ, เหตุ). ตาม[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=131&p=1#เหตุที่ตรัสสติปัฏฐานไว้_๔_อย่าง หลักเนตติปกรณ์]บรรพะนี้เหมาะสำหรับโยคีที่เป็นทิฏฐิ[[จริต]] ที่มี[[อินทรีย์]]คือปัญญาแก่กล้า คำอธิบายอื่นดูในหัวข้อเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายหลักการปฏิบัติโดยย่อ:-
 
17. '''นีวรณบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของ[[นิวรณ์]] เพื่อดับนิวรณ์ทั้งปวงโดยการทำสมถะเข้าฌาน แล้วทำให้ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปด้วยการทำปริญญากิจตามขันธบรรพะ. บรรพะนี้และบรรพะที่เหลือเหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก เพราะไม่สามารถถบรรลุอัปปนาได้ เนื่องจากการหาเหตุเกิดความดับไม่ใช่ทำให้ได้อัปปนา.
 
18. '''ขันธบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของ[[ขันธ์]]ทั้งปวง เพื่อดับขันธ์ทั้งปวงโดยไม่มีส่วนเหลือด้วยการทำสมุจเฉทปหานในเหตุเกิดและเหตุดับ คือ อวิชชาสังโยชน์และตัณหาสังโยชน์ตามอายตนบรรพะ.
 
19. '''อายตนบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของ[[สังโยชน์]] เพื่อทำให้สังโยชน์ทั้งปวงเกิดไม่ได้อีกต่อไป ด้วยการทำภาเวตัพพกิจตามโพชฌังคบรรพะ.
 
20. '''โพชฌังคบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการหาเหตุเกิดและเหตุดับของ[[โพชฌงค์]] (องค์แห่งการตรัสรู้) เพื่อทำให้เจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอริยมรรคสัจที่ตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามสัจจบรรพะ.
 
21. '''สัจจะบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการใช้สัมมาทิฏฐิในมรรคสัจหาเหตุเกิด (สมุทัยสัจ) และเหตุดับ (นิโรธสัจ) ของทุกข์. สัจจบรรพะในสูตรนี้แสดงละเอียดกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพราะในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวว่า"ผู้ฟังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน" และ "ผู้ฟังมีทั้งบรรพชิตและฆราวาส" ฉะนั้น จึงมีคนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องฌานรวมอยู่ด้วย จึงต้องแสดงสัจจบรรพะละเอียดกว่า ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้นตามพระโพธิสัตว์มานานจึงเคยทำฌานมาก่อนแล้ว เลยไม่ต้องแสดงมรรคสัจฝ่ายศีลและสมาธิอีก สมุทัยสัจและนิโรธสัจก็ไม่ต้องแสดงละเอียดเท่า เพราะข่มมาดีแล้วด้วยฌาน.
 
==สมถวิปัสสนาของ 3 อาจารย์ไม่ขัดแย้งกัน==
 
ในเรื่องบรรพะไหนเหมาะกะสมถยานิก บรรพะไหนเหมาะกะวิปัสสนายานิกนี้ มีอย่างน้อย 3 นัยที่อาจารย์กรรมฐานจะต้องใช้ในการพิจารณาเลือกกรรมฐานให้ลูกศิษย์:
#'''นัยของมหาอรรถกถา''' ท่านมองว่าอารมณ์กรรมฐานในบรรพะไหนสามารถทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้, บรรพะนั้นเหมาะกะสมถยานิก. นอกนั้นเหมาะกะวิปัสสนายานิก. อย่างไรก็ตาม มหาอรรถกถามองว่าอิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะใช้ประกอบกับบรรพะอื่นๆ ไม่ใช่อารมณ์ที่ต้องท่องจำเพื่อนำมาใช้ทำวิปัสสนากรรมฐานโดยตรง เพราะอิริยาบถใหญ่น้อยเป็นอสัมมสนรูป (รูปที่ไม่เหมาะทำวิปัสสนา), แต่จัดว่าเหมาะกับวิปัสสนายานิกเพราะอสัมโมหสัมปชัญญะในสัมปชัญญบรรพะนั้นใช้ศัพท์ว่า ปชานาติ, ซึ่งเป็นศัพท์เดียวกับวิปัสสนาบรรพะส่วนใหญ่ มหาอรรถกถาจึงอธิบาย 2 บรรพะนี้ โดยใช้เนื้อหาในวิปัสสนาบรรพะอื่นมาทำ[[ฆนะ|ฆน]]วินิพโภคะ 2 บรรพะนี้เพื่อให้ได้นามรูปปรมัตถ์มาทำวิปัสสนา.
#'''นัยของพระมหาสิวเถระ''' ท่านมองสีวถิกบรรพะว่าเป็นอาทีนวานุปัสสนา จึงเหมาะกะวิปัสสนายานิก ส่วนมหาอรรถกถามองว่า สีวถิกาสามารถใช้ทำโลกิยอัปปนาได้ จึงเหมาะกับสมถยานิก ทั้งสองมติถูกต้องทั้งคู่ คือ มติของมหาอรรถกถา อาจารย์กรรมฐานจะใช้สำหรับเลือกบรรพะที่เหมาะสมกะลูกศิษย์ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า สามารถข้ามลำดับสูตรได้, ส่วนมติของพระมหาสิวะ จะใช้เมื่อลูกศิษย์มีปัญญินทรีย์อ่อนหัด ต้องปฏิบัติไล่ลำดับตั้งแต่อานาปานบรรพะมา ดังนั้น เมื่อปัญญินทรีย์อ่อนหัดเริ่มแก่กล้าจากการทำทิฏฐิวิสุทธิด้วยธาตุมนสิการในปฏิกูลมาแล้วใน 2 บรรพะก่อน ก็ให้นำขึ้นสู่อาทีนวานุปัสสนาด้วยนวสีวถิกาตามนัยยะของพระมหาสิวะ. อนึ่ง พระมหาสิวะกล่าวว่า อิริยาบถและสัมปชัญญบรรพะสามารถเอามาท่องจำเพื่อใช้ทำวิปัสสนาได้ โดยการแยกบัญญัติจากปรมัตถ์ ตรงนี้ท่านกล่าวตามอรรถกถาสัมปชัญญบรรพะ หัวข้ออสัมโมหสัมปชัญญะ จึงไม่ได้ขัดแย้งกับมหาอรรถกถา แต่เป็นการอธิบายให้เห็นภาพว่าที่มหาอรรถกถากล่าวไว้ว่า "2 บรรพะนี้เหมาะสำหรับวิปัสสนายานิก"นั้น เป็นอย่างไรเท่านั้นเอง.
'''นัยของเนตติปกรณ์'''
#[[s:เนตติ นยสมุฏฐาน#สีหวิกีฬิตนัย|สีหวิกีฬิตนัย]] จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสีหะคือครูผู้สอน ในนยสมุฏฐานจึงแสดงองค์สภาวะธรรมข้อที่เท่ากันแม้ต่างหมวดไว้เท่ากัน.
#[[s:เนตติ_นยสมุฏฐาน#ติปุกขลนัย|ติปุกขลนัย]] จะลำดับข้อปฏิบัติให้สอดคล้องกะอัธยาศัยของสัตว์ที่จะออกจากวัฏฏะ ในนยสมุฏฐานจึงเป็นการนำสีหวิกีฬิตนัยมาลำดับใหม่ให้เหมาะกับรายบุคคลนั้นๆ ดังนั้น องค์สภาวธรรม คนละลำดับข้อกัน ถ้าต่างหมวดก็อาจมีองค์ธรรมไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอัธยาศัยของสัตว์คนนั้นๆ.
 
'''พระมหาสิวะกับมหาอรรถกถาไม่ได้ขัดแย้งกัน'''
คำอธิบายของมหาอรรถกถาในมหาสติปักฐานสูตรมีสองแบบ คือ แบบที่อธิบายด้วยสีหวิกีฬิตนัย และแบบที่อธิบายด้วยติปุกขลนัย.
#'''มหาอรรถกถาแบบที่อธิบายด้วยสีหวิกีฬิตนัย''' จะอยู่ในอรรถกถาของแต่ละบรรพะ เพราะสติปัฏฐาน 4 จัดอยู่ในสีหวิกีฬิตนัย มหาสติปัฏฐานสูตรจึงแสดงตามสีหวิกีฬิตนัย, ฉะนั้น ในอรรถกถาของแต่ละบรรพะจึงต้องอธิบายองค์สภาวะธรรมของบรรพะตามลำดับสีหวิกีฬิตนัย คือ แสดงลำดับครบถ้วนตั้งแต่การเชื่อมโยงกับบรรพะก่อน ไปจนวิธีการทำกรรมฐานจนถึงขยญาณ ตามลำดับในพระบาลีแห่งมหาสติปัฏฐานสูตร, ไม่ใช่การจัดโปรแกรมเฉพาะบุคคลแบบติปุกขลนัย.
#'''มหาอรรถกถาแบบที่อธิบายด้วยติปุกขลนัย''' จะอยู่นอกอรรถกถาของบรรพะ เช่น
##ในมหาอรรถกถาใช้ติปุกขลนัยอธิบายวิธีเลือกกรรมฐานไว้ตอนท้ายว่า "อิริยาบถบรรพะกับสัมปชัญญบรรพะไม่ใช่อารมณ์กรรมฐานที่อภินิเวสได้ (ไม่ต้องเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน)" แต่ก็แสดงว่า "บรรพะนี้เป็นอารมณ์สมถกรรมฐานหรืออารมณ์วิปัสสนากรรมฐาน" ซึ่งก็หมายถึงสมถยานิกบุคคลและวิปัสสนายานิกบุคคลในติปุกขลนัยนั่นเอง. ซึ่งผู้ที่อ่านผ่านๆ จะไม่เข้าใจและมองว่ามหาอรรถกถาขัดแย้งกันเอง พระมหาสิวเถระจึงต้องใช้สีหวิกีฬิตนัยมาอธิบายติปุกขลนัยของมหาอรรถกถาว่า "อิริยาบถเมื่อทำฆนวินิพโภคะแล้ว ก็จะได้นามรูปมาเป็นอารมณ์แก่วิปัสสนายานิก ฉะนั้น มหาอรรถกถาแม้กล่าวว่าสองบรรพะนี้ไม่เป็นอารมณ์กรรมฐานด้วยติปุกขลนัยไว้ แต่ก็ในอรรถกถาของทั้งสองบรรพะนี้มหาอรรถกถาก็อธิบายไว้ด้วยสีหวิกีฬิตนัย. เมื่อพระมหาสิวะอธิบายติปุกขลนัยให้เป็นสีหวิกีฬิตนัยอย่างนี้ ครูผู้สอนกรรมฐานก็จะเข้าใจมหาอรรถกถาตรงตามจุดประสงค์ว่า "เมื่อจะให้อารมณ์กรรมฐาน ไม่ควรเริ่มให้อิริยาบถบรรพะและสัมปชัญญะบรรพะตั้งแต่แรก เพราะเป็นอสัมมสนธรรม, แต่เมื่อชำนาญจตุธาตุววัตถานและนามบรรพะด้วยญาตปริญญาแล้ว แม้อิริยาบถกับสัมปชัญญะบรรพะ ก็เป็นอารมณ์กรรมฐานได้ด้วยการทำฆนวินิพโภคะ".
 
จะมองว่า สิ่งที่มีอยู่แล้วไม่ต้องปฏิบัติให้ทำขั้นต่อไปได้เลย เช่น คนที่ได้โลกิยอัปปนาอยู่แล้วเป็นอุคฆฏิตัญญูไม่ต้องทำกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ทำสมถะแล้วปฏิบัติธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้เลย เป็นต้น หลักการนี้ก็ถูกต้อง แต่ในสถานการที่ต้องสอนกรรมฐานจริง แม้อุคฆฏิตัญญูบางท่านก็ยังต้องพึ่งกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เช่น โยคีอุคฆฏิตัญญูอาจไม่เคยทำโลกิยอัปปนามาก่อนในชาตินั้น เนตติปกรณ์ให้อุคฆฏิตัญญูเป็นสมถยานิก จึงต้องให้โยคีนี้ทำฌานก่อน เมื่อจะต้องสอนอารมณ์กรรมฐานในมหาสติปัฏฐานสูตรจึงต้องเลือกให้กายานุปัสสนาสติปัฏฐานที่เหมาะกะสมถยานิก เป็นต้น.
 
 
 
จะเห็นได้ว่าตามหลักเนตติปกรณ์แล้ว มติของมหาอรรถกถากับของพระมหาสิวะนั้นเพียงแค่อธิบายเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเท่านั้น ไม่ได้ขัดแย้งกันเลย พระพุทธโฆสาจารย์จึงไม่แสดงการวินิจฉัยอย่างในที่อื่นๆ เพียงวางมติของมหาอรรถกถาไว้ก่อน แล้ววางมติของพระมหาสิวะต่อกัน เพื่ออธิบายมหาอรรถกถาอีกทีหนึ่ง เท่านั้น.
 
== เปรียบเทียบมหาสติปัฏฐานสูตรกับสติปัฏฐานสูตร ==
มหาสติปัฏฐานสูตร กับ สติปัฏฐานสูตร ต่างกันดังนี้ :-
 
# มหาสติปัฏฐานสูตรอยู่ใน[[ทีฆนิกาย]] ส่วนสติปัฏฐานสูตรอยู่ใน[[มัชฌิมนิกาย]] และใน[[สังยุตตนิกาย]]เป็นต้น
# ​[[สติปัฏฐานสูตร​]]ใน​[[มัชฌิมนิกาย]] ​จะ​มีการ​ใช้​[[เปยยาล]]​([[ฯลฯ]]) ​มาย่อข้อ​ความ​ที่​ซ้ำ​ๆ​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ดู​เหมือน​​สั้นลง​ ​แต่​ความ​จริง​ถ้า​แทนเปยยาล​ด้วย​ข้อ​ความ​ปรกติก็​จะ​ต้อง​มีขนาด​เท่า​กัน
# [[อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร​]] ​ใน​[[ทีฆนิกาย]]นั้น​ ​บางบรรพะ​ ​เช่น​ [[อรรถกถาของสัมปชัญญบรรพะ]] ​เป็น​ต้น​ ​จะมีขนาด​สั้นกว่า​ [[อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร]]​ ​ใน​[[มัชฌิมนิกาย]] ​เพราะ​ท่าน​ได้​อธิบาย​ไว้​ก่อน​แล้ว​ใน[[อรรถกถาของสามัญญผลสูตร]]เป็น​ต้น​ ​ท่าน​จึง​ไม่​กล่าว​ซ้ำ​อีก​. ​[[อรรถกถาของสติปัฏฐานสูตร​]] ​ใน​[[มัชฌิมนิกาย]]ก็​เช่น​กัน​ ​คือ [[อรรถกถาของบางบรรพะ]]​ ​เช่น​ [[อรรถกถาของสัจจบรรพะ]] ​เป็น​ต้น​ ​ก็​จะ​สั้นกว่าอรรถกถา​เรื่องเดียว​กัน​ใน​[[ทีฆนิกาย]] ​เพราะ​ท่าน​ได้​กล่าว​ไว้​ก่อน​แล้ว​ใน​อรรถกถาสูตร​อื่น​ที่มาก่อน​ ซึ่ง​อยู่​ใน​มัชฌิมนิกายเหมือน​กัน​ ​เพราะ​แต่ละนิกายก็​จะ​มีอรรถกถาคนละ​เล่ม เช่น​ ​[[อรรถกถาของทีฆนิกาย​]] ​ชื่อ​ [[​สุมังคลวิลาสินี​]], ​[[อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย​]] ​ชื่อ​ ​[[ปปัญจสูทนี]]​ ​เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​แม้​จะ​มี​เนื้อหาคล้ายๆ​กัน​ ​แต่ก็​จะ​มีการเรียงเนื้อหาอธิบายต่าง​กัน​ ขึ้น​อยู่​กับ​ว่า​ สูตรไหนมาก่อน​-​คำ​ไหนมาก่อน​ ​ก็ถูกอธิบายก่อน​, ​สูตรไหนมาหลัง​-​คำ​ไหนมาหลัง​ ​ก็ถูกอธิบายทีหลัง​ ​ที่อธิบายมา​แล้ว​ท่านก็​จะ​ให้​ย้อนดูอันที่ผ่านมา​แล้ว​ ​ไม่​อธิบาย​ซ้ำ​อีก​, ​พอ​เป็น​[[อรรถกถา]]คนละ​เล่ม​กัน​ ​อรรถกถา​จึง​สั้นยาวต่าง​กัน​ ​แต่​ถ้า​เอาที่ท่านละ​ไว้​มา​เติมก็​จะ​ได้​พอๆ​กัน​ ​ต่าง​กัน​บ้าง​เล็ก​น้อยแค่​ใน​บางจุด​เท่า​นั้น​.
 
อนึ่ง ข้อน่าสังเกต คือ ฉ. [[ฉัฏฐสังคายนา]]ของพม่า '''สติปัฏฐานสูตร''' ใน[[มัชฌิมนิกาย]] ชื่อของพระพุทธพจน์จะใช้ [[มหาสติปัฏฐานสูตร]] ส่วนใน[[อรรถกถา]]จะใช้แค่'''สติปัฏฐานสูตร'''. เมื่อตรวจสอบกับที่อื่นๆ ใน[[อรรถกถา]]ก็พบว่า เมื่อ[[สุมังคลวิลาสินี]] [[อรรถกถาทีฆนิกาย]]อ้างถึงมหาสติปัฏฐานสูตรว่าจะอธิบายในสูตรนี้ ท่านก็จะใช้คำว่า "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". แต่ถ้าเป็นปปัญจสูทนี อรรถกถาของมัชฌิมนิกาย เวลาอ้างท่านจะใช้แค่ว่า "สติปฏฺฐานสุตฺต" ไม่ใช่ "มหาสติปฏฺฐานสุตฺต". ซึ่งเป็นอย่างนี้ทั้งในอรรถกถาและฏีกาของทั้ง 2 คัมภีร์ และตรงกันทั้ง ฉบับไทย ทั้ง ฉบับพม่า. จึงมีความเป็นไปได้ว่า ท่านใช้ชื่อสติปัฏฐานสูตรกับมหาสติปัฏฐานสูตร ตามแบบที่ไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยแยกอย่างนี้มาตั้งแต่โบราณแล้ว.
 
ในอรรถกถาที่อื่นนั้น มีอยู่ 1 ที่ ในนิทานวรรคท่านเรียกรวมทั้ง มหาสติปัฏฐานสูตร ในทีฆนิกาย และ สติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย รวมกันทั้ง 2 สูตร ว่าเป็น "มหาสติปัฏฐาน" ไปเลยก็มี. คงเป็นเพราะว่า ถ้าสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกายไม่ทำ[[เปยยาล]]แล้วเขียนเต็มก็จะต้องมีขนาดเท่ากับมหาสติปัฏฐาน สูตรในมัชฌิมนิกายนั่นเอง.
 
== เบ็ดเตล็ด ==
 
เกร็ด​เล็ก​เกร็ดน้อย​จาก​อรรถกถา​-​ฏีกาของสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร มีดังนี้​ :-
 
# ใน​[[อรรถกถา]]​-​[[ฏีกา]]ท่านแนะ​ไว้​ใน [[​สัจจบรรพะวรรณนา​]] ของ[[ทีฆนิกาย]]ว่า​ ​ไม่​ควรกำ​หนด​ 4 ​บรรพะดังต่อไปนี้ก่อน​ ​คือ​ ​อิริยาบถบรรพะ​ ​สัมปชัญญบรรพะ​ ​นิวรณบรรพะ​ ​และ​โพชฌังคบรรพะ
​เพราะ​อิริยาบถ​ทั้ง​น้อย​และ​ใหญ่​ไม่​ใช่​สัมมสนรูป จึงไม่ใช่อารมณ์ของวิปัสสนา, นิวรณ์เป็นปหาตัพพธรรม ควรข่มให้ได้ก่อน ไม่ใช่มัวแต่สัมมสนะ แล้วปล่อยให้นิวรณ์เกิด,​ ​ส่วน​โพชฌงค์​ใน​ที่นี้ท่านหมาย​ถึง​โลกิยโพชฌงค์​ ​ซึ่ง​ถ้า​หากกำ​หนด​ให้​เบื่อหน่าย​แล้ว​ก็​จะ​ไม่​คิดเจริญต่อ​ ​ฉะ​นั้น​จึง​ไม่​ควรกำ​หนดตั้งแต่​แรก​.
# ​ใน​[[อรรถกถา]]ท่านกล่าวว่า​ [[สติปัฏฐาน​]] เป็น​วินัย​ทั้ง​ 2 ​คือ​ ​ทั้ง[[ตทังควินัย]]​และ​[[วิกขัมภนวินัย]] ​กล่าวคือ​ ​เป็น​ได้​ทั้ง​[[ขณิกสมาธิ​]]และ[[อัปปนาสมาธิ]]​ ​ซึ่ง​อีกที่หนึ่งก็กล่าว​ให้​บางบรรพะ​เป็น[[​สมถะ]]​และ​บางบรรพะ​เป็น​ [[วิปัสสนา​]] ​จึง​สรุป​ความ​ได้​ว่า​ [[สติปัฏฐาน​]]เป็น​ได้​ทั้ง​[[สมถะ​]]และ[[​วิปัสสนา]]​ อย่าง ​[[อิริยาบถบรรพะ]]​เป็น​ต้นท่านก็ว่า​เป็น​[[วิปัสสนา]]​ ​ส่วน​การ​จะ​ทำ​ฌาน​ให้​เป็น​สติปัฏฐาน​ได้​นั้น​ก​็ต้อง​ทำ​เพื่อ​เป็นบาทของวิปัสสนา​ ​และ​ถ้า​ไม่​ทำ​ฌานแต่​จะ​ทำ​[[สติปัฏฐาน]]ก็​ต้อง​ทำ​วิปัสสนา​ ​เพียงแต่การ​ได้[[​ฌาน​]]จะ​ช่วย​ให้​บรรลุ​ได้​สบายขึ้นกว่าคนที่​ไม่​ทำ​ฌาน มาก่อน​เท่า​นั้น​เอง​.
# หลักการวิปัสสนาที่อรรถกถาขยาย​ความ​สติปัฏฐาน​ใน​แต่ละบรรพะคือหลัก[[ปริญญา​ 3]] ​ที่มา​ใน​ ​พระ[[​ไตรปิฎก เล่ม​ 29]] ​คัมภีร์[[มหานิทเทส​]] และ[[ปฏิสัมภิทามรรค]]​ของพระ[[สารีบุตร​]] รวมถึง[[เนตติปกรณ์]]ทั้ง​สิ้น​ พระพุทธโฆสาจารย์ไม่​ใช่​การแต่งขึ้นเองแต่อย่าง​ใด​.
# บทว่า​ ​'''สมุทยธมฺมานุปสฺสี​, ​วยธมฺมานุปสฺสี​, ​สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี​ ​''' ที่มี​อยู่​ใน​ทุกบรรพะ​ ​ใน​[[อรรถกถา]]​และ​ฏีกาท่าน​ให้​แปลว่า​ ​ผู้​หมั่นเห็นเหตุของ​ความ​เกิดขึ้น​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​หมดไป​, ​ผู้​หมั่นเหตุ​แห่ง​ความ​เกิดขึ้น​และ​ความ​หมดไป​ ​ตามลำ​ดับ​. ​เพราะ​คำ​ว่า​ ​ธรรม​ หมาย​ถึง​เหตุ​เกิดขึ้น​หรือ​เหตุดับของขันธ์​ 5 ​อย่าง ​ที่มา​ใน''[[ปฏิสัมภิทามรรค]]​ ​[[อุทยัพพยญาณนิทเทส]] ​และ​[[วิสุทธิมรรค]]​ [[​อุทยัพพยญาณกถา​]]'' ​ได้​แก่​ ​การเกิดขึ้น​และ​การดับของธรรมะ​ 2 ​อย่าง​ ​คือ​ ​ปัจจัย​ 6 ​อย่าง​ ​ได้​แก่​ ​[[อวิชชา​]] [[​ตัณหา​]] [[​กรรม]]​ ​[[อาหาร​]] [[ผัสสะ]] [[นามรูป]] ​และ​นิพพัตติลักษณะ​ ​คือ​ ​อุปาทขณะของ[[สภาวะธรรม​]]นั้น​ ​ๆ​ ​หรือ​ ​'''[[วิปริณามลักษณะ]]'''​ ​คือ​ ''[[​ภังคขณะ]]''ของสภาวะธรรม​นั้น​ ​ๆ​ ​อย่าง​ใด​อย่างหนึ่ง​ ​หากแปลว่า​ ​ธรรมคือ​ความ​เกิด​ ​เป็น​ต้น​ ​จะ​หมาย​ถึง​ ​'''[[นิพพัตติลักษณะ​]]'''หรือ​'''[[วิปริณามลักษณะ​]]'''เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ธรรมอีก​ 4 ​อย่างที่​เป็น​[[ปัจจัย]]​จะ​คลุม​ไม่​ถึง​ จึงเป็นคำแปลที่ขัดกับปฏิสัมภิทามรรค, อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร.
# ​ใน​[[อรรถกถา]]ของ[[ทีฆนิกาย]]​ ​ระบุจำ​นวนคนที่บรรลุ​ไว้​ 30,000 ​ใน​ตอนจบของ[[อรรถกถา]]สูตรนี้​.
# ใน​[[อรรถกถา]]​ใช้​หลัก[[ปริญญา​ 3]] ​เป็น​เกณฑ์​ใน​การอธิบายเนื้อ​ความ​ทั้ง​หมด​ ​และ​ท่านขยาย​ความ[[ปริญญา​ 3]] ​ไว้​แล้ว​ ​ใน​นิทเทสของวิสุทธิ​ 3 ​ได้​แก่​ ​[[ทิฏฐิวิสุทธิ​]] ​[[กังขาวิตรณวิสุทธิ]]​ ​และ[[​มัคคามัคญาณทัสสนวิสุทธิ​]] ​ซึ่ง​เมื่อรวมพื้นฐาน​แล้ว​ก็​ได้​[[วิสุทธิ​]]ทั้ง​ 7 ​หรือ​ [[​วิสุทธิมรรค]]​ทั้ง​เล่มนั่นเอง​. ​ฉะ​นั้น​ท่าน​จึง​อ้าง​ถึง[[​วิสุทธิมรรค]]​ไว้​บ่อยมาก​ ​และ​ใครที่​ไม่​เคยอ่าน[[วิสุทธิมรรค]]​ ​หรือ​อ่าน​แล้ว​แต่​ไม่​รู้​เรื่อง​เพราะ​ไม่​ชำ​นาญพระอภิธรรม​ ​หากไปอ่านอรรถกถาของ[[มหาสติปัฏฐานสูตร​]]เป็น​ต้น​ ​และ​อรรถกถา​ส่วน​ใหญ่​ที่​เป็น​ข้อปฏิบัติอาจ​จะ​ไม่​เข้า​ใจเลย​ ​เพราะ​ข้ามลำ​ดับการศึกษา​ไปนั่นเอง​ ​แต่​ทั้ง​นี้หาก​จะ​อ่าน​ให้​ผ่านตา​ไว้​ก่อน​ใน​ระหว่างศึกษาคัมภีร์พื้นฐาน​อยู่​ก็ควรทำ​ ​เพราะ​จะ​สะสม​เป็น​อุปนิสัย​ ​ให้​สามารถ​เข้า​ใจ​ใน​อนาคต​ได้​ใน​ที่สุด​.
# ก่อน[[สติปัฏฐานสูตร​]] ​ใน​[[มัชฌิมนิกาย]]​ ​มีสูตรชื่อว่า​ [[สัมมาทิฏฐิสูตร]] ​ซึ่ง​ท่านพระ[[สารีบุตร]]บอกกรรมฐาน​ไว้​มากกว่า'''สติปัฏฐานสูตร'''อีก​ ​โดย​กล่าว​ไว้​ถึง​ 32 [[​กรรมฐาน]]​ ​ใน​ขณะที่'''สติปัฏฐานสูตร'''กล่าว​ไว้​เพียง​ 21 ​กรรมฐาน​เท่า​นั้น​. ​ใน​บรรดาพระสูตร​ด้วย​กัน​ [[​สัมมาทิฏฐิสูตร​]]จึง​ถูกจัดว่า​ ​เป็นสูตรที่​แสดง[[กรรมฐาน]]​ไว้​มากที่สุด.
# ใน​[[อรรถกถา]]​และ​[[ฏีกา]]ท่านอธิบายคำ​ว่า​ ​[[เอกายนมรรค​]] ​ไว้​ว่า​ ​หมาย​ถึง​ ​ทางมุ่งสู่พระ[[นิพพาน]]อย่างเดียว​. ​ซึ่ง​จาก​คำ​อธิบาย​และ​ตัวอย่าง​ใน​ฏีกา​นั้น​ ​ทำ​ให้​ทราบ​ได้​ว่า​ ​เอกายนมรรคอาจ​จะ​มีข้อปฏิบัติหลายอย่าง​ได้​ ​เช่น​ ​ในสติปัฏฐานสูตรก็มี[[กรรมฐาน]]​ถึง​ 21 ​ข้อ​ ​ใน​​สัมมาทิฏฐิสูตรก็มีกรรมฐาน​ถึง​ 32 ​ข้อ​ ​เป็น​ต้น​.
# จาก​การที่สติปัฏฐาน​เป็น​ได้​ทั้ง​[[สมถะ​]]และ​[[วิปัสสนา]]​จึง​ทำ​ให้​ทราบ​ได้ว่าสติปัฏฐานมี​ทั้ง​บัญญัติ​และ​ปรมัตถ์​เป็น​อารมณ์​ ​เพราะ​สมถะ​ ​เช่น​ ​​ นิมิต​ ​ซึ่ง​เป็น​ที่ทราบ​กัน​ดีว่า[[นิมิต]]เป็น​บัญญัติ​, ​ส่วน​[[วิปัสสนา​]] ​เช่น​ ​[[อิริยาบถบรรพะ​]] ​ก็มี[[อิริยาบถ​]]และ[[ไตรลักษณ์]]เป็น​ต้น​ ​ซึ่ง​เป็น​บัญญัติ​ ​เป็น​อารมณ์​ได้​.
# ในสติปัฏฐานสูตรจะเน้นให้พิจารณาทั้งสิ่งที่เป็นของตนและของคนอื่นเพราะมี ข้อความว่า "พหิทฺธา วา กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ-เป็นผู้หมั่นพิจารณากายในกายอยู่" อยู่ในทุก[[บรรพะ]]ทั้ง 21 บรรพะเลยทีเดียว ซึ่งพระอรรถกถาและพระฏีกาจารย์ก็ย้ำไว้อีกในอรรถกถาของทุกบรรพะเช่นกันว่า ''"พิจารณาภายนอก หมายถึง ของคนอื่น"''. คำนี้ก็สอดคล้องกับสูตรทั่วไป เช่นที่เรามักได้ยินคำว่า ''"รูปที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน ภายนอก หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ไกล ใกล้"'' เป็นต้น.
# สาเหตุที่คนมักเข้าใจว่า ท่านให้พิจารณาแค่จิตของตนเท่านั้น กายของตน เท่านั้น เป็นต้น อย่างหนึ่งน่าจะมาจากข้อความว่า "กายยาววาหนาคืบ"ซึ่งมีต้นเค้ามาจากพระไตรปิฎก แต่คำนี้ท่านก็ไม่ได้ระบุว่าหมายถึงของตนเองเท่านั้น.
# คำว่า "ตัณหาจริตอย่างอ่อน" และ"ทิฏฐิจริตอย่างอ่อน"นั้น สมัยนี้มีการพูดถึงกันมาก เพราะเอามาจาก[[อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร]]เป็นต้นนั่นเอง มาจากศัพท์ว่า "มนฺทสฺส ตณฺหาจริตสฺส" กับ "ทิฏฺฐิจริตสฺส มนฺทสฺส" ซึ่งดูจาก[[ฏีกาวิสุทธิมรรค]] และ[[เนตติปกรณ์]] รวมถึงใน[[อรรถกถา]]ของ[[ทีฆนิกาย]]แล้ว ถ้าจะอ่านให้รู้เรื่องควรเข้าใจคำนี้ว่าเป็น "ตัณหาจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด" กับ "ทิฏฐิจริต ปัญญินทรีย์แก่กล้า/ปัญญินทรีย์อ่อนหัด".
#การแสดงข้อมูลสำหรับสะสมอบรมสติปัฏฐานไว้ถึง 21 แบบ ซ้ำกันไปซ้ำกันมาในเรื่องเดียวกันอยู่อย่างนี้ เพราะทรงแสดงตามนิสัยสันดานของแต่ละคนที่มีความรู้ความเข้าใจทางด้านข้อมูลและภาษาเป็นต้นมาไม่เหมือนกัน หากทรงแสดงย่อเพียงแบบใดแบบหนึ่ง ผู้ฟังบางส่วนอาจไม่สามารถทำความเข้าใจจนบรรลุได้. แต่หากทรงแสดงหลากหลายแบบ เลือกคำพูดและร้อยเรียงเอาเรื่องราวที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลมาแสดงแล้ว ก็อาจทำให้ผู้ฟังบรรลุได้ตามประสงค์ เพราะผู้ฟังก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆอยู่ในระดับ''ชำนาญเฉพาะทาง''อยู่แล้ว เพียงแค่ทรงบอกแนะเพิ่มเติมในจุดที่ขาดตกบกพร่องไปเท่านั้นเขาก็สามารถเข้าใจและบรรลุตามได้ไม่ยากเลย, เหมือนการอธิบายเรื่องพระเจ้าหลุยให้ชาวฝรั่งเศสฟังด้วยภาษาฝรั่งเศส ถ้าเจอคนโง่ก็อธิบายให้คนโง่ฟังอย่างละเอียด ถ้าเจอคนฉลาดก็อธิบายให้คนฉลาดอย่างสังเขป เป็นต้นนั่นเอง.
#ทั้ง 21 บรรพะนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้อย่างย่อเท่านั้น รายละเอียดจำเป็นต้องดูเพิ่มเติมที่สติปัฏฐานสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, สติปัฏฐานนิทเทส ในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, สติปัฏฐานวิภังค์ ในอภิธรรมปิฎก วิภังคปกรณ์(<<ละเอียดที่สุด) และคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฏีกา เช่น อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร ในสุมังคลวิลาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ในปปัญจสูทนีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์ ในสารัตถปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส ในสัทธัมมปกาสินีปกรณ์, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์ ในสัมโมหวิโนทนีปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีฏีกา ฏีกาของอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 7(ย่อไว้ดีมาก),ฏีกา-อนุฏีกาของอรรถกถาเหล่านั้น เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม การจะทำความเข้าใจอย่างละเอียดนั้นจำเป็นต้องมีพื้นฐานในด้านข้อมูล-ภาษา-และความสัมพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก-อรรถกถา-ฏีกามากพอสมควร ซึ่งสามารถหาประสบการณ์และความชำนาญได้ด้วยการหาความรู้เพิ่มเติมไปอีก เช่น ถ้าอ่านเรื่อง "รูปขันธ์" ในขันธบรรพะ พร้อมอรรถกถา-ฏีกาแล้ว ก็ควรอ่านขันธวารวรรค ในสังยุตตนิกาย, ขันธวิภังค์ ในวิภังคปกรณ์, ขันธนิทเทส ในวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส, การจำแนกขันธ์ที่มาในธัมมสังคณีปกรณ์, อภิธัมมัตถสังคหปกรณ์, อภิธัมมัตถวิภาวินีปกรณ์ เป็นต้น.
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 151 ⟶ 33:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
 
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด 4]]