ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดอยสุเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21:
}}
 
'''ดอยสุเทพ''' เป็นภูเขาสำคัญตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง[[เชียงใหม่]] อยู่ในพื้นที่[[อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย]] และยังเป็นที่ตั้งของ[[วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร]] ภายในวัดมีพระธาตุดอยสุเทพป็นพระเจดีย์สีทอง ด้านในพระเจดีย์บรรจุ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<ref>{{cite web |title=สัมผัสเสน่ห์ธรรมชาติ “อช. ดอยสุเทพ-ปุย” พร้อมไหว้ “พระธาตุดอยสุเทพ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่ |url=https://mgronline.com/travel/detail/9640000105280 |publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref> ดอยสุเทพเป็นส่วนหนึ่งของ[[ทิวเขาถนนธงชัย]]ด้านใต้สุด ยอดดอยมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,676 เมตร
 
ดอยสุเทพ เดิมมีชื่อว่าในตำนานเช่น '''ดอยอ้อยช้าง''' หรือ '''ดอยกาละ'''<ref>{{cite web |author1=สุรพล ดำริห์กุล |title=โบราณสถานสันกู่ ดอยปุย: พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระฤาษีวาสุเทพ ? |url=https://so02.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77235/61988 |publisher=วารสารวิจิตรศิลป์}}</ref> ชื่อดอยสุเทพมาจาก[[ฤๅษีวาสุเทพ]]ซึ่งเคยบำเพ็ญตบะอยู่ที่เขาลูกนี้เมื่อพันกว่าปีมาแล้ว แต่เดิมก่อนที่ป่าดอยสุเทพจะได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นป่าหวงห้าม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 ตอนที่ 28 ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2492 ต่อมาได้รับการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 124 ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2507 และได้มีมติคณะรัฐมนตรีประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติพิเศษเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2510 กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้จัดตั้งสถานีวนกรรมภาคเหนือขึ้นในพื้นที่บริเวณดอยสุเทพ<ref>{{cite web |title=พรรณไม้และสัตว์ป่า..ดอยสุเทพ-ดอยปุย และบึงบอระเพ็ด ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน |url=https://www.travelmart.co.th/wild-animal-wild-flower-doi-suthep-doi-pui-national-park-and-bueng-boraphet/}}</ref>
 
ทางด้านประวัติศาสตร์ดอยสุเทพเคยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ[[ชาวลัวะ]] กลุ่มคนพื้นเมืองเดิมที่เคยปกครองพื้นที่ในบริเวณนี้มาก่อนการสร้างเมืองเชียงใหม่ บริเวณเชิงดอยสุเทพมีกลุ่มวัดป่าที่มีมาตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นกลุ่มวัดฝ่ายอรัญวาสีของล้านนา จนกลายเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนานิกายป่าแดงในช่วงศตวรรษที่ 21<ref>{{cite web |author1=ชิษณุพงศ์ รุจิโรจน์วรางกูร |title=กลุ่มวัดป่าเชิงดอยสุเทพ : งานศิลปกรรมและบทบาททางสังคมของเมืองเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์มังราย |url=http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/14725/BA_Chitsanupong_Rujirojwarangkul.pdf?sequence=1&isAllowed=y |publisher=มหาวิทยาลัยศิลปากร}}</ref>