ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 110:
 
21. '''สัจจะบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วยการใช้สัมมาทิฏฐิในมรรคสัจหาเหตุเกิด (สมุทัยสัจ) และเหตุดับ (นิโรธสัจ) ของทุกข์. สัจจบรรพะในสูตรนี้แสดงละเอียดกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เพราะในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรกล่าวว่า"ผู้ฟังมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นคน" และ "ผู้ฟังมีทั้งบรรพชิตและฆราวาส" ฉะนั้น จึงมีคนที่ไม่เคยเรียนรู้เรื่องฌานรวมอยู่ด้วย จึงต้องแสดงสัจจบรรพะละเอียดกว่า ส่วนพระปัญจวัคคีย์นั้นตามพระโพธิสัตว์มานานจึงเคยทำฌานมาก่อนแล้ว เลยไม่ต้องแสดงมรรคสัจฝ่ายศีลและสมาธิอีก สมุทัยสัจและนิโรธสัจก็ไม่ต้องแสดงละเอียดเท่า เพราะข่มมาดีแล้วด้วยฌาน.
 
มีอรรถาธิบายไว้ว่า ขันธบรรพะ คือการขยายนาม หมายถึงการพิจารณานามให้ละเอียดขึ้นเป็นหลัก ดังนั้นขันธบรรพะ คือการแยกนามธาตุเป็นหลัก ว่านี่คือ เวทนา นี่คือสัญญา นี่คือสังขาร นี่คือวิญญาณ ซึ่งแตกต่างจากอายตนบรรพะ เพราะอายตนบรรพะคือการขยายรูปธาตุ ว่านี่คือรูป(ภาพ) นี่คือสัททะ(เสียง) นี่คือคันธะ(กลิ่น) นี่คือรสะ(รส) นี่คือโผฏฐัพพะ(สัมผัส) นี่คือธัมมารมณ์.
ดังนั้น ขันธบรรพะคือพิจารณานาม อายตนบรรพะคือพิจารณารูป
 
และนิวรณ์บรรพะ คือการรู้เท่าทันในสมาธิ เนื่องจากนิวรณ์คือกิเลสระดับกลางที่เกี่ยวข้องกับการสมาธิโดยตรง. โพชฌงคบรรพะ คือการรู้เท่าทันในปัญญา เพราะโพชฌงค์เป็นข้าศึกของอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสระดับละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาโดยตรง. สัจจะบรรพะคือการรู้เท่าทันในศีล เหตุว่าอริยสัจนั้น คือกระบวนการแก้ทุกข์ คือเมื่อเกิดทุกข์ เช่นหิว มีความกำหนัด ง่วง กลัว อยากขับถ่าย ก็หาสาเหตุเเห่งทุกข์ ลงมือทำเพื่อแก้ทุกข์ เหนียวตัว เช่น หาของกิน นอน กราบไหว้บนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ เข้าห้องน้ำ อาบน้ำ เเละอริยสัจเป็นสิ่งที่แก้ทาง[[อุปธิ]]ซึ่งเป็นกิเลสระดับหยาบซึ่งเกี่ยวกับศีลโดยตรง.
ดังนั้น สัจจบรรพะคือศีล นิวรณ์บรรพะคือสมาธิ โพชฌงคบรรพะคือปัญญา
 
==สมถวิปัสสนาของ 3 อาจารย์ไม่ขัดแย้งกัน==