ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tapranksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 84:
 
6-14. '''นวสีวถิกาบรรพะ''' - แสดงวิธีการทำกรรมฐานด้วย[[นวสี|สีวถิก]]หรือ ซากศพไว้ 9 วาระ. มหาอรรถกถาแนะนำว่า "บรรพะนี้เหมาะกับสมถยานิก" เพราะอารมณ์ของอสุภกรรมฐานที่ทำให้บรรลุโลกิยอัปปนาได้. และพระมหาสิวะได้กล่าวเสริมว่า "บรรพะนี้แสดงวิปัสสนา" ไว้ด้วย เพราะพระพุทธเจ้าทรงแสดงนวสีวถิกาไว้ด้วยสำนวนอาทีนวญาณ. สรุปว่า อารมณ์เหมาะกับสมถยานิก แต่ก็สามารถนำไปทำวิปัสสนาได้เช่นกัน.
 
มีอรรถาธิบายไว้ว่า ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ สองบรรพะนี้เป็นอารมณ์สำหรับพิจารณา ซึ่งแตกต่างจากบรรพะต่างๆนอกนี้ ที่ต่างเป็นอารมณ์สำหรับการมีสติกำหนดรู้เท่าทันสภาวะที่ปรากฎในปัจจุบัน แม้ธาตุมนสิการบรรพะจะเหมือนอารมณ์สำหรับพิจารณา แต่การกำหนดลักษณะธาตุ ว่านี่เย็น นี่ร้อน นี่ไหว นี่นิ่ง นี่แข็ง นี่อ่อน นี่ตึง นี่หย่อน ก็จัดว่าเป็นอารมณ์สำหรับการมีสติกำหนดรู้ทั้งสิ้น ยกเว้นธาตุน้ำที่เป็นอารมณ์สำหรับพิจารณา. ในสมัยแรกปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะเป็นกรรมฐานที่พระพุทธองค์ทรงให้บรรดาพระภิกษุสงฆ์พิจารณาให้มาก แต่ต่อมามีพระภิกษุบางรูปมีปัญญาน้อยหลงติดในอารมณ์ที่พิจารณาปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ จนรังเกียจร่างกายของตนเองว่าสกปรกจนอัตตวินิบาตตนเอง(ฆ่าตัวตาย)เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงให้พระภิกษุเปลี่ยนมามีสติกำหนดรู้ในอานาปานสติบรรพะและบรรพะอื่นๆที่เป็นอารมณ์แห่งการมีสติกำหนดรู้ให้มากแทนปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ แต่แม้กระนั้น ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ ก็เป็นกรรมฐานที่ทำให้ผู้พิจารณาบรรลุมรรคผลนิพพานได้ เช่นเดียวกับบรรพะอื่นๆ จึงจัดให้ปฎิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะเป็นส่วนหนึ่งของมหาสติปัฎฐานเช่นเดิม ดังมีปรากฎในพระสูตร เช่นเรื่องพระภิกษุพิจารณาเส้นผมที่เพิ่งปลงเมื่อกอกบวชจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เรื่องพระนางรูปนันทาพิจารณารูปเนรมิตของหญิงสาวจากเด็กสาวจนการเป็นซากศพจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ เรื่องพระภิกษุที่หลงในรูปอันงดงามของนางสิริมา แต่เมื่อได้เห็นศพของสิริมาก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นต้น.
 
===เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน===