ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสาน ศิลป์จารุ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Prasan Silpajaru.jpg|180px|thumb|ประสาน ศิลป์จารุ|alt=ผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช เป็นคนแรก เมื่อปี 2520]]
 
นาย'''ประสาน ศิลป์จารุ''' (ทองแป๊ะ สินจารุ) ผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหารา[[ประสาน ศิลป์จารุ|ช]] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นายกสมาคมนักจัดรายการข่าววิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ / ที่ปรึกษาศูนย์กิจการลูกเสือชาวบ้าน ในพระบรมราชูปถัมภ์ / อดีตศิลปินตลกยุคแรกของไทยที่รู้จักกันดี "ทองแป๊ะ" ซึ่งแสดงร่วมกับ ทองฮ๊ะ ทองแถม ดอกดิน ก๊กเฮง สมพงษ์ บังเละ เป็นต้น / ท่านคือผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราชตั้งแต่สมัยแรกเมื่อปี 2520 ซึ่งครั้งแรกยังใช้ชื่อว่า งาน "วันร่มเกล้าชาวประชา" / ปัจจุบันท่านยังทำรายการทีวี โดยเป็นผู้ดำเนินรายการ ร่วม คุณเก่งกาจ จงใจพระ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี2 ชื่อรายการ "ขิงแก่ กรุงสยาม" และรายการ "อโรคยา" / และอดีตท่านยังเป็นนักพากษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอีกด้วย ปัจจุบัน ท่านทำรายการชื่อรายการ "เซียนสยาม" โดยกลับมาใช้ชื่อ "ทองแป๊ะ ศิลป์จารุ ร่วมกันจัดกับ ศรีไพร ใจพระ (หรือเก่งกาจ จงใจพระ) โดยเป็นการทำรายการในลักษรณะให้ความรู้เรื่องเก่าๆเก่า ๆ ที่เป็นประโยชน์ บอกเล่าความเป็นไปในอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบต่อไป (ท่านสามารถพิมพ์ในกูเกิลว่า "เซียนสยาม" หรือ "ทองแป๊ะ ศิลป์จารุ" เพื่อดูบันทึกเทปรายการย้อนหลังได้ในยูทูป)
 
ประวัติ
บรรทัด 25:
การเข้าสู่วงการนักพากย์ เพราะในเรื่องสามก๊กที่ได้เล่นด้วยนั้น หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร ซี่งเป็นนักพากย์ในยุคนั้น ท่านแสดงเป็นลิโป้ จึงได้รู้จักกัน ประกอบกับยุคภาพยนตร์ในสมัยนั้น เรียกว่าภาพยนตร์ 16 ม.ม. ต้องใช้ผู้พากย์เป็นหลัก และต้องมีการแสดงละครย่อย ก่อนคณะ "เสน่ห์ศิลป์" จึงได้มีเวลาที่จะทำการพากย์หนัง 16 ม.ม. ร่วมกับหม่อมหลวงรุจิราฯ พร้อมกันกับการแสดงละคร ที่ศาลาเฉลิมบุรี รวมระยะเวลายาวนานถึง 5 ปี
 
ประสาน ศิลป์จารุ หรือชื่อเดิม ทองแป๊ะ สินจารุ เป็นศิลปินอาวุโสในวงการบันเทิง และเป็นศิลปินตลกยุคแรกของไทย และท่านยังเป็นนักจัดรายการวิทยุชื่อดังมากสมัยก่อนที่สถานีเสียงวรจักร เป็นคนแรกที่นำเพลงลูกทุ่งมาเปิดในสถานีวิทยุจนเพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับ และมีการพัฒนามากจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งท่านยังเป็นโต้โผวงดนตรีชื่อดัง เป็นผู้นำในการจัดงานไหว้ครูยุคแรกๆแรก ๆ ที่วังสราญรมย์ ท่านได้เชิญครูบุญยงค์ นักระนาดชื่อดัง มาเป็นเจ้าพิธีในงาน จนเป็นที่โด่งดังและยอมรับของเหล่าบรรดาคนในวงการศิลปิน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของการไหว้ครูเหล่าศิลปินมาจนถึงยุคปัจจุบันก็ว่าได้ และท่านยังเป็นผู้หนึ่งในการนำการจัดงานแสดงดนตรี ประชันดนตรีไทย ที่วัดพระพิเรนทร์ และร่วมเป็นคณะกรรมการในการตัดสินด้วย ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในวงการบันเทิงเป็นอย่างยิ่ง เคยเล่นละครในคณะที่โด่งดังสมัยก่อน คือ “คณะอัศวินการละคร” ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และใช้ชื่อในการแสดงว่า ทองแป๊ะ ตั้งแต่นั้น ดาราตลกที่มีชื่อเสียงในรุ่นนี้มี ดอกดิน กัญญามาลย์ , ทองฮ๊ะ , ทองแถม , บังเละ , อบ บุญติด ,มารศรี อิศรางกูร ณ อยุธยา ,ล้อต๊อก ,สมพงษ์ พงษ์มิตร ,สาหัส บุญหลง,ชูศรี โรจนประดิษฐ์ ,พูนสวัสดิ์ ธีมากร ฯลฯ และท่านยังเป็นที่เคารพรักของศิลปินลูกทุ่งอย่างเช่นคุณสุรพล สมบัติเจริญ อย่างยิ่ง สมัยก่อนนั้นท่านก็เป็นโฆษกแทบทุกงานจึงมีโอกาสเกื้อหนุนคุณสุรพลเป็นอย่างมาก และท่านยังเป็นผู้อนุรักษ์เพลงลูกทุ่งให้อยู่คู่ฟ้าเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งท่านยังเคยเป็น "ประธานชมรมนักแสดงตัวประกอบไทย" คนแรก โดยได้ริเริ่มการนำศิลปินอาวุโส มาจัดงานเชิดชูเกียรติ จนได้รับคำชื่นชมเรื่องความกตัญญูเป็นอย่างมาก อีกทั้งท่านยังเคยเป็นประเอกแสดงละครอยู่ช่วงหนึ่งที่ศาลาเฉลิมนคร เรื่องที่ดังมาในสมัยนั้นคือ "เรื่องใจบุญนางบาป" สำหรับในเรื่องการจัดรายการวิทยุนั้น ท่านได้พูดปลุกใจปลุกกระแสให้คนไทย หันมารักและหวงแหนเพลงลูกทุ่งตลอดเวลาที่มีโอกาส ท่านจะเป็นที่รู้จักกันที่ในชื่อนักจัดรายการที่ว่า “ทองแป๊ะ สินจารุ” ท่านเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบในการจัดรายการเป็นอย่างมาก จะไม่มีการพูดจาให้เสื่อมเสียต่อชาติบ้านเมือง ท่านจะพูดปลุกใจให้คนไทยรักชาติ หวงแหนในศิลปวัฒนธรรมไทย โดยไม่มีการเลือกพรรคเลือกพวก หากเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติแล้วนั้น ท่านจะเป็นผู้นำที่จะมาเตือนสติชาวไทยในทุกโอกาส
ในชีวิตของท่านนั้น ได้ทำคุณประโยชน์ต่อวงการวิทยุโทรทัศน์เป็นอย่างมาก ทั้งการรณรงค์ให้พูดภาษาไทยที่ถูกต้องในการจัดรายการ และการมีจิตสำนึกในการจัดรายการ จะต้องเป็นกลางและไม่พูดจาเลื่อนลอย แม้ว่าท่านจะไม่ได้มีการศึกษาที่สูงเช่นคนอื่นๆ แต่เมื่อถึงคราวการสอบเป็นผู้ประกาศข่าวของกรมกระชาสัมพันธ์ ท่านก็ไม่ได้ใช้อภิสิทธิ์ใดๆใด ๆ และทำการสอบเฉกเช่นเดียวกันกับคนอื่นๆอื่น ๆ นับร้อยๆร้อย ๆ คนในคราวนั้น ผลออกมาว่าท่านสอบได้ที่ 1 ชนะคนที่จบปริญญาตรงสาขาได้ทั้งหมด จากการสอบเพียงครั้งเดียว ทำให้ได้เห็นว่าการดำรงตนและฝึกฝนในการใช้ภาษาไทยของท่านนั้น มีมาตรฐานจริง
 
งานการแสดงภาพยนตร์ (เท่าที่สืบค้นได้)
บรรทัด 40:
งานลูกเสือชาวบ้าน
 
ท่านได้เข้าไปช่วยเหลือกิจการต่างๆต่าง ๆ ของลูกเสือชาวบ้าน อย่างเต็มความสามารถ ซึ่งท่านได้ช่วยงานมานานแล้วควบคู่กันไปกับการทำรายการวิทยุโทรทัศน์ของท่าน จนท่านได้รับคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานลูกเสือชาวบ้านกรุงเทพมหานคร ถึง 2 สมัย ซึ่งถือได้ว่าตำแหน่งนี้จะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับจากคนในวงกว้างขวางจริงๆ เพราะลูกเสือชาวบ้านกรุงเทพฯ มีทั้งอดีตข้าราชการระดับสูงมากจนถึงระดับธรรมดา และยังมีพ่อค้าวานิชที่มีฐานะอีกเป็นจำนวนมากเข้าร่วม ได้พร้อมใจกันยกให้ท่านเป็นประธาน ทั้งๆทั้ง ๆ ที่ท่านไม่ได้เป็นผู้ที่มีฐานะร่ำรวย และทุกคนก็ยังพร้อมใจกันยกให้ท่านเป็นประธานในครั้งนั้นถึง 2 สมัย และท่านยังทำผลงานในกิจการลูกเสือจนได้รับพระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์ลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ 1 จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิชาวไทยเชื้อสายจีนที่เยาวราช
 
เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช
 
ท่านเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างสูงมาโดยตลอด ได้เข้าร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติอยู่เสมอ จนในที่สุด ท่านได้ริเริ่มจัดงาน "วันร่มเกล้าชาวประชา" ขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2520พ.ศ. 2520 ณ วังสราญรมย์ เพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ การจัดงานในครั้งนั้น ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง มีประชาชนเข้าร่วมงานถึง 1 แสนกว่าคน (วัดจากการเก็บบัตรผ่านประตูเข้างาน คนละ 5 บาท ได้เงินถึง 5 แสนบาท ไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ ต่อไป) จากความสำเร็จดังกล่าว ท่านได้ริเริ่มดำเนินการที่จะถวายสมัญญา "มหาราช" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 โดยเชิญข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ มาร่วมแสดงความเห็น ทั้งในภาครัฐบาล และเอกชน หลังจากที่ได้ร่วมประชุมกันหลายครั้ง ที่ประชุมมีความเห็นว่าจะยังไม่มีการถวานสมัญญานาม แต่จะจัดงานเตรียมการถวายกันก่อน โดยตั้งชื่องานว่า "5 ธันวามหาราช" กำหนดจัดงานระหว่างวันที่ 3 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 เป็นผลให้มีการจัดงานในปีต่อๆ มาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน /// สำหรับการจัดงาน 5 ธันวามหาราช นั้น ในงานจะจัดให้มีการฉายภาพยนตร์ 100 จอ จัดชกมวยไทยกว่าร้อยคู่ในแต่ละครั้ง และมหรสพอื่นๆ อีกมากมาย โดยใช้สนามหลวงเป็นสถานที่จัดงานตลอดมา และโอกาสต่อมา มีผู้เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการเพิ่มขึ้น การดำเนินงาน 5 ธันวามหาราช จึงได้พัฒนาจัดตั้งเป็น "มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช" ในเวลาต่อมา โดยมีคุณหญิงนงนุช จิรพงศ์ เป็นประธานมูลนิธิคนแรก และคุณหญิงวิจิตรา ดิษยะศริน เป็นประธานคนที่สอง และเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน / และในสมัยที่ท่านช่วยงานมูลนิธิ 5 ธันวามหาราชนั้น ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมทำโครงการต่างๆต่าง ๆ มากมาย อาทิ การทำโครงการจัดสร้างระฆังคู่ในหลวงพระราชินี ถวายในโอกาสครองคู่อย่างยาวนาน การเดินขบวนถวายพานพุ่มทีพระตำหนักสวนจิตรลดา และการจัดงานมหรสพที่ท้องสนามหลวงที่ยิ่งใหญ่ จนเป็นต้นแบบของการจัดงานมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ท่านก็ยังถ่อมตัวว่าท่านเป็นผู้อยู่เบี้องหลังเท่านั้น ความสำเร็จจะไม่เกิดขึ้นได้ถ้าคนไทยไม่ร่วมมือกัน
 
เป็นผู้ริ่เริ่มให้ประพันธ์เพลง "พระภูมิพลมหาราช" ในปี 2522
 
โดย นายประสาน ศิลป์จารุ ได้ริเริ่มมอบหมายให้นายศักดิ์เกษม หุตาคม หรือ "อิงอร" ร่วมกับนายมงคล อมาตยกุล ทำการประพันธ์เพลง "พระภูมิพลมหาราช" ขึ้น เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์อีกทางหนึ่ง
 
ปี 2528 ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ประกาศว่ารัฐบาลจะจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสพระชนมายุชนมพรรษาครบ 60 พรรษา ในปี 2530 ทางคณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญ นายพิศาล มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานอำนวยการจัดงาน 5 ธันวามหาราช ปี 2528 และให้นายประจวบ จำปาทอง เป็นประธานจัดงาน กระทั่งปี 2529 นายพิศาล มูลศาสตรสาทร ได้ทำการสำรวจประชามติประชากรกว่า 40 ล้านคนในสมัยนั้น เพื่อขอความคิดเห็นในกรณีที่จะถวายสมัญญานาม "มหาราช" แด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผลปรากฏว่า ประชาชน 34 ล้านคน เห็นควรถวายพระนาม "พระภูมิพลมหาราช" อีก 6 ล้านคน เห็นควรถวายพระนาม "พระภัทรมหาราช" และพระนามอื่นๆอื่น ๆ อีกเล็กน้อย จนกระทั่งวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศถวายสมัญญานาม "พระภูมิพลมหาราช" ในท่ามกลางสันนิบาตรสโมสร เป็นที่ปลื้มปิติแด่ประชาชนชาวไทยทั้งมวล
 
ปี 2531 รับรางวัล "สังข์เงิน" จาก ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี สาขา เทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์
ทางสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาคมที่พิจารณามอบรางวัลต่างๆต่าง ๆ ให้กับบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในทุกสาขาอาชีพ ซึ่งมีอดีตนายกรัฐมนตรี และผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง เคยได้รับรางวัลนี้มาตั้งแต่ปี 2518 โดยพิจารณาปีละ 5 ถึง 6 คน เข้ารับรางวัลจากนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาแล้วเห็นสมควรเพิ่มสาขาขึ้นอีก 1 สาขา คือ สาขาเทิดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ และมอบให้ นายประสาน ศิลป์จารุ ได้รับรางวัลสังข์เงินนี้ จาก ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2531 ซึ่งปัจจุบันได้เป็นปึกแผ่นในทุกวันนี้ จนส่งผลให้ท่านได้รับรางวัล “สังข์เงิน” สาขา “เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์” จาก ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น นับเป็นเกียรติประวัติอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนไทยอย่างเต็มตัวและหัวใจที่มีจิตเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างจริงใจ เสียสละ และไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย (หลักฐานชิ้นนี้ทำให้ได้ทราบโดยแท้จริงว่า ท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช คนแรกตัวจริง เพราะเป็นหลักฐานสูจิบัตร และรางวัลสังข์เงินที่ได้รับจากพลเอกเปรมฯ เพียงท่านเดียว ที่ทางรัฐบาลได้ยกย่องท่านไว้)
 
การดำรงตนตลอดชีวิตที่ผ่านมา ท่านยังไม่หยุดทำคุณประโยชน์ให้กับวงการศิลปิน และวงการบันเทิงของเมืองไทย ท่านยังเป็นผู้ที่จัดรายการ “นายมั่น นายคง” ต่อมาเป็นรายการ “ขิงแก่ กรุงสยาม” และปัจจุบันพัฒนามาเป็นรายการ "เซียนสยาม" ซึ่งรายการเซียนสยาม เป็นรายการที่จะขุดคุ้ยเรื่องเก่าๆเก่า ๆ ที่คนในสังคมไทยนั้นอาจจะลืมกันไปแล้ว หรือว่าบ้างคนอาจจะเกิดไม่ทัน นำกลับมาคุยกันใหม่ เพื่อไม่ให้สิ่งเหล่าานั้นต้องหายไปกับกาลเวลา กับผู้ดำเนินรายการที่รวมอายุกันแล้วเกือบ 200 ปี โดยอาจารย์ประสาน ศิลป์จารุ (นายมั่น) และ อาจารย์เก่งกาจ จงใจพระ (นายคง) รับชมได้ทาง Five Channel HD (PSI ช่อง 51, GMMz ช่อง 203, BIG4 ช่อง 194,True ช่อง 170, DTV ช่อง 52, IPM ช่อง 185, Dynasat ช่อง 154 หรือชมผ่านแอพลิเคชั่น MVTV หรือ [http://www.mvtv.co.th/ www.mvtv.co.th])
 
ปัจจุบันนี้ ท่านยังทำหน้าที่ของท่านในงานลูกเสือชาวบ้าน งานนักจัดรายการข่าววิทยุ โทรทัศน์ และงานสังคมต่างๆต่าง ๆ อย่างเต็มกำลัง โดยหวังเพียงว่าให้คนไทยหันมาตระหนักถึงชาติบ้านเมืองเป็นสำคัญ
ปัจจุบัน แม้ท่านจะมีอายุเกือบ 90 ปีแล้ว ท่านยังได้รับการยอมรับจากนักจัดรายการต่างๆต่าง ๆ ให้ท่านดำรงตำแหน่ง “นายกสมาคมนักจัดรายการข่าววิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์” ซึ่งมีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ทำวิชาชีพในด้านนี้ เพราะต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางให้ได้ในสภาวการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาลูกเสือชาวบ้าน และมูลนิธิการกุศลอีกหลายแห่ง นับเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์เพื่อชาติบ้านเมืองอย่างแท้จริง
 
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 0900 ทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้เชิญท่านไปออกรายการ "แสงจากพ่อ" เพื่อเปิดเผยว่าท่านเป็นผู่ริเริ่มจัดงาน 5 ธันวามหาราช ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปี เพราะท่านไม่เคยไปบอกใครเลยว่าท่านเป็นเบื้องหลังมานานถึง 40 ปี (สามารถก๊อปปี้ลิงก์ไปกดดูคลิบได้ที่ลิงก์นี้ <nowiki>https://www.youtube.com/watch?v=xJ1WqUOUAsM</nowiki>)
 
สำหรับไฟล์ภาพ และหลักฐานต่างๆต่าง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ใน เฟสบุ้คของท่าน ชื่อ "ประสาน ศิลป์จารุ"
 
เกียรติคุณที่ได้รับ
 
- รับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่9บรมนาถบพิตร
 
[[หมวดหมู่:พิธีกรไทย]]