ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โกโต โชจิโร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
บรรทัด 22:
หลังจาก [[การฟื้นฟูเมจิ]] โกโตได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง รวมทั้งตำแหน่งผู้ว่าการจังหวัด [[โอซากะ]] และสมาชิกสภา แต่ต่อมาได้ออกจากรัฐบาลเมจิในปี ค.ศ. 1873 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อเกาหลี (เช่น การอภิปรายเซคันรอน) เขาร่วมกับ [[อิตางากิ ไทซูเกะ]] โดยได้ยื่นข้อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง ในปี ค.ศ. 1874 เขาร่วมกับ Itagaki Taisuke และ Eto Shinpei และ Soejima Taneomi จากจังหวัด Hizen ได้ก่อตั้ง Aikoku Koto (พรรคมหาชนผู้รักชาติ) โดยประกาศว่า "พวกเรา ผู้คนในญี่ปุ่นสามสิบล้านคนได้รับสิทธิที่แน่นอนเท่าเทียมกัน ซึ่งในจำนวนนั้นได้แก่ การปกป้องชีวิตและเสรีภาพ การได้มาและการครอบครองทรัพย์สิน การดำรงชีวิตและการแสวงหาความสุข สิทธิเหล่านี้เป็นไปตามธรรมชาติที่มอบให้กับมนุษย์ทุกคน ดังนั้น จึงไม่สามารถพรากไปได้ด้วยอำนาจของมนุษย์คนใด" ท่าทีต่อต้านรัฐบาลเช่นนี้ดึงดูดชนชั้นซามูไรและขุนนางในชนบทท (ที่ไม่พอใจการเก็บภาษีแบบรวมศูนย์) และชาวนา (ที่ไม่พอใจกับสินค้าที่มีราคาแพงและค่าแรงต่ำ)
 
หลังจาก [[การประชุมโอซากะ 1875]] เขากลับเข้าร่วมรัฐบาลช่วงสั้น ๆ โดยเข้าร่วมใน [[เก็นโรอิง]] หรือ วุฒิสภา. เขาได้บริหารเหมืองถ่านหินใน [[คิวชู]] (เหมืองถ่านหินทากาชิมะ) แต่พบว่าเป็นการสูญเสียเงิน ทรัพยากร และเวลา เขาจึงขายธุรกิจของเขาให้ [[อิวาซากิ ยาตาโร]] ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท [[มิตซูบิชิ]]
 
ใน ค.ศ. 1881 เขากลับเข้าสู่การเมืองด้วยการช่วยอิตางากิก่อตั้ง [[พรรคเสรีนิยม (ญี่ปุ่น)|พรรคเสรีนิยม]]