ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Patcha007 (คุย | ส่วนร่วม)
FrameHotep (คุย | ส่วนร่วม)
เหตุการณ์กบฏญี่ปุ่น
บรรทัด 19:
|}}
 
'''สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม''' หรือ '''สมเด็จพระบรมราชาที่ 1''' หรือ '''สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงธรรมอันมหาประเสริฐ'''<ref name="เจิม">{{อ้างหนังสือ| ผู้แต่ง = | ชื่อหนังสือ = พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น | จังหวัด = นนทบุรี| พิมพ์ที่ = ศรีปัญญา|ปี=2553|ISBN=978-616-7146-08-9|จำนวนหน้า=800|หน้า=261-4}}</ref> เป็นพระมหากษัตริย์แห่ง [[กรุงศรีอยุธยา]] ระหว่างปี พ.ศ. 2153/54 ถึง พ.ศ. 2171 แห่ง [[ราชวงศ์สุโขทัย]] รัชสมัยของพระองค์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาหลังจากได้รับเอกราชจาก [[อาณาจักรตองอู]] หลังรัชสมัยของ [[พระเจ้าบุเรงนอง]] และได้เห็นการเริ่มต้นการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวดัตช์และญี่ปุ่น พระเจ้าทรงธรรมทรงบรรจุทหารรักษาพระองค์ด้วยทหารรับจ้างชาวต่างชาติ โดยเฉพาะที่โดดเด่นที่สุดคือชาวญี่ปุ่นนาม [[ยามาดะ นางามาซะ]] หรือ [[ออกญาเสนาภิมุข]] เจ้ากรมทหารอาสาญี่ปุ่น
| ปี = 2553| ISBN = 978-616-7146-08-9| จำนวนหน้า = 800| หน้า = 261-4}}</ref> เป็นพระมหากษัตริย์แห่ง [[กรุงศรีอยุธยา]] ระหว่างปี พ.ศ. 2153/54 ถึง พ.ศ. 2171 แห่ง [[ราชวงศ์สุโขทัย]] รัชสมัยของพระองค์แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยาหลังจากได้รับเอกราชจาก [[อาณาจักรตองอู]] หลังรัชสมัยของ [[พระเจ้าบุเรงนอง]] และได้เห็นการเริ่มต้นการค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะชาวดัตช์และญี่ปุ่น พระเจ้าทรงธรรมทรงบรรจุทหารรักษาพระองค์ด้วยทหารรับจ้างชาวต่างชาติ โดยเฉพาะที่โดดเด่นที่สุดคือชาวญี่ปุ่นนาม [[ยามาดะ นางามาซะ]] หรือ [[ออกญาเสนาภิมุข]] เจ้ากรมทหารอาสาญี่ปุ่น
 
== พระราชประวัติ ==
เส้น 29 ⟶ 28:
 
ตอนปลายรัชสมัยของพระองค์ ขณะที่พระองค์ประชวรหนัก มีพระราชประสงค์จะมอบราชสมบัติให้พระราชโอรสองค์ใหญ่ คือ พระเชษฐาธิราชกุมาร โดยทรงมอบให้[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง|ออกญาศรีวรวงศ์]] จางวางมหาดเล็ก ซึ่งเป็นพระญาติที่ไว้วางพระทัยเป็นผู้ดูแลพระเชษฐาธิราชจนกว่าจะได้ครองราชย์ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองราย์ได้ 17 ปี จึงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2171 ซึ่งเป็นวันที่ชาว[[ฮอลันดา]]ได้บันทึกไว้
 
== ครองราชสมบัติ ==
 
=== กบฏญี่ปุ่น ===
เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายในอยุธยา ได้ถูกเสนาบดีไม่ได้ความเป็นธรรมในการค้าขาย ญี่ปุ่นจึงไม่พอใจและวางแผนคิดจะบุกพระราชวังและปลงพระชนม์พระเจ้าทรงธรรม พวกญี่ปุ่นจึงได้คุมพลประมาณ 500 คน แล้วยกพลเข้ามาในสนามหลวงเพื่อจะคุมตัว พระเจ้าอยู่หัว ขณะที่พระเจ้าทรงธรรมทรงออกมาฟังพระสงฆ์บอกหนังสือ ณ พระที่นั่งจอมทองสามหลังภายใน[[วัดพระศรีสรรเพชญ์|วัดพระศรีสรรเพชญ]] ขณะนั้นมีภิกษุ[[วัดประดู่ทรงธรรม|วัดประดู่โรงธรรม]]เข้ามา 8 รูป พาเอาพระเจ้าทรงธรรมเสด็จออกมาต่อหน้าญี่ปุ่น เมื่อพาตัวออกไปแล้วญี่ปุ่นก็ร้องว่า''"จะกุมเอาพระองค์แล้วเป็นไรจึงนิ่งเสียเล่า"'' พรรคพวกญีปุ่นต่างก็ทุ่มเถียงกันเป็นโกลาหล แสดงถึงความเก่งกาจของอิทธิฤทธิ์ของพระวัดประดู่โรงธรรม ที่สามารถนำพระเจ้าทรงธรรมออกมาโดยที่ญี่ปุ่นนิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้
 
เมื่อฝ่าย[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง|พระมหาอำมาตย์]]คุมพลมาปราบญี่ปุ่นสงบเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าทรงธรรมจึงให้เป็น '''เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์''' พร้อมพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นอันมาก และพระราชทานถวายกัปปิยจังหันแก่พระสงฆ์วัดประดู่โรงธรรมเป็นนิจ<ref>{{อ้างหนังสือ|ชื่อหนังสือ=พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ,คำให้การคำกรุงเก่า, คำให้การขุนหลวงหาวัด|พิมพ์ที่=ศรีปัญญา|จำนวนหน้า=800|หน้า=262}}</ref>
 
'''''คำให้การชาวกรุงเก่า''''' ได้ให้รายละเอียดที่แตกต่างคือ พ่อค้าญี่ปุ่นที่เข้ามาขายในอยุธยาลำหนึ่ง ถูกอำมาตย์ทุจริตอ้างว่าพระเจ้าแผ่นดินให้ซื้อสิ่งของต่างๆแล้วจ่ายเงินแดงแก่ญี่ปุ่น พ่อค้าญี่ปุ่นไม่ทันได้พิจารณา เมื่ออำมาตย์ไปแล้วพ่อค้าญี่ปุ่นจึงเอาเงินออกมาดูพบว่าเป็นเงินแดงจึงโกรธว่า พระเจ้าแผ่นดินไม่ได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงใช้ญี่ปุ่นมีฝีมือ 4 คนซ่อนอาวุธลอบเข้าไปในพระราชวัง เมื่อพระเจ้าทรงธรรมเสด็จบอกพระปริยัติธรรมพระสงฆ์อยู่นั้น ญี่ปุ่น 4 คนได้เข้าไปพระราชวังหวังทำร้ายพระเจ้าทรงธรรม แต่ด้วยบุญญาบารมีของพระเจ้าทรงธรรมทำให้ชักอาวุธไม่ออก ข้าราชการเห็นมีพิรุธก็พาจับญี่ปุ่น พระเจ้าทรงธรรมจึงซักถามถึงสาเหตุที่ก่อการและสืบสวนถึงอำมาตย์ที่ทุจริตนั้น แล้วจึงพระราชทานเงินดีแก่นายสำเภาญี่ปุ่นและปล่อยพวกญี่ปุ่นพร้อมไม่ถือเอาโทษ<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=|ชื่อหนังสือ=คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงหาวัด และ พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ|จังหวัด=กรุงเทพมหานคร|พิมพ์ที่=คลังวิทยา|ปี=2510|ISBN=|จำนวนหน้า=472|หน้า=101}}</ref>
 
== พระราชกรณียกิจ ==
 
=== ด้านพระพุทธศาสนา ===
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงเป็นนักปราชญ์ รอบรู้ในวิชาการหลายด้าน มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงประพฤติราชธรรมอย่างมั่นคง เป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาราษฎรและชาวต่างชาติ พระกรณียกิจส่วนใหญ่ของพระองค์ มุ่งส่งเสริมทำนุบำรุง[[ศาสนาพุทธ]]ในด้านต่าง ๆ เช่น โปรดเกล้าฯ ให้คัดลอก[[พระไตรปิฎกภาษาบาลี]]ฉบับสมบูรณ์เป็นจำนวนมาก ทรงให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่ง[[มหาชาติคำหลวง]]ถวาย นับเป็นวรรณคดีชิ้นสำคัญของสมัยอยุธยา ได้มีผู้พบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสุวรรณบรรพต แขวงเมือง[[สระบุรี]] พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปครอบรอบพระพุทธบาท พร้อมทั้งสร้างพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ กับกุฏิสงฆ์ ถวายให้เป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา [[พระพุทธบาทสระบุรี]]จึงมีความสำคัญ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่นั้นมาตราบถึงปัจจุบัน