ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์) / Thanon Sukhumvit 71 (Pridi Banomyong)''' เป็นถนนสายหนึ่งใน[[กรุงเทพมหานคร]] มีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจาก[[ถนนสุขุมวิท]]ที่สามแยกสุขุมวิทในแขวงพระโขนงเหนือ [[เขตวัฒนา]] มุ่งไปทางทิศเหนือ เมื่อถึงปากซอยปรีดี พนมยงค์ 26 (พัฒนเวศม์) จึงเริ่มเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงพระโขนงเหนือกับแขวงคลองตันเหนือ จนกระทั่งผ่านปากซอยปรีดี พนมยงค์ 25 (เจริญมิตร) จึงเข้าแขวงคลองตันเหนือ ไปทางทิศเดิม ข้าม[[คลองตัน]]เข้าพื้นที่แขวงสวนหลวง [[เขตสวนหลวง]] และไปสิ้นสุดที่[[สี่แยกคลองตัน]] ซึ่งเป็นจุดบรรจบระหว่าง[[ถนนเพชรบุรี]] [[ถนนพัฒนาการ]] และ[[ถนนรามคำแหง]]
 
ถนนนี้เดิมคือซอยสุขุมวิท 71 สร้างในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ประมาณปี [[พ.ศ. 2485]]-[[พ.ศ. 2486|2486]] เทศบาลนครกรุงเทพได้รับมอบมาจากแขวงการทางกรุงเทพ (หน่วยงานของ[[กรมทางหลวง]]) เมื่อปี [[พ.ศ. 2503]]<ref name="กนกวลี ชูชัยยะ">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 142392-393.</ref> โดยกรมทางหลวงเรียกซอยนี้ว่า "ทางสายพระโขนง-คลองตัน (ซอยปรีดี)" และต่อมาคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย และสะพานได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า '''ถนนสุขุมวิท 71''' เมื่อปี [[พ.ศ. 2513]]<ref name="กนกวลี ชูชัยยะ"/>
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2542]] สำนักงานเขตวัฒนาโดยคณะกรรมการพิจารณาตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย และสะพานในพื้นที่เขตวัฒนาได้มีมติให้ตั้งชื่อถนนสุขุมวิท 71 ว่า '''ถนนสุขุมวิท 71 (ปรีดี พนมยงค์)'''<ref name="กนกวลี ชูชัยยะ"/> เพื่อเป็นเกียรติแก่นายปรีดี พนมยงค์ [[รัฐบุรุษอาวุโส]] [[ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์]]ใน[[รัชกาลที่ 8]] [[นายกรัฐมนตรี]]คนที่ 7 หัวหน้า[[ขบวนการเสรีไทย]] และผู้นำพลเรือนใน[[คณะราษฎร]] เพื่อสดุดีเกียรติคุณของท่านในฐานะบุคคลสำคัญของชาติ และในวาระที่[[องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ]]หรือยูเนสโก (UNESCO) ประกาศให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี [[พ.ศ. 2543]] ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100 ปีชาตกาลของท่าน และในฐานะที่ปรีดี พนมยงค์ ได้สั่งการให้สร้างถนนเส้นนี้ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยกรุงเทพมหานครได้อนุมัติให้ใช้ชื่อดังกล่าวเมื่อปี [[พ.ศ. 2545]]<ref name="กนกวลี ชูชัยยะ"/>