ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องโทรทรรศน์อวกาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ILikelargeFries (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Maytarsit (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
== กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ==
กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยยาน STS-93 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 และพร้อมปฏิบัติภารกิจในปี ค.ศ. 2014
== กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ==
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (อังกฤษ: James Webb Space Telescope; JWST) เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์การนาซา องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และองค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีเป้าหมายเพื่อสืบทอดภารกิจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการเป็นภารกิจฟิสิกส์ดาราศาสตร์หลักของนาซา[6][7] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 2021 มันสามารถสังเกตภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดด้วยความคมชัดและความไวแสงมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นอกจากนี้ มันสามารถสังเกตวัตถุและเหตุการณ์ที่ห่างไกลในเอกภพได้ด้วย เช่น การกำเนิดและวิวัฒนาการของดาราจักร และลักษณะชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์นอกระบบ เป็นต้น
{{Infobox spaceflight
| name = กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์<br/>{{nobold|<small>James Webb Space Telescope<small/>}}
| names_list = Next Generation Space Telescope (NGST; 1996–2002)
| image = [[ไฟล์:JWST spacecraft model 2.png|frameless|upright=0.8]]
| image_caption = ภาพจำลองกล้องโทรทัศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
| image_upright = <!-- Use this parameter to scale the image, instead of the deprecated "image_size"; see WP:IMGSIZE. -->
 
| mission_type = [[กล้องโทรทรรศน์อวกาศ|ดาราศาสตร์]]
| operator = [[NASA]]{{\}}[[องค์การอวกาศยุโรป]]{{\}}[[องค์การอวกาศแคนาดา]]{{\}}[[สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ]]<ref name="jwstPartners">{{cite web |url=https://www.jwst.nasa.gov/faq.html#partners|title=NASA JWST "Who are the partners in the Webb project?"|publisher=NASA|access-date=18 November 2011}} {{PD-notice}}</ref>
| COSPAR_ID =
| SATCAT =
| website = {{URL|https://webbtelescope.org}}
| mission_duration = 10 ปี (ขั้นต่ำตามแผน)
 
| manufacturer = {{Unbulleted list|[[นอร์ทธรอป กรัมแมน]]|บริษัทเทคโนโลยีการบินและอวกาศบอล}}
| launch_mass = 6161.4 กิโลกรัม<ref>{{cite tweet |last=Clark |first=Stephen |user=StephenClark1 |number=1473999069706129419 |title=The exact launch mass of the James Webb Space Telescope: 6161.4 kilograms. That figure includes 167.5 kg of hydrazine and 132.5 kg of dinitrogen tetroxide for the propulsion system. |date=23 December 2021 |access-date=23 December 2021}}</ref>
| dimensions = {{cvt|20.197|x|14.162|m}}, ฉากกันแสงอาทิตย์
| power = 2 [[watt|kW]]
 
| launch_date = 25 ธันวาคม 2021, 12:20 [[เวลาสากลเชิงพิกัด|UTC]]<ref name="NASA-20211221"/>
| launch_rocket = อารีอาน 5 ECA (VA256)
| launch_site = ศูนย์อวกาศเกียนา, ELA-3
| launch_contractor = อารีอานสเปซ
 
| entered_service =
| deactivated =
| last_contact =
| decay_date =
 
| orbit_reference = จุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์
| orbit_regime = วงโคจรฮาโล
| orbit_periapsis = {{cvt|374000|km}}<ref name="eoPortal">{{cite web|url=https://directory.eoportal.org/web/eoportal/satellite-missions/j/jwst|title=James Webb Space Telescope|publisher=ESA eoPortal|access-date=29 June 2015}}</ref>
| orbit_apoapsis = {{cvt|1500000|km}}
| orbit_inclination =
| orbit_period = 6 เดือน
 
| telescope_name =
| telescope_type = ระบบลดความบิดเบือนภาพสามกระจกแบบคอร์ช
| telescope_diameter = {{cvt|6.5|m}}
| telescope_focal_length = {{cvt|131.4|m}}
| telescope_focal_ratio = {{f/|20.2}}
| telescope_area = {{cvt|25.4|m2}}<ref>{{cite web|title=JWST Telescope|url=https://jwst-docs.stsci.edu/jwst-observatory-hardware/jwst-telescope|work=James Webb Space Telescope User Documentation |publisher=Space Telescope Science Institute|date=2019-12-23|access-date=2020-06-11}} {{PD-notice}}</ref>
| telescope_wavelength = 0.6–28.3 μm ([[สีส้ม|ส้ม]]ถึง[[อินฟราเรด]]ช่วงกลาง)
 
| instruments_list = {{Infobox|child=yes
| headerstyle = background: #ddf;
| header1 = เครื่องมือ
 
| label2 = FGS-NIRISS
| data2 = เซ็นเซอร์นำทางความละเอียดสูงและตัวสร้างภาพคลื่นใกล้อินฟราเรดและสเปกโทรกราฟไร้แผ่นบัง
| label3 = MIRI
| data3 = เครื่องมือวัดอินฟราเรดกลาง
| label4 = NIRCam
| data4 = กล้องถ่ายคลื่นใกล้อินฟราเรด
| label5 = NIRSpec
| data5 = สเปกโตรกราฟคลื่นใกล้อินฟราเรด
| header6 = องค์ประกอบ
| data7 = {{Hlist|หน่วยรวมเครื่องมือวิทยาศาสตร์|องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง|ยานอวกาศ (บัส และฉากกันแสงอาทิตย์)}}
}}
 
| trans_band = {{Unbulleted list
| S band: โทรมาตร การติดตาม และการควบคุม
| Ka band: การรับข้อมูล
}}
| trans_bandwidth = {{Unbulleted list
| S band ขาขึ้น: 16 kbit/s
| S band ขาลง: 40 kbit/s
| Ka band ขาลง: มากถึง 28 Mbit/s
}}
 
| insignia = [[ไฟล์:JWST Launch Logo.png|frameless|upright=0.8]]
| insignia_caption = สัญลักษณ์ภารกิจกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
}}
องค์ประกอบกล้องโทรทรรศน์รับแสง เป็นกระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ส่วน ซึ่งประกอบกันเพื่อสร้างกระจกเส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5 m (21 ft) — ใหญ่กว่ากระจกสะท้อนหลักของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขนาด 2.4 m (7 ft 10 in) เป็นอย่างมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะสังเกตการณ์ในช่วงคลื่นแสงที่มองเห็นได้ไปจนถึงคลื่นอินฟราเรดกลาง (0.6 to 28.3 μm) ซึ่งต่างจากฮับเบิลซึ่งสังเกตการณ์ตั้งแต่คลื่นใกล้อัลตราไวโอเลต คลื่นแสงที่มองเห็นได้ และคลื่นใกล้อินฟราเรด (0.1 to 1 μm) การที่เจมส์ เวบบ์สังเกตการณ์ในคลื่นที่ต่ำกว่าจะทำให้มันสามารถเห็นวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงอย่างมากซึ่งมีเก่าและไกลเกินกว่าที่ฮับเบิลจะมองเห็นได้[8][9] ตัวกล้องโทรทรรศน์จะต้องถูกรักษาไว้ในสภาพเย็นจัดเพื่อที่จะสามารถสังเกตการณ์เคลื่อนอินฟราเรดได้ด้วยไม่มีการรบกวน มันจึงจะถูกปล่อยไปยังบริเวณจุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างดาวโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1.5 ล้าน กิโลเมตร (930,000 ไมล์) จากโลก (0.01 au – 3.9 เท่าระยะทางจากโลกสู่ดวงจันทร์).[10]ฉากกันแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ผลิตด้วยซิลิคอน และแคปตอนเคลือบอะลูมิเนียมจะช่วยรักษาอุณหภูมิของกระจกรับแสงและเครื่องมือวัดให้ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F).[11]
 
ศูนย์การบินอวกาศก็อดดาร์ดของนาซาเป็นผู้จัดการการพัฒนากล้องโทรทรรศน์อวกาศ และสถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศจะเป็นผู้ดำเนินการหลังจากการปล่อย[12] ผู้รับเหมาหลักคือนอร์ทธรอป กรัมแมน[13] ตัวกล้องโทรทรรศน์ถูกตั้งชื่อตามเจมส์ อี. เวบบ์[14] ซึ่งเป็นผู้บริหารองค์การนาซาตั้งแต่ปี 1961 ถึง 1968 และเป็นบุคคลสำคัญในโครงการอะพอลโล[15][16]
 
การพัฒนาเริ่มต้นขึ้นในปี 1996 สำหรับการปล่อยที่แรกเริ่มวางแผนไว้ในปี 2007 และใช้งบประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[17] โครงการนี้เกิดการล่าช้าและค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณอยู่หลายครั้ง เช่น การออกแบบใหม่ในปี 2005[18] ฉากกันแสงอาทิตย์ขาดระหว่างการทดสอบการกาง คำแนะนำจากคณะกรรมการตรวจสอบอิสระ การระบาดทั่วของโควิด-19[19][20][21] ปัญหากับจรวดอารีอาน 5[22] ปัญหากับตัวกล้องโทรทรรศน์เอง และปัญหาการสื่อสารระหว่างกล้องโทรทัศน์และจรวด[23] ความกังวลในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการปล่อยและการกางตัวของกล้องโทรทรรศน์ได้ถูกอธิบายเป็นอย่างดี[24][25]
 
การก่อสร้างเสร็จสิ้นช่วงปลายปี 2016 หลังจากนั้นจึงเริ่มช่วงการทดสอบอย่างครอบคลุม[26][27] กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ถูกปล่อย ณ เวลา 12:20 UTC ในวันที่ 25 ธันวาคม 2021 ด้วยจรวดอารีอาน 5 จาก กูรู, เฟรนช์เกียนา บริเวณหาดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้
== ความสามารถ ==
[[ไฟล์:Atmospheric electromagnetic opacity.svg|thumb|upright=1.0|left|แผนภาพโดยคร่าวของความโปร่งใสของชั้นบรรยากาศโลกต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่างๆ รวมถึง[[แสงที่มองเห็นได้]]]]
 
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์มีมวลเพียงครึ่งหนึ่งของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แต่กระจกสะท้อนหลักของมันซึ่งประกอบไปด้วยกระจกเบริลเลียมเคลือบทองทรงหกเหลี่ยม 18 ชิ้น จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางรวม 6.5 m (21 ft) และมีพื้นที่รับแสง 25.4 m2 (273 sq ft) มากกว่าพื้นที่ของกล้องฮับเบิลถึงหกเท่า[30]
 
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาดาราศาสตร์อินฟราเรด แต่ก็ยังสามารถมองเห็นแสงสีส้มและแดง รวมถึงคลื่นอินฟราเรดช่วงกลาง ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ศึกษา การที่การออกแบบเน้นสำหรับการใช้ในคลื่นใกล้อินฟราเรดถึงอินฟราเรดช่วงกลางด้วยสามเหตุผลคือ
 
แสงที่มองเห็นได้ที่เปล่งออกมาจากวัตถุที่เลื่อนไปทางแดงมาก จะเลื่อนไปอยู่ในช่วงคลื่นอินฟราเรด
วัตถุที่เย็นเช่นจานเศษฝุ่นและดาวเคราะห์เปล่งแสงมากที่สุดในคลื่นอินฟราเรด
การศึกษาคลื่นนี้จากบนพื้นโลกหรือโดยการใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีอยู่ปัจจุบันเช่น ฮับเบิล นั้นเป็นไปได้ยาก
กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินจะต้องสังเกตการณ์ผ่านชั้นบรรยากาศของโลก ถึงบดบังคลื่นอินฟราเรดหลายช่วง และแม้ในช่วงคลื่นที่ชั้นบรรยากาศไม่บดบัง สารเคมีเป้าหมายหลายชนิดเช่น น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเทน ก็มีอยู่แล้วในบรรยากาศของโลก ทำให้การวิเคราะห์ผลลับซับซ้อนขึ้นไปมาก กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น ฮับเบิล ก็ไม่สามารถศึกษาคลื่นช่วงนี้ได้ เนื่องจากกระจกของมันถูกรักษาไว้ในอุณหภูมิที่ต่ำไม่พอ (กระจกสะท้อนหลักของฮับเบิลถูกรักษาไว้ที่อุณหภูมิประมาณ 15 °C (288 K; 59 °F)) ตัวกล้องโทรทรรศน์เองจึงเปล่งคลื่นอินฟราเรดอย่างรุนแรง[31]
 
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จะทำงานใกล้จุดลากร็องฌ์ที่ 2 ระหว่างโลก-ดวงอาทิตย์ ประมาณ 1,500,000 km (930,000 mi) ห่างจากวงโคจรของโลก เปรียบเทียบกับวงโคจรของฮับเบิลซึ่งอยู่ 550 km (340 mi) เหนือพื้นโลก และดวงจันทร์โคจรอยู่ห่างจากโลกประมาณ 400,000 km (250,000 mi) จากโลก ด้วยระยะทางที่ห่างไกลเท่านี้จะทำให้การซ่อมหลังการปล่อยหรือต่อเติมยกระดับส่วนเครื่องของเจมส์ เวบบ์ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวยานอวกาศจึงจะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะในช่วงการสร้างและออกแบบเท่านั้น วัตถุที่อยู่ใกล้จุดลากร็องฌ์นี้สามารถโคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อมกับโลก ทำให้ตัวกล้องโทรทรรศน์มีระยะห่างคงที่โดยประมาณ[32] เจมส์ เวบบ์จะหันฉากกันแสงอาทิตย์และบัสเข้าสู่โลกและดวงอาทิตย์เพื่อสะท้อนแสงและความร้อนที่แผ่จากโลกและดวงอาทิตย์ และรักษาการสื่อสาร การเรียงตัวแนวนี้จะรักษาอุณหภูมิของยานอวกาศในอยู่ต่ำกว่า 50 K (−223 °C; −370 °F) ซึ่งจำเป็นจำหรับการสังเกตการณ์คลื่นอินฟราเรด<ref name=nasasunshield>{{cite web|title=The Sunshield|url=http://www.jwst.nasa.gov/sunshield.html|website=nasa.gov |publisher=NASA|access-date=28 August 2016}} {{PD-notice}}</ref><ref>{{cite web |url=http://news.nationalgeographic.com/2015/04/150423-hubble-anniversary-webb-telescope-space|title=Hubble Still Wows At 25, But Wait Till You See What's Next|publisher=National Geographic|author=Drake, Nadia |date=24 April 2015}}</ref>
 
<gallery align="center" mode="packed" heights="200px">
ไฟล์:James Webb Space Telescope 2009 top.jpg|ภาพจากมุมบน
ไฟล์:James Webb Space Telescope 2009 bottom.jpg|ภาพจากมุมล่าง (ด้านหันหาดวงอาทิตย์)
ไฟล์:Blueprints of the James Webb Space Telescope.jpg|พิมพ์เขียวของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์
</gallery>
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[กล้องโทรทรรศน์อวกาศ]]
* [[โครงการหอดูดาวเอก]]
* [[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ]]
 
== อ้างอิง ==