ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชนชั้นขุนนาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:徐顯卿宦跡圖-上朝.jpg|230px|thumb|ขุนนางจีนสมัย[[ราชวงศ์หมิง]]]]
 
'''ชนชั้นขุนนาง''' ({{lang-en|nobility}}) เป็น[[ชนชั้นทางสังคม]]ที่อยู่รองลงมาจาก[[ชนชั้นเจ้า]] ชนชั้นนี้ถือครอง[[เอกสิทธิ์|สิทธิ์]]หรือชื่อเสียงมากกว่าชนชั้นอื่นในสังคมเป็นส่วนใหญ่ มีการสืบทอดสิทธิ์จากรุ่นสู่รุ่น สิทธิ์สิทธิของขุนนางอาจหมายถึง ความได้เปรียบเหนือกว่าชนชั้นอื่น หรืออาจเป็นเกียรติยศ ซึ่งมีบริบทแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศและในแต่ละยุค ในสมัยก่อน การเป็นปกติชนชั้นขุนนางและมีอภิสิทธิ์ต่าง ๆ มักจะถูกกำหนดหรือประกาศขึ้นโดย[[ชนชั้นปกครอง]] แต่ถึงกระนั้น บุคคลอื่นนอกเหนือไปจากนี้ที่มีเงินทอง วิถีชีวิต หรือแวดวงคล้ายคลึงก็อาจจะเป็นเครื่องหมายเด่นที่จะถูกนับรวมเป็นชนชั้นขุนนาง แม้ว่าโดยหลักการแล้ว ขุนนางจะต้องมีปราสาทเป็นของตัวเองและคอยแสวงหาซึ่งอำนาจ ทรัพย์สมบัติ กำลังทหาร หรือความเป็นที่โปรดปรานของราชวงศ์ และการที่สามัญชนจะเป็นขุนนางได้นั้น มักจะใช้วิธีเข้าหาราชวงศ์เพื่อเป็นที่โปรดปรานสืบทอดสิทธิตามสายโลหิตฝ่ายบิดา
 
ในชนชั้นขุนนางเองก็จะมีการแบ่งออกเป็นอีกหลายระดับ ในประเทศที่ปกครองโดยกษัตริย์มักจะมีกฎหมายหรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับชนชั้นขุนนาง แต่ในบางอดีตประเทศที่เป็นสาธารณรัฐก็มีกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องเช่นเดียวกัน อาทิ [[สาธารณรัฐดัตช์]] (ค.ศ. 1581–1795), [[สาธารณรัฐเจนัว]] (ค.ศ. 1005–1815), [[สาธารณรัฐเวนิส]] (ค.ศ. 697–1797) เป็นต้น ในปัจจุบันยังคงมีอีกหลายประเทศที่มีข้อบัญญัติทางชนชั้นอยู่ในลักษณะไม่สืบทอดสิทธิ์ อาทิ [[ประเทศซานมารีโน]], [[นครรัฐวาติกัน]]ในยุโรป