ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนช้างขุนแผน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 130:
 
ที่[[วัดป่าเลไลยก์]]จังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้สร้างแบบจำลองเรือนของขุนช้างขึ้น ให้ตรงกับที่พรรณาในเสภาให้มากที่สุด และได้เริ่มงานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องขุนช้างขุนแผนรอบ ๆ วิหารของหลวงพ่อโต โดย อาจารย์[[เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย]]
 
== งานวิจัย==
 
งานวิจัยที่บอกเล่าเรื่องราวด้วยการเพิ่มคำอธิบายประกอบและคำอธิบายของคำเก่าๆและประเพณีที่ถูกลืม เช่น งานของ สุภร บุนนาค ที่จัดพิมพ์สองเล่มในปีพ.ศ. 2503 และตีพิมพ์ซ้ำอีกในงานฌาปนกิจศพในปีพ.ศ.2518
 
งานวิจัยของ[[ขุนวิจิตรมาตรา]] (สง่า กาญจนาคพันธุ์) และ เพลิง ณ นคร เขียนบทความชุดหนึ่งเผยแพร่ในนิตยสารวิทยาสาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 และรวมพิมพ์เป็นเล่มเป็นหนังสือแล้ว ในชื่อ "เล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน"
 
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังเขียนบทความชุดหนึ่งลงพิมพ์ที่ หนังสือพิมพ์สยามรัฐของตนเองแล้วรวบรวมเป็นหนังสือในปี พ.ศ.2532
 
ในปี พ.ศ. 2545 สุจิตต์ วงษ์เทศได้ตีพิมพ์ผลงานที่เป็นคำกลอนของครูแจ้ง ซึ่งเคยลงพิมพ์เป็นบทความในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยสำเนาต้นฉบับสองฉบับของบทที่ 17 ซึ่งสุจิตต์ได้รับจาก[[หอสมุดแห่งชาติ]]ภายใต้ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ต้นฉบับเหล่านี้เผยให้เห็นสิ่งที่กรมพระยาดำรงทรงชำระและตัดทอนไป รวมพิมพ์เป็นชื่อว่า "ขุนช้างขุนแผนแสนสนุก"
 
ชลธิรา สัตยาวัฒนา เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท ในปี พ.ศ. 2513 โดยใช้แนวคิดจิตวิทยาของฟรอยด์ เพื่อวิเคราะห์ความก้าวร้าวในตัวละครเรื่องขุนช้างขุนแผนและตัวละครทั้งหมด วิทยานิพนธ์นี้โด่งดังมาก ทั้งในฐานะเป็นจุดสังเกตในการวิจารณ์วรรณกรรมไทยและเป็นบทความที่มีแนวคิดเกี่ยวกับ[[สตรีนิยม]]ไทยในยุคแรกๆ
 
==ตัวละคร==