ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนช้างขุนแผน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ดูเพิ่มใช้แก่ลิงก์ภายใน +จัดรูปแบบไม้ยมกด้วยสจห.
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ไม่เป็นสารานุกรม}}
{{ตารางวรรณคดี
| กวี = ไม่ทราบ....
เส้น 9 ⟶ 11:
| ลิขสิทธิ์ = [[กรมศิลปากร]]
}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{วิกิซอร์ซ|ขุนช้างขุนแผน}}
 
เสภาเรื่อง'''ขุนช้างขุนแผน''' เป็นนิทาน[[มหากาพย์]]พื้นบ้านของไทย เค้าเรื่องขุนช้างขุนแผนนี้สันนิษฐานว่าเคยเกิดขึ้นจริงในสมัย[[กรุงศรีอยุธยา]] แล้วมีผู้จดจำเล่าสืบต่อกันมา เนื่องจากเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนมีปรากฏในหนังสือ[[คำให้การชาวกรุงเก่า]] แต่มีการดัดแปลงเพิ่มเติมจนมีลักษณะคล้าย[[นิทาน]]เพื่อให้เนื้อเรื่องสนุกสนานชวนติดตามยิ่งขึ้น รายละเอียดในการดำเนินเรื่องยังสะท้อนภาพการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวสยามในครั้งอดีตได้อย่างชัดเจนยิ่ง จนนัก[[ภาษาศาสตร์]] นาม[[วิลเลี่ยม เก็ดนี่ย์]] กล่าวว่า "ข้าพเจ้ามักคิดบ่อยๆบ่อย ๆ ว่า หากความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยเกิดสูญหายไปหมด ทุกอย่างอาจจะถูกสร้างขึ้นมาได้ใหม่ จากข้อเขียนที่อัศจรรย์นี้"
 
เรื่องขุนช้างขุนแผนนี้ ถูกสันนิษฐานว่าเป็นการแต่งขึ้นร้องแบบ[[มุขปาฐะ]] (ปากต่อปาก) เพื่อความบันเทิง ในลักษณะเดียวกับมหากาพย์ของ[[ยุโรป]] อย่างเช่นของ[[โฮเมอร์]] โดยคงจะเริ่มแต่งตั้งแต่ราวอยุธยาตอนกลาง (ราว พ.ศ. 2143) และมีการเพิ่มเติม หรือตัดทอนเรื่อยมา จนมีรายละเอียดและความยาวอย่างที่สืบทอดกันอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่ไม่ได้ถูกบันทึกลงไว้เป็นกิจลักษณะ เนื่องจากบุคคลชั้นสูงสมัยนั้นเห็นว่าเป็นกลอนชาวบ้าน ที่มีเนื้อหาบางตอนหยาบโลน และไม่มีการใช้[[ฉันทลักษณ์]]อย่างวิจิตร ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายในปี พ.ศ. 2310 จึงไม่มีต้นฉบับเรื่องขุนช้างขุนแผนเหลืออยู่ แต่เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีความนิยมสูงในหมู่ชาวไทย จึงมีผู้ที่จำเนื้อหาได้อยู่มาก และทำให้ถูกฟื้นฟูกลับมาได้ไม่ยาก
 
สำหรับเนื้อหาของขุนช้างขุนแผนในปัจจุบัน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ได้โปรดเกล้าฯ ให้กวีในรัชสมัยของพระองค์ ตลอดจนพระองค์เองร่วมกันแต่งและทรงพระราชนิพนธ์ขี้นเป็น[[วรรณคดี]]ที่มีค่าทั้งในด้านความไพเราะและในลีลาการแต่ง ตลอดจนเค้าโครงเรื่อง ได้รับการยกย่องตาม'''พระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร'''ในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภท[[กลอน]][[เสภา]] และได้รับประทับราชลัญจกรรูป[[พระคเณศร์]]ไว้เป็นเครื่องหมายของการยกย่องนั้นด้วย
เส้น 28 ⟶ 29:
ขุนช้างขุนแผน เป็น นิทานพื้นบ้านของไทยโบราณ มีต้นกำเนิดมาจากความบันเทิงพื้นบ้านประมาณปี ค.ศ. 1600 ซึ่งพัฒนาโดยนักเล่านิทาน สำหรับผู้ชมผู้ฟังในท้องถิ่น และส่งต่อเรื่องราวด้วยการบอกเล่าแบบปากต่อปาก
 
อนึ่งในศตวรรษที่ 18 การแสดงเรื่องดังกล่าวได้กลายเป็นรูปแบบความบันเทิงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสยาม นักเล่านิทานมักเล่าเรื่องด้วยการบรรยายอย่างมีสไตล์ โดยใช้ไม้เล็กๆเล็ก ๆ สองท่อน เรียกว่า [[กรับ]] เคาะให้เป็นจังหวะและเน้นอารมณ์ การขับแสดงนั้นมักใช้เวลาตลอดทั้งคืน
 
อนึ่ง การขับแสดงเรื่องของขุนช้างขุนแผนสร้างแนวใหม่ที่เรียกว่าเสภา และเป็นเวลาอย่างน้อย
หนึ่งศตวรรษมาแล้ว
คำศัพท์นี้ใช้เฉพาะบางงานนี้เท่านั้น
ในสมัย[[รัชกาลที่ 4]] (ค.ศ. 1851–1868) ข้อความจากพระราชพงศาวดารบางส่วนและงานอื่น ๆ อีกสองสามชิ้นก็ถูกนำมาเสนอในรูปแบบของเสภานี้ด้วยพระราชกรณียกิจ แต่ทั้งหมดก็หายไป เหลือเพียงเศษเสี้ยวเล็กๆเล็ก ๆ
 
อนึ่ง ที่มาของคำเสภานี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ มีรูปแบบของดนตรีในชื่อเดียวกันนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันเลย [[คึกฤทธิ์ ปราโมช]] คิดว่า คำว่า เสภา นี้ หมายถึงคุกและเสภานี้พัฒนามาโดยนักโทษในเรือนจำ ส่วน [[สุจิตต์ วงษ์เทศ]] แย้งว่า เสภามีความเชื่อมโยงกับคำภาษาสันสกฤตว่า "เสวะ" ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องดั้งเดิมกับพิธีกรรม ทางศาสนา
เส้น 49 ⟶ 50:
รัชกาลที่ 3 เมื่อยังทรงกรมเป็น [[กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์]]และกวีอย่าง[[สุนทรภู่]]
 
ต่อมาได้มีการรวบรวมบทอื่นๆอื่น ๆ อีกหลายตอน
ซึ่งน่าจะเป็นในสมัยรัชกาลที่ 3
โดย[[ครูแจ้ง]]นักขับเสภาและนักเล่นเพลงปรบไก่ ไม่ค่อยมีใครรู้จักประวัติของเขานัก นอกจากเขาอ้างอิงชื่อตัวเองใว้ในบทกวีเท่านั้น
เส้น 57 ⟶ 58:
 
อนึ่ง สว่นฉบับมาตรฐานที่จัดพิมพ์แบบสมัยใหม่นั้นปรากฏพิมพ์เป็นสามเล่มในปี พ.ศ. 2460-2461 จัดพิมพ์โดยหอพระสมุดพระวชิรญาณ
และชำระใหม่โดย[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ที่ทรงรวบรวมมาจากต้นฉบับสมุดไทย ทั้งสี่ชุด และสมุดไทยเล่มปลีกอื่นๆอื่น ๆ อีกสองสามชุด เป็นต้นฉบับที่เก่าแก่ที่สุดที่ได้มาจากสมัยรัชกาลที่ 4 (ค.ศ.1851–1868) พระองค์ทรงเลือกสิ่งที่เชื่อว่าเป็นสำนวนที่ดีที่สุดของแต่ละตอน และทรงแต่งเพิ่มอีกบางตอน และทรงลบสำนวนที่ถือว่าลามกอนาจาร หยาบคาย ตลกโปกฮาก็ให้ตัดทิ้ง ท่านรู้สึกว่าไม่มีสาระในทางวรรณคดี
 
อนึ่ง ฉบับมาตรฐานนี้มีประมาณ 20,000 คำกลอน ทรงแบ่งออกเป็น 43 ตอน เรื่องตอนต้นจบลงในตอนที่ 36 แต่ทรงรวมอีกเจ็ดตอนไว้ด้วยเนื่องจากตอนต่างๆต่าง ๆ เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยม
นักกวีและนักเขียนได้แต่งตอนต่างๆต่าง ๆ ให้มากขึ้นจนกระทั่งถึงชั้นลูกหลาน ที่ขยายเรื่องราวไปถึงสามชั่วอายุคนในสายเลือดของขุนแผน แต่พระองค์ก็ทรงเห็นว่าไม่มีสาระในทางวรรณคดี ที่จะเป็นเรื่องเล่าหรือเป็นบทกวีที่สมควรจะได้รับการตีพิมพ์
แต่เรื่องภาคปลายนี้ประมาณ 50 บท ต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในโอกาศต่างๆต่าง ๆ
 
== ที่มาของเรื่อง ==
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเชื่อว่าเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนนั้น มีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์จริงซึ่งเกิดขึ้นราวๆราว ๆ ค.ศ. 1500
ในแผ่นดินรัชสมัยของ[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] หลักฐานที่พระองค์ทรงอ้างอิงนั้นเชื่อกันว่าเป็นคำให้การของนักโทษชาวไทยในพม่าที่ถูกจับไปหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ชื่อว่า [[คำให้การชาวกรุงเก่า]] ที่ค้นพบและแปลแล้วตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 เป็นบันทึกที่เล่าถึงชื่อขุนแผนในการทำสงครามกับทางเชียงใหม่
 
เส้น 75 ⟶ 76:
 
เช่นตอนพลายแก้วสู่ขอและแต่งงานกับนางพิม แต่แล้วก็ถูกเกณฑ์ไปสงคราม ขุนช้างมาสู่ขอจากแม่และเกลี้ยกล่อมนางพิม ฉุดกระชากนางพิม จนเป็นเมียขุนช้าง พลายแก้วกลับมาจากสงคราม ได้เป็นขุนแผน เกิดการทะเลาะวิวาทที่ตามมา
จนวันทองถูกตัดสินประหารชีวิต จากนั้นเรื่องราวก็ถูกขยายออกไป เมื่อตอนนั้นๆนั้น ๆ ถูกแต่งขึ้นโดยใช้ตัวละครนำเหล่านี้และเพิ่มตัวละครใหม่ๆใหม่ ๆ
บางตอนเป็นที่รู้จักว่าเป็นการนำเหตุการณ์จริงๆจริง ๆ จากพงศาวดารมาแต่งแทรกไว้ เช่นการมาถึงของราชทูตจากล้านช้าง และการรับของจากราชทูตที่มาจากทวายมายังกรุงเทพในปี พ.ศ. 2334 เป็นต้น
 
== การดัดแปลงเป็นสื่อ ==
 
แม้กวีนิพนธ์นั้นจะกลายเป็นฉบับมาตรฐานของเรื่องขุนช้างขุนแผนก็ตาม แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบอื่นๆอื่น ๆ มากมาย
 
ในช่วงศตวรรษที่ 19 มีการนำตอนต่างๆต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นละคร นาฏศิลป์ ตลกและลิเก
ในช่ววศตวรรษที่ 20 มีการนำตอนต่างๆต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นรูปแบบกวีนิพนธ์และการแสดงพื้นบ้านอย่างเพลง ฉุยฉาย เป็นต้น
 
มีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อยู่ 5 เวอร์ชั่น
เส้น 121 ⟶ 122:
ใน[[จังหวัดสุพรรณบุรี]]และ[[พิจิตร]]เมืองที่มีความโดดเด่นในเนื่อเรื่อง ยังมีชื่อถนนสายหลักที่ได้รับการตั้งชื่อตามตัวละครในเรื่องด้วย
 
ในสถานที่ต่างๆต่าง ๆ ที่ปรากฏในเรื่อง ปัจจุบันนี้ยังมีศาลเจ้าที่มีภาพของตัวละครปรากฎอยู่ สถานที่ดังกล่าว ได้แก่ เนินเขาชนไก่ในจังหวัดกาญจนบุรีเก่า มีภาพขุนแผนและขุนไกรผู้เป็นบิดา
เมืองพิจิตรเก่าของนางศรีมาลาและบ้านถ้ำในจังหวัดกาญจนบุรีของนางบัวคลี เป็นต้น
 
ในพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีการสร้างบ้านทรงไทยแบบเก่าแล้วตั้งอยู่ในบริเวณคุกที่เชื่อกันว่าขุนแผนถูกจองจำ บ้านหลังนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "คุ้มขุนแผน" และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัด บ้านที่คล้ายกันนี้ก็เพิ่งสร้างขึ้นที่วัดแคในจังหวัดสุพรรณบุรีเช่นกัน วัดนี้ยังมีต้นมะขามเก่าแก่ที่มีตำนานเล่าขานกันว่าเป็นที่เณรแก้วลองวิชาเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อได้
 
ที่[[วัดป่าเลไลยก์]]จังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้สร้างแบบจำลองเรือนของขุนช้างขึ้น ให้ตรงกับที่พรรณาในเสภาให้มากที่สุด และได้เริ่มงานการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องขุนช้างขุนแผนรอบๆรอบ ๆ วิหารของหลวงพ่อโต โดย อาจารย์[[เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย]]
 
==ตัวละคร==
{{โครง-ส่วน}}
== ดูเพิ่ม ==
* [https://vajirayana.org/%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%93 ดูตำนานบทเสภา]
 
== อ้างอิง ==