ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนช้างขุนแผน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
อัตตะสันติ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 61:
อนึ่ง ฉบับมาตรฐานนี้มีประมาณ 20,000 คำกลอน ทรงแบ่งออกเป็น 43 ตอน เรื่องตอนต้นจบลงในตอนที่ 36 แต่ทรงรวมอีกเจ็ดตอนไว้ด้วยเนื่องจากตอนต่างๆ เป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยม
นักกวีและนักเขียนได้แต่งตอนต่างๆให้มากขึ้นจนกระทั่งถึงชั้นลูกหลาน ที่ขยายเรื่องราวไปถึงสามชั่วอายุคนในสายเลือดของขุนแผน แต่พระองค์ก็ทรงเห็นว่าไม่มีสาระในทางวรรณคดี ที่จะเป็นเรื่องเล่าหรือเป็นบทกวีที่สมควรจะได้รับการตีพิมพ์
แต่เรื่องภาคปลายนี้ประมาณห้าสิบ 50 บท ต่อมาได้รับการตีพิมพ์ในโอกาศต่างๆ
 
== ที่มาของเรื่อง ==
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเชื่อว่าเรื่องราวของขุนช้างขุนแผนนั้น มีพื้นฐานมาจากเหตุการณ์จริงซึ่งเกิดขึ้นราวๆ ค.ศ. 1500
ในแผ่นดินรัชสมัยของ[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2]] หลักฐานที่พระองค์ทรงอ้างอิงนั้นเชื่อกันว่าเป็นคำให้การของนักโทษชาวไทยในพม่าที่ถูกจับไปหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ชื่อว่า [[คำให้การชาวกรุงเก่า]] ที่ค้นพบและแปลแล้วตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 เป็นบันทึกที่เล่าถึงชื่อขุนแผนในการทำสงครามกับทางเชียงใหม่
 
แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานชิ้นนี้เป็นแค่ประวัติศาสตร์บอกเล่าปากต่อปากเท่านั้น และถูกบังคับเค้นถามโดยพม่าเป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับเรื่องขุนช้างขุนแผนที่พัฒนามาจากนิทานพื้นบ้านจากปากของชาวบ้านทั่วไป
 
อนึ่งการทำสงครามกับเชียงใหม่นั้นดูเหมือนจะเป็นการอ้างอิงมาจากเหตุการณ์ที่ปรากฏในพงศาวดารมากกว่า ที่เป็นเรื่องราวพิพาทระหว่างอยุธยากับล้านช้างในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1560
 
อีกทฤษฎีหนึ่ง คือเรื่องขุนช้างขุนแผนนั้นพัฒนามาเป็นเวลาหลายทศวรรษหรือหลายศตวรรษโดยนักเล่านิทานที่ซึมซับและแต่งเติมนิทานของท้องถิ่นและเรื่องจริงบางเรื่อง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าฉบับดั้งเดิมนั้นน่าจะสั้นกว่าและเรียบง่ายกว่ามาก
 
เช่นตอนพลายแก้วสู่ขอและแต่งงานกับนางพิม แต่แล้วก็ถูกเกณฑ์ไปสงคราม ขุนช้างมาสู่ขอจากแม่และเกลี้ยกล่อมนางพิม ฉุดกระชากนางพิม จนเป็นเมียขุนช้าง พลายแก้วกลับมาจากสงคราม ได้เป็นขุนแผน เกิดการทะเลาะวิวาทที่ตามมา
จนวันทองถูกตัดสินประหารชีวิต จากนั้นเรื่องราวก็ถูกขยายออกไป เมื่อตอนนั้นๆถูกแต่งขึ้นโดยใช้ตัวละครนำเหล่านี้และเพิ่มตัวละครใหม่ๆ
บางตอนเป็นที่รู้จักว่าเป็นการนำเหตุการณ์จริงๆ จากพงศาวดารมาแต่งแทรกไว้ เช่นการมาถึงของราชทูตจากล้านช้าง และการรับของจากราชทูตที่มาจากทวายมายังอยุธยาในปี พ.ศ. 2334 เป็นต้น
 
==ตัวละคร==