ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 92:
ในปีถัดมา พ.ศ. 2348 กองทัพจากหัวเมืองต่าง ๆ นำโดยกองทัพเมืองเชียงใหม่ได้ยกขึ้นไปถึงเมืองยองและได้ "เทครัว" คือนำผู้คนในเมืองยองและหัวเมืองใกล้เคียง เป็นจำนวนมากให้มาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูนและเชียงใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้มีผู้คนเบาบาง การ "เทครัว"จากเมืองยองครั้งนี้ เป็นการอพยพผู้คนครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง ที่มีการนำมาทั้งระบบของเมืองอันประกอบด้วยเจ้าเมืองยอง บุตร ภรรยา ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์ และผู้นำท้องถิ่นระดับต่าง ๆ ตลอดจนไพร่พลจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองลำพูน
 
ย้อนกลับไประหว่างปี พ.ศ. 2325–2339 พระเจ้ากาวิละและญาติ ได้ตั้งมั่นและรวบรวมผู้คนอยู่ที่เวียงป่าซางเขตเมืองลำพูน จนมีกำลังคนเพียงพอแล้วจึงได้เข้ามาตั้งมั่นและฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ ใน ปี [[พ.ศ. 2339]]
 
พระเจ้ากาวิละยังได้ดำเนินการรวบรวม และกวาดต้อนผู้คนต่อมาอีกหลายครั้งและได้ขยายขอบเขตการกวาดต้อนผู้คนออกไปยังบริเวณอื่นโดยเฉพาะในแถบตะวันออกของแม่น้ำฅง ด้วยเหตุนี้ [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]] รัชกาลที่ 1 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละ ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชในปี พ.ศ. 2345 ทำให้[[พระเจ้ากาวิละ]]เป็นที่ยอมรับของหัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนาและหัวเมืองทางตอนบน อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่าเดิม