ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเมืองอุตรดิตถ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Supanut Arunoprayote (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ท่าอิดเป็นท่าที่มีความเจริญทางการค้ามากกว่าทุกท่าใน ภาคเหนือ เป็นท่าจอดเรือ ค้าขายจากมณฑลภาคเหนือ และภาคกลางรวมถึงเชียงตุงเชียงแสนหัวพันทั้งห้าทั้งหก สิบสองปันนาสิบสองจุไทย เดิมท่าอิดอยู่ในความปกครองของขอมตลอดจน ถึงสมัยสุโขทัย ขอมหมดอำนาจ ท่าอิดจึงเป็นเมืองท่าขึ้นอยู่กับเมืองทุ่งยั้ง อันเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย สมัยต่อมาแคว้นน่านได้เปลี่ยนทางเดิน ทำให้หาดท่าอิดงอกออกไปทางตะวันออกมากทุก ๆ ปี ท่าอิดจึงเลื่อนตามลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่าหาดท่าอิดล่าง ท่าอิดเดิมเรียกว่าท่าอิดบน ท่าอิดล่างก็ยังคงเป็นศูนย์การค้ามาตลอดจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ส่วนชื่อที่ใช้เรียกในระยะเวลาต่อมาว่า บางโพธิ์ท่าอิฐ น่าจะเป็นชื่อที่ได้รับการเรียกขึ้นมาในภายหลัง ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา ท่าอิฐมีความเจริญขึ้นมากที่สุดใน 3 ท่าน้ำ รัชกาลที่ 4 (ไม่ชัดเจนว่ารัชกาลที่ 4 หรือ 5 เป็นผู้พระราชทานชื่ออุตรดิตถ์ แต่หากยึดตามพ.ศ.ที่พระราชทานตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4)จึงทรงพระราชทานชื่อเมืองให้ใหม่ว่า "[[อุตรดิตถ์]]" แปลว่า ท่าน้ำทางภาคเหนือ หรือท่าน้ำทางทิศเหนือ เนื่องจากเป็นท่าน้ำของไทยที่ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ เพราะเหนืออุตรดิตถ์ขึ้นไปในสมัยนั้นเป็นเมืองประเทศราชของสยาม ( [[อาณาจักรล้านนา]])
 
นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นๆเกี่ยวกับคำว่า อุตรดิตถ์ดังนี้ ท่าเหนือ (อุตร = เหนือ, ดิตถ์ = ท่า) มาจากเมื่อสมัยก่อนพ่อค้าจะนำสินค้าจากหลวงพระบาง น่าน หรือเมืองเหนืออื่นๆ ไปค้าขายทางใต้เช่น พิษณุโลก นครสวรรค์ อยุธยา กรุงเทพฯ ต้องแวะพักกันตามท่าน้ำจอดเรือที่อุตรดิตถ์ ทำให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน , อุตรดิตถ์ มาจากคำภาษาบาลี ๒ คำรวมกัน คือคำว่า อุตฺตร (อ่านว่า อุด-ตะ -ระ) กับ ติตฺถ (อ่านว่า ติด-ถะ). คำว่าอุตฺตร ภาษาไทยใช้ว่า อุดร แปลว่า ทิศเหนือ. ส่วน ติตฺถ ภาษาไทยใช้ว่า ดิตถ์ แปลว่า ท่าน้ำ ดังนั้น อุตรดิตถ์ จึงแปลตามตัวว่า ท่าน้ำทางทิศเหนือ
 
=== วิวัฒนาการของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ===
==== สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ====
ในสมัยโบราณก่อนปี พ.ศ. 1000 มีการขุดค้นพบกลองมโหระทึกทำด้วยทองสัมฤทธิ์ ที่ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง อุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2470 ทำให้เราทราบว่า อุตรดิตถ์เป็นดินแดนที่มีผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ก่อน พ.ศ. 1000 แล้ว เพราะโบราณวัตถุที่ค้นพบดังกล่าวเป็นโลหะ ที่มีใช้กันอยู่ในยุคสัมฤทธิ์หรือยุคโลหะตอนต้นอันเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนั้นพื้นที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในอดีต เป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่ราบลุ่มอันเกิดจากดินตะกอนแม่น้ำพัดของแม่น้ำน่านที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานและประกอบกสิกรรมมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฏหลักฐานบริเวณรอบที่ตั้งตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและการตั้งถิ่นฐานของแหล่งชุมชนมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่า 2,000 ปี ดังการค้นพบเครื่องมือหินขัดและซากกระดูกมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ บ้านบุ่งวังงิ้วซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามตำบลบางโพ-ท่าอิฐ และการค้นพบกลองมโหระทึกสำริด, กาน้ำและภาชนะสำริดที่ม่อนศัลยพงษ์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลบางโพในปี พ.ศ. 2470
 
==== สมัยประวัติศาสตร์ ====
{{wide image|Panoramic view of Uttaradit.jpg|1000px|ทัศนียภาพ[[เมืองอุตรดิตถ์]] จากโรงแรมฟรายเดย์}}
สมัยเขมรโบราณ ท่าอิฐเป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำน่านที่สำคัญที่สุดของทางภาคเหนือ เป็นท่าเรือรับส่งสินค้าทั้งทางบกและทางน้ำ ล่องไปยังเมืองละโว้(ลพบุรี) และใช้เป็นท่าราชการ เช่น เมื่อผู้ตรวจการเขมรจะไปตรวจราชการทางแคว้นโยนก ก็ต้องใช้เรือจากละโว้(ลพบุรี) มาขึ้นที่ท่าอิฐ จากท่าอิฐก็ใช้ช้าง ม้า ลาต่างพาหนะ ในเรื่องนี้คุณอนันต์ เอี่ยมสรรพางค์ ผู้ทราบเรื่องเกี่ยวกับอุตรดิตถ์ได้เคยซักถามขุนฉิมพลีผลารักษ์ (ชาวบ้านปากฝาง อดีตกำนันตำบลงิ้วงาม อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งท่านได้ถึงแก่กรรมไปหลายปีแล้ว) ได้ความว่า ตั้งแต่ถิ่นแถบท่าอิฐตลอดจนปากฝางเป็นถิ่นของพวกเขมรโบราณเคยมาตั้งหลักแหล่งอยู่ ได้มีการขุดค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตามบริเวณตลิ่งพังริมน้ำ ซึ่งเป็นฝีมือของเขมรโบราณ ขุมฉิมพลีผลารักษ์ ยังได้กล่าวอีกว่า บ้านด่านทั้งสองแห่ง คือ บ้านด่านบก (สถานีรถไฟบ้านด่าน) และบ้านด่านน้ำ ก็เคยเป็นที่ตรวจราชการของเขมรโบราณ
 
สมัยสุโขทัย ท่าอิฐจึงเป็นท่าเรือของเมืองทุ่งยั้ง มีความสำคัญในการคมนาคมอย่างมากมาย และเป็นชุมทางดังนี้
* จากท่าอิฐไป แพร่ น่าน ลำปางพะเยา เชียงราย เชียงตุง สิบสองปันนา สิบสองจุไทย เข้าเขตเมืองฮ่อ เชียงใหม่ และเชียงคำ