ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อิกกีว โซจุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nattanan49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35:
อิกกีวเกิดที่เมือง[[เคียวโตะ]] ชื่อในวัยเด็กคือเซงกิกุมารุ (千菊丸) เขาเป็นลูกนอกสมรสของ[[จักรพรรดิโกะ-โคะมะสึ]] แม่ของอิกกีวถูกกลั่นแกล้งเพราะมาจากราชวงศ์ทางใต้จนต้องหนีออกจากราชวัง อิกกีวเริ่มบวชที่[[วัดอังโกะกุจิ]]ตอนอายุได้ 6 ขวบ และเปลี่ยนชื่อเป็นชูเคง (周建) เขามีความสามารถทางด้านการแต่งกลอนตั้งแต่ยังเด็ก เมื่ออายุ 13 ขวบ อิกกีวซึ่งขณะนั้นย้ายมาอยู่วัดเคนนินแต่งกลอนวิพากษ์วิจารณ์ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของพระที่กอบโกยทรัพย์สินยศถาบรรดาศักดิ์บนความทุกข์ยากของชาวบ้าน
 
เมื่ออายุได้ 17 ปี อิกกีวย้ายมาที่วัดไซกินเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเคนโอ โซอิ และได้ฉายาว่าโซจุน ต่อมาหลวงพ่อเคนโอมรณภาพ อิกกีวจึงเดินทางไปวัดอิชิยะมะ อดอาหาร 7 วัน 7 คืน และพยายามฆ่าตัวตายที่แม่น้ำเซตะ อิกกีวจึงอธิษฐานจิตว่า "ข้าเเต่พระโพธิสัตว์เเห่งความกรุณา พระโพธิสัตว์เเห่งความรู้เเจ้ง ทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออธิษฐานว่า ถ้าหากพระโพธิสัตว์ต้องการให้ข้าพเจ้ามีชีวิตอยู่ก็ขอให้ข้าพเจ้าฆ่าตัวตายไม่สำเร็จ แต่หากชีวิตข้าพเจ้าไร้ซึ่งคุณค่าเสียแล้ว ข้าพเจ้าขออุทิศสังขารให้เป็นอาหารของปลาและสัตว์น้ำ" ระหว่างที่ดิ่งลงในท้องน้ำ อิกกีวก็นึกถึงหน้าท่านแม่และคำสอนขึ้นมาทันใด "เป็นลูกผู้ชายต้องไม่ย่อท้อ" อิกกีวจึงตะเกียกตะกายกลับขึ้นฝั่ง
 
หลังจากนั้น เมื่ออายุได้ 23 ปี อิกกีวไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อคะโซ โซดน แห่งวัดไดโตคุ อิกกีวสามารถแก้ปริศนาธรรมที่หลวงพ่อคะโซตั้งไว้ได้จึงได้รับฉายาใหม่ว่า "อิกกีว โซจุน" ขณะที่อยู่ที่วัดไดโตะกุนี้ท่านต้องทำงานทั้งวัน และปฏิบัติอย่างหนักหน่วง นอกจากใช้แรงงานในวัดแล้ว อิกกีวยังต้องสานรองเท้า เย็บเสื้อผ้าตุ๊กตาผู้หญิง และออกไปขายแรงงานในหมู่บ้านละแวกนั้น ซ้ำยังโดนพระรุ่นพี่ที่ไม่ชอบหน้ากลั่นแกล้งอยู่เสมอ แต่ในที่สุดอิกกีวก็สามารถบรรลุธรรมในขณะที่นั่งสมาธิบนเรือริมฝั่งทะเลสาบ "เหตุแห่งความทุกข์และความเศร้าหมองที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเกิดจากจิตที่ เต็มไปด้วยอัตตา" คือแก่นธรรมที่ท่านค้นพบ