ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิในความเป็นส่วนตัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่อนุญาติสิทธิ
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Lookruk (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 10067680 สร้างโดย 2001:FB1:11D:E764:F986:2104:33B5:DBC4 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 4:
 
'''สิทธิในความเป็นส่วนตัว''' เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของกฎหมาย จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT ย่อจาก information technology และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปใบส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา
 
== ความหมาย ==
สิทธิในความเป็นส่วนตัว หรือสิทธิส่วนบุคคล หมายถึงสิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง
หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว
ในเรื่องดังกล่าวน่าจะจัดอยู่ในเรื่องของความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งหมายความว่า สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกต การรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่าง ๆ และความมีสันโดษ
ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยทั้งนี้ ขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลก็คือการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ มีการพัฒนาบุคลิกลักษณะตามที่ต้องการ
สิทธิที่จะแสวงหาความสุขในชีวิตตามวิถีทางที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น<ref>สิทธิในความเป็นส่วนตัว[http://www.pub-law.net/publaw/view.asp?PublawIDs=609]</ref>
สิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิส่วนบุคคลนี้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน มีบัญญัติไว้ใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550]] มาตรา 32 ความว่า
{{quote|บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ}}
 
== กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ==