ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การลาดตระเวน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มส่วนดูเพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Adrich (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูลเพิ่มเติมจากการสืบค้น
บรรทัด 3:
 
ตัวอย่างการลาดตระเวน ได้แก่ การลาดตระเวนด้วยกำลังพล เรือหรือเรือดำน้ำ อากาศยานลาดตระเวนทั้งที่มีพลขับและไม่มีพลขับ ดาวเทียม หรือโดยจัดตั้งจุดสังเกตการณ์ลับ การจารกรรมปกติไม่เป็นการลาดตระเวน เพราะการลาดตระเวนเป็นกำลังพิเศษของกองทัพที่ปฏิบัติการล่วงหน้ากำลังหลัก ส่วนสายลับเป็นผู้มิใช่พลรบที่ปฏิบัติการอยู่หลังแนวข้าศึก
 
== ประเภทของการลาดตระเวน ==
โดยทั่วไปนั่น การลาดตระเวนสามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท<ref name=":0">วิชาการลาดตระเวน, หลักสูตรอาชีพฯ ชั้นจ่าเอก นย. และหลักสูตร นรจ.นย. [https://marines.navy.mi.th/doc/234687.pdf บทที่ ๑ กล่าวนำการลาดตระเวน] (navy.mi.th)</ref> คือ
 
# การลาดตระเวนหาข่าว
# การลาดตระเวนรบ
 
=== การลาดตระเวนหาข่าว ===
เป็นการรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากการลาดตระเวน เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาในการรบ โดยรวบรวมเกี่ยวกับ
 
* '''ข่าวสารของข้าศึก''' เกี่ยวกับขนาดของกำลัง การปฏิบัติการ พื้นที่ที่ตั้ง เวลาที่พบ อาวุธที่ตรวจพบ
* '''ข่าวสารเกี่ยวกับภูมิประเทศ''' เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศที่จะทำให้ฝ่ายเราได้เปรียบในการปฏิบัติการ
 
โดยกำหนดกรอบการปฏิบัติการหาข่าวในรูปแบบของ
 
* '''การลาดตระเวนหาข่าวเป็นจุด''' คือการหาข่าวในพื้นที่เฉพาะหรือพื้นที่ที่ถูกกำหนดขึ้น ที่มักจะมีความเคลื่อนไหว เช่น สะพาน สนามขึ้นลงอากาศยานปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์
* '''การลาดตระเวนหาข่าวเป็นพื้นที่''' คือการหาข่าวในพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ที่ได้กำหนดขอบเขตเอาไว้ โดยหน่วยที่ปฏิบัติการจะมีอิสระในการปฏิบัติการสูงกว่าแบบการลาดตระเวนหาข่าวแบบเป็นจุด
 
=== การลาดตระเวนรบ ===
เป็นการลาดตระเวนเพื่อระวังป้องกันการปฏิบัติการของข้าศึก รวมถึงการป้องกันการรุกล้ำเข้ามาในภูมิประเทศสำคัญ การรบกวนการรบ การจับกุม การยึดอาวุธ หรือการทำลายที่ตั้งที่สำคัญของข้าศึก แบ่งได้ 6 ประเภทตามภารกิจ คือ
 
* '''การลาดตระเวนตีโฉบฉวย''' มีหน้าที่ในการทำลายหรือจับกุมกองกำลัง อาวุธยุทโธปกรณ์ ทำลายตำแหน่งที่ตั้งที่สำคัญ รวมถึงการชิงตัวประกันหรือบุคคลสำคัญ
* '''การลาดตระเวนซุ่มโจมตี''' มีหน้าที่ในการซุ่มโจมตีต่อเป้าหมายซึ่งเป็นหน่วยลาดตระเวนของข้าศึก ขบวนยานยนต์ ขบวนส่งกำลังบำรุง รวมถึงขบวนเดินท้าของทหาร
* '''การลาดตระเวนระวังป้องกัน''' มีหน้าที่ในการเป็นแนวป้องกันการแทรกซึมของกองกำลังข้าศึกที่จะเข้ามาปฏิบัติการจู่โจมหรือซุ่มโจมตีต่อฝ่ายเรา
* '''การลาดตระเวนรักษาการติดต่อ''' มีหน้าที่ในการรักษาการติดต่อสื่อสารกับกำลังฝ่ายเดียวกันในจุดที่กำหนด หรือการติดต่อกับกำลังฝ่ายเราหรือฝ่ายข้าศึกเมื่อไม่ทราบตำแหน่งแน่นอน ซึ่งการลาดตระเวนชนิดนี้การติดต่อสื่อสารและเครื่องรับส่งวิทยุสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่ง
* '''การลาดตระเวนออมกำลัง''' มีหน้าที่ในการยึดครองและตรึงแนวตามภูมิประเทศที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ ทำให้หน่วยปฏิบัติการหลักดำเนินการรบต่อได้โดยไม่ถูกโจมตีรบกวนจากข้าศึก
* '''การลาดตระเวนค้นหาและโจมตี''' มีหน้าที่ในการค้นหาและโจมตีเป้าหมายซึ่งเป็นข้าศึกตามที่จะมีโอกาสโจมตี
 
== ระยะการส่งกำลัง ==
สำหรับการส่งกำลังในการลาดตระเวน หากแบ่งตามที่หมายจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท<ref>โรงเรียนทหารช่าง กรมทหารช่าง. [http://1.179.128.11/Book/%CD%D2%C7%D8%E2%CA%20%BA%A1.%B7%B7/%C3%C7%C1%20%A1%D2%C3%BB%AF%D4%BA%D1%B5%D4%A1%D2%C3%A2%CD%A7%CB%B9%E8%C7%C2%B7%CB%D2%C3%A2%B9%D2%B4%E0%C5%E7%A1.pdf หน่วยทหารขนาดเล็ก]</ref><ref name=":0" /> คือ
 
# '''หน่วยลาดตระเวนระยะใกล้''' คือการปฏิบัติการภายในพื้นที่ปฏิบัติการหรืออิทธิพลของหน่วย เกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นและในพื้นที่ที่ใกล้
# '''หน่วยลาดตระเวนระยะไกล''' คือการปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่ที่อยู่ในอิทธิพลของหน่วย หรือที่หน่วยมีความสนใจในการลาดตระเวนพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมีระยะทางที่ไกล หรือใช้เวลาในการลาดตระเวนที่ยาวนาน อาจมีการใช้ยานพาหนะหรืออากาศยานสนับสนุน
 
== การลาดตระเวนอื่น ๆ ==
นอกจากการลาดตระเวนในทางหทารแล้ว ปัจจุบันการลาดตระเวนถูกใช้งานในภารกิจของพลเรือนหลากหลายภารกิจ อาทิ
 
* การลาดตระเวนพื้นที่ป่าไม้และอุทยานแห่งชาติ เพื่อระงับและป้องกันการบุกรุกและทำลายป่า<ref>{{Cite web|title=การสร้างเสริมประสิทธิภาพและเทคนิคการลาดตระเวน (Smart Patrol)|url=https://www.wwf.or.th/what_we_do/conservation_of_tigers_khlong_lan_and_mae_wong/smart_patrol/|website=www.wwf.or.th|language=th}}</ref>
* การลาดตระเวนทางทะเล เพื่อการปกป้องและดูแลทรัพยากรทางทะเล<ref>{{Cite web|title=พร้อมแล้ว เพิ่มประสิทธิภาพการลาดตระเวนเชิงคุณภาพทางทะเล - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Department of Marine and Coastal Resources, Thailand|url=https://www.dmcr.go.th/detailAll/49329/nws/|website=กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม|language=TH}}</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==
เส้น 8 ⟶ 47:
* [[หน่วยเฝ้าตรวจระยะไกล]]
 
== อ้างอิง ==
<references />
[[หมวดหมู่:การลาดตระเวน| ]]
[[หมวดหมู่:การทำแผนที่]]