ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางพญา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 5:
==กรุแตก==
[[ไฟล์:วัดนางพญา อ.เมือง จ.พิษณุโลก.JPG|thumb|[[วัดนางพญา (จังหวัดพิษณุโลก)|วัดนางพญา]] [[จังหวัดพิษณุโลก]]]]
พระนางพญาแตกกรุประมาณ พ.ศ. 2444 เมื่อครั้ง[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จประพาสเมือง[[พิษณุโลก]]เพื่อทรงทอดพระเนตรการหล่อ[[พระพุทธชินราช]]จำลอง ณ [[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร]] โดย[[วัดนางพญา (จังหวัดพิษณุโลก)|วัดนางพญา]]ซึ่งอยู่ใกล้กันได้มีการปรับที่ดินเพื่อรับเสด็จ ทำให้พบกรุพระเครื่องนางพญา เป็นพระนางพญาเนื้อดินประทับนั่ง[[ปางมารวิชัย]] มีรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่วอย่างทรงเลขาคณิตหลายพิมพ์ด้วยกันและมีประมาณ 84,000 องค์ ตามนตามคตินิยมของท่านคณาจารย์ในยุคโบราณ<ref>นิดา หงส์วิวัฒน์ (บรรณาธิการ). ''พระนางพญา''. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แสงแดด, 2555.</ref> พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปวัดนางพญา ก็ได้มีการนำพระนางพญาส่วนหนึ่งขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ครานั้นพระองค์ทรงแจกจ่ายแก่ข้าราชบริพารที่ตามเสด็จกันโดยถ้วนหน้า ดังนั้นพระนางพญาส่วนหนึ่งจึงมีการนำกลับยังกรุงเทพมหานคร
 
ประมาณ พ.ศ. 2512 ที่จังหวัดพิษณุโลกได้ขุดพบกรุพระนางพญาอีก 1 กรุอยู่ห่างจากบริเวณวัดนางพญาไปประมาณ 4–5 กิโลเมตร องค์พระถูกน้ำกัดสึกกร่อนจนเห็นเม็ดกรวดทรายชัดเจนพระบางองค์ จะปรากฏคราบรารักติดอยู่เต็มองค์บ้าง บางองค์มีรารักสีดำติดอยู่เป็นจุด ๆ ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2530 ขุดพบบริเวณเจดีย์นอกวัดนางพญาที่สร้างติดกับถนนทางหลวง เป็นพระที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากและงดงามมีพระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่