ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 171.97.69.23 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ดีมาก
ป้ายระบุ: การแก้ไขผิดปกติในบทความคัดสรร/คุณภาพ การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 53:
}}
 
<br />
'''การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง'''หรือ '''สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง''' เป็นความขัดแย้งทางทหารครั้งที่สองระหว่าง[[ราชวงศ์โกนบอง]]แห่ง[[พม่า]] กับ[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]]แห่ง[[อาณาจักรอยุธยา|อยุธยา]] ในการทัพครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีคนไทยเกือบสี่ศตวรรษได้เสียแก่พม่าและถึงกาลสิ้นสุดลงไปด้วย เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นเมื่อวันอังคาร ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ตรงกับวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310{{Ref_label|A|I|none}}
 
แผนการรบฝ่ายพม่าส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ในสงครามพระเจ้าอลองพญา ประการแรก ในคราวนี้มีการวางแผนจะโจมตีหลายทางเพื่อกระจายการป้องกันที่มีกำลังพลมากกว่าของอยุธยา<ref name="hj-302">James, p. 302</ref> พม่าจะหลีกเลี่ยงเส้นทางโจมตีเพียงด้านเดียวตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยแคบ ๆ ซึ่งหากถูกฝ่ายอยุธยาพบแล้วจะถูกสกัดอย่างง่ายดายโดยฝ่ายอยุธยาที่มีกำลังพลมากกว่า ในสงครามคราวก่อน ฝ่ายพม่าถูกชะลอให้ต้องใช้เวลาเกือบสามเดือนเพื่อสู้รบออกจากแนวชายฝั่ง<ref name="aa-147">Alaungpaya Ayedawbon, pp. 147–148</ref>
ยุทธนาการนี้เป็นผลพวงของ[[สงครามพระเจ้าอลองพญา]]เมื่อ พ.ศ. 2303 และอุบัติขึ้นใน พ.ศ. 2308 เมื่อพม่าส่งกองทัพเข้าบุกครองอยุธยาเป็นสองทางแบบคีม ทัพพม่าพิชิตการป้องกันของฝ่ายอยุธยาที่ประกอบด้วยกำลังอันเหนือกว่าแต่ขาดการประสานงานกันได้ และเริ่ม[[การล้อมอยุธยา (2309-2310)|ล้อมกรุงศรีอยุธยานาน 14 เดือน]]<ref name=geh-250-253>Harvey, pp. 250-253</ref><ref name=app-188-189>Phayre, pp. 188-189</ref> กระทั่งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 พระเจ้าเอกทัศทรงยอมเป็นประเทศราชของพม่า แต่พม่าประสงค์ให้ยอมแพ้อย่างไม่มีเงื่อนไข<ref name=dkw-118/> ในที่สุด กองทัพพม่าหักเข้าพระนครได้เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ แล้วทำลายล้างพระนคร ทำให้ความสัมพันธ์ไทย-พม่าเสื่อมลงจนถึงปัจจุบัน
 
การเสียกรุงครั้งนี้ นอกจากจะส่งผลให้อาณาจักรอยุธยาล่มสลายลงแล้ว ตะนาวศรีตอนใต้ยังได้ตกเป็นของพม่าเป็นการถาวร<ref name=geh-202/> และเกิด[[สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมือง]]ในระดับต่าง ๆ จนแทบนำไปสู่การล่มสลายของรัฐไทย<ref name="นิธิ3-5">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 3-5.</ref> อย่างไรก็ดี พม่าจำต้องถอนกำลังส่วนใหญ่ในอาณาจักรอยุธยาเดิมกลับคืนประเทศไปเมื่อถูกจีนบุกครอง จึงเป็นเหตุให้[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]ทรงเถลิงอำนาจและตั้งอาณาจักรของคนไทยใหม่
 
== ประวัติ ==
=== เหตุวุ่นวายในราชสำนักปลายกรุงศรีอยุธยา ===
[[สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ]] [[รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา]]นั้น มีพระนามเดิมว่า "กรมขุนอนุรักษ์มนตรี" เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ]] พระองค์แรก คือ [[เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์ กรมขุนเสนาพิทักษ์|เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐสุริยวงศ์]] หรือเจ้าฟ้ากุ้ง ผู้ต้องพระราชอาญาสิ้นพระชนม์ไปแล้ว<ref name=v/>
 
คราวต้องเวนราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าบรมโกศไม่โปรดกรมขุนอนุรักษ์มนตรี<ref name=v/> จึงทรงข้ามไปพระราชทานพระราชบัลลังก์ให้พระราชโอรสองค์ที่ 3 คือ ''เจ้าฟ้าอุทุมพร'' ผู้มีพระปรีชาสามารถมากกว่า แทน<ref name=v/> ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เจ้าฟ้าอุทุมพรก็ราชาภิเษกเป็น[[สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร]] เสวยราชย์ได้ไม่ถึง 3 เดือน กรมขุนอนุรักษ์มนตรีก็ตั้งพระองค์เองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์อีกพระองค์หนึ่ง เป็นเหตุให้กรมหมื่นจิตรสุนทร, กรมหมื่นสุนทรเทพ และกรมหมื่นเสพภักดี พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนก ซึ่งมักเรียกรวมกันว่า "[[เจ้าสามกรม]]" ทรงไม่พอพระทัยเป็นอันมาก และคิดกบฏ แต่ทรงถูกเจ้าฟ้าเอกทัศจับได้ ก่อนถูกประหารชีวิตทั้งสามพระองค์ ส่วนสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรนั้นทรงตัดสินพระทัยเลี่ยงไปผนวชเสียด้วยเหตุผลส่วนพระองค์ กรมขุนอนุรักษ์มนตรีจึงได้ราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ<ref name=v/>
 
=== สภาพบ้านเมืองรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ ===
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2301 สืบมา อันเป็นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศนั้น ได้มีหลักฐานบรรยายสภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นอยู่หลายมุมมอง หลักฐานฝ่ายไทยสมัยหลังส่วนใหญ่อธิบายไว้ทำนองว่า ในรัชกาลนี้ ข้าราชการระส่ำระสาย บางคนลาออกจากราชการ และมีบาทหลวงฝรั่งเศสเขียนจดหมายเหตุว่า ในยามนั้น "''...บ้านเมืองแปรปรวน เพราะฝ่ายใน [พระราชชายา] ได้มีอำนาจเท่ากับพระเจ้าแผ่นดิน ผู้มีความผิดฐานกบฏ ฆ่าคนตาย เอาไฟเผาบ้านเรือน จะต้องได้รับโทษถึงประหารชีวิต แต่ความโลภของฝ่ายในให้เปลี่ยนเป็นริบทรัพย์สิน ริบได้ก็ตกเป็นของฝ่ายในทั้งสิ้น พวกข้าราชการเห็นความโลภของฝ่ายใน ก็แสวงหาผลประโยชน์กับผู้ต้องหาคดีให้ได้มากที่สุดที่จะหาได้ จะได้แบ่งเอาบ้าง ความเดือดร้อนลำเค็ญก็ยิ่งทับถมราษฎรมากขึ้น...''"<ref>ขจร สุขพานิช. หน้า 269.</ref> เป็นต้น ขณะที่หลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งมีว่าไว้ถึงพระราชกิจของพระเจ้าเอกทัศที่ถูกมองข้าม<ref>ดูเพิ่มที่ [[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์#พระราชกรณียกิจ|พระราชกรณียกิจของพระเจ้าเอกทัศ]] หรือ สุเนตร ชุตินธรานนท์. หน้า 81-82.</ref> และมิได้มองว่า พระเจ้าเอกทัศทรงมีความประพฤติย่ำแย่เช่นนั้นเลย แต่ว่า พระองค์ ''"ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา บ้านเมืองสงบ การค้าขายเจริญ ทรงบริจาคทรัพย์ให้แก่คนยากจนจำนวนมาก"''<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 3.</ref> เป็นต้น
 
ในแง่เศรษฐกิจ ความมั่งคั่งของอาณาจักรอยุธยาถดถอยลง เนื่องจากส่งของป่าออกไปขายให้ต่างประเทศได้ยากมาก อันของป่านี้เป็นสินค้าส่งออกสำคัญและสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลมานานนับศตวรรษ ทั้งนี้ เป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านนโยบายทางการเมืองภายในที่ไม่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติครั้นเหตุประหารชีวิต[[คอนสแตนติน ฟอลคอน]]เมื่อต้น[[ราชวงศ์บ้านพลูหลวง]] ประกอบกับตลาดต่างประเทศมีความต้องการสินค้าเหล่านี้น้อยลง พ่อค้าจากมหาสมุทรอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และชาติตะวันตกพากันลดการติดต่อซื้อขาย<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 120-122.</ref>
 
=== สงครามพระเจ้าอลองพญา ===
{{บทความหลัก|สงครามพระเจ้าอลองพญา}}
ใน พ.ศ. 2303 [[พระเจ้าอลองพญา]] ปฐมกษัตริย์แห่ง[[ราชวงศ์โกนบอง]] ทรงกรีฑาทัพมาชิงเอากรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ หมายแผ่อิทธิพลเข้าดินแดนมะริดและตะนาวศรีและกำจัดภัยคุกคามจากอยุธยาที่มักยั่วยุให้หัวเมืองชายขอบของพม่ากระด้างกระเดื่องอยู่เสมอ<ref>วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 132.</ref> หรือไม่พระองค์ก็ทรงเห็นว่า อาณาจักรอยุธยามีความอ่อนแอ นับเป็นโอกาสอันดี<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 35.</ref> อนึ่ง ก่อนหน้านี้ อาณาจักรอยุธยาว่างเว้นการศึกกับพม่ามานานกว่า 150 ปีแล้ว<ref name="CP22"/> ทว่า กองทัพพม่าก็มิอาจเอาชัยเหนือกรุงศรีอยุธยาได้ในครานั้น เพราะพระเจ้าอลองพญาสวรรคาลัยกลางคัน กองทัพพม่าจึงต้องยกกลับไปเสียก่อน สำหรับเหตุแห่งการสวรรคตดังว่านั้น หลักฐานของฝ่ายไทยและฝ่ายพม่าบันทึกไว้แตกต่างกัน ไทยว่า สะเก็ดปืนแตกมาต้องพระองค์<ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 256-257.</ref> ส่วนพม่าว่า ทรงพระประชวร[[โรคบิด]]<ref>หม่องทินอ่อง. หน้า 171.</ref>
 
สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งตัดสินพระทัยปลีกพระองค์ไปผนวชนั้น เสด็จกลับมาราชาภิเษกอีกหนเพื่อบัญชาการรบตามคำกราบบังคมทูลเชิญของพระเจ้าเอกทัศ แต่เมื่อบ้านเมืองคืนสู่ความสงบ พระเจ้าเอกทัศก็ทรงแสดงพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์อีก สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงตัดสินพระทัยผนวชไม่สึกอีกเลย แม้ในระหว่างการทัพคราวต่อมา จะมีราษฎรและข้าราชการทั้งหลายถวายฎีกาให้พระองค์ลาผนวชมาป้องกันบ้านเมืองก็ตาม เพราะเหตุที่ผนวชถึงสองครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงทรงได้รับสมัญญาว่า "ขุนหลวงหาวัด"
 
=== สาเหตุของสงคราม ===
[[พระเจ้ามังระ]]สืบราชย์ต่อจาก[[พระเจ้ามังลอก]] พระเชษฐา ใน พ.ศ. 2306 และอาจนับได้ว่า พระเจ้ามังระมีพระราชดำริพิชิตดินแดนอยุธยานับแต่นั้น<ref name="บรรพบุรุษ133">วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 133.</ref> ในคราวที่พระเจ้าอลงพญาเสด็จมาบุกครองอาณาจักรอยุธยานั้น พระเจ้ามังระก็ทรงร่วมทัพมาด้วย หลังเสวยราชย์แล้ว ด้วยความที่ทรงมีประสบการณ์ในการณรงค์หนก่อน พระเจ้ามังระจึงทรงทราบจุดอ่อนของอาณาจักรอยุธยาพอสมควร และตระเตรียมงานสงครามไว้เป็นอันดี
 
ในรัชกาลพระเจ้ามังระ มีการปราบกบฏในแว่นแคว้นต่าง ๆ และพระองค์ก็ทรงเห็นความจำเป็นต้องลดอำนาจของกรุงศรีอยุธยาลง ถึงขนาดต้องให้แตกสลายหรืออ่อนแอไป เพื่อมิให้เป็นที่พึ่งของเหล่าหัวเมืองที่คิดตีตัวออกห่างได้อีก พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์ในอันที่จะขยายอาณาเขตอย่างเคย ในเวลาไล่เลี่ยกัน หัวเมืองล้านนาและหัวเมืองทวายก็กระด้างกระเดื่องต่ออาณาจักรพม่า<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ''. หน้า 542.</ref><ref>สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. หน้า 311.</ref> พระเจ้ามังระจึงต้องทรงส่งรี้พลไปปราบกบฏเดี๋ยวนั้น ฝ่ายพม่าบันทึกว่า อยุธยาได้ส่งกำลังมาหนุนกบฏล้านนานี้ด้วย แต่พงศาวดารไทยระบุว่า ทหารอยุธยาไม่ได้ร่วมรบ เพราะพม่าปราบปรามกบฏเสร็จก่อนกองทัพอยุธยาจะไปถึง<ref name=dkw-117>Wyatt, p. 117</ref>
 
นอกจากนี้ คาดว่ามีสาเหตุอื่น ๆ อันนำไปสู่การสงครามกับอยุธยาด้วย เป็นต้นว่า อยุธยาไม่ส่งหุยตองจา ที่เป็นผู้นำกบฏมอญ คืนพม่าตามที่พม่าร้องขอ (ตามความเข้าใจของชาวกรุงเก่า)<ref>อนันต์ อมรรตัย. หน้า 167.</ref>, พระเจ้ามังระหมายพระทัยจะเป็นใหญ่เสมอ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 26.</ref>, หลังพระเจ้าอลองพญารุกรานในครั้งก่อน มีการตกลงว่าฝ่ายอยุธยาจะถวายราชบรรณาการ แต่กลับบิดพลิ้ว (ปรากฏใน ''The Description of the Burmese Empire'')<ref>สุเนตร ชุตันธรานนท์. หน้า 28.</ref> หรือไม่ก็พระเจ้ามังระมีพระดำริว่า อาณาจักรอยุธยาอ่อนแอ จึงสบโอกาสที่จะเข้าช่วงชิงเอาทรัพย์ศฤงคาร<ref>จรรยา ประชิตโรมรัน. หน้า 55.</ref> และจะได้นำไปใช้เตรียมตัวรับ[[สงครามจีน-พม่า|ศึกกับจีน]]ด้วย<ref>ดนัย ไชยโยค. หน้า 87.</ref>
 
== การจัดเตรียม ==
=== ฝ่ายพม่า ===
ด้านแม่ทัพของพระเจ้ามังระกราบทูลให้ใช้การตีกระหนาบแบบคีมจากทั้งทางเหนือและทางใต้<ref name=hj-302>James, p. 302</ref> ในพงศาวดารฉบับหอแก้วและโกนบองได้ระบุว่า พระเจ้ามังระทรงดำริว่า หากจะส่งเนเมียวสีหบดีนำกองทัพไปทำสงครามกับอยุธยาเพียงด้านเดียวเห็นจะไม่พอ จึงโปรดให้มังมหานรธานำทัพรุกรานมาอีกด้านหนึ่งด้วย<ref>พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์. หน้า 100.</ref> โดยก่อนหน้านั้น กองทัพทั้งสองได้รับมอบหมายให้บรรลุภารกิจอื่นเสียก่อน คือ การปราบกบฏต่อพม่า ทั้งทางเหนือและทางใต้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมความสำเร็จในการเข้าตีกรุงศรีอยุธยาอันเป็นเป้าหมายหลัก
 
ฝ่ายเนเมียวสีหบดีมีหน้าที่ปราบกบฏในแคว้นล้านนา กองทัพเนเมียวสีหบดีเคลื่อนไปกะเกณฑ์ผู้คนทางหัวเมืองฉาน โดยทหารฉานนั้นมีเจ้าฟ้าทั้งหลายเป็นผู้นำ<ref name=geh-250>Harvey, p. 250</ref> อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีกับการเกณฑ์ทหาร เจ้าฟ้าบางองค์ในฉานทางเหนือหลบหนีไปเมืองจีน แล้วฟ้องแก่จักรพรรดิจีน<ref name=app-192-201>Phayre, pp. 192-201</ref><ref name=dgeh-xi-27>Hall, Chapter XI, p. 27</ref> หลังจากเกณฑ์ทหารได้แล้ว เนเมียวสีหบดียกทัพจากเมืองเชียงตุงเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และสามารถปราบปรามกบฏลงได้อย่างราบคาบ และภายในฤดูฝน พ.ศ. 2307 ได้ยกขึ้นไปปราบเมือง[[ล้านช้าง]]ได้ทั้งหมด และล้านช้างถูกบีบบังคับให้เกณฑ์ทหารเข้าร่วมทัพฝ่ายเหนือ<ref name=app-187>Phayre, pp. 187-188</ref> ก่อนจะจัดเตรียมทัพยกเข้าตีกรุงศรีอยุธยาที่เมืองลำปาง และเริ่มเคลื่อนทัพเมื่อฤดูหนาวของปี พ.ศ. 2307<ref>ลำจุล ฮวบเจริญ. หน้า 18-22.</ref>
 
ขณะที่ทางพม่าได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองมณีปุระ พระเจ้ามังระทรงตัดสินพระทัยไม่เรียกทัพกลับ ทรงนำกองทัพไปปราบกบฏด้วยพระองค์เอง เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2307 เสร็จแล้วจึงทรงส่งกองทัพหนุนมาให้ทัพฝ่ายใต้ ทัพของมังมหานรธามีทหารเดิม 20,000 นาย ทำให้มีทหารเพิ่มขึ้นอีก 30,000 นาย<ref name=geh-248>Harvey, p. 248</ref> ทัพพม่าของมังมหานรธา จึงมีทหารรวมทั้งสิ้น 50,000 นาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นการระดมทหารครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง|สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง]]<ref name=geh-333>Harvey, pp. 333-335</ref> นอกจากนี้ ฝ่ายพม่ายังมีกำลังปืนใหญ่ 200 นายที่เป็นทหารบริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสที่ถูกจับเป็นเชลยเมื่อคราวพม่าเกิดศึกภายในด้วย
 
ฝ่ายทัพมังมหานรธา ราว พ.ศ. 2307 มีราชการต้องปราบกบฏที่[[ทวาย]] ต่อมาโจมตีลึกเข้าไปถึงเพชรบุรี แต่ถูกขัดขวางจากทัพอยุธยาต้องยกทัพกลับ ศึกครั้งนี่อยุธยาเสียทวาย และตะนาวศรีเป็นการถาวร<ref>ดนัย ไชยโยค. หน้า 86-87.</ref> หลังจากที่ได้พักค้างฝนที่ทวายใน พ.ศ. 2308 พร้อมกะเกณฑ์ไพร่พลจาก[[หงสาวดี]] เมาะตะมะ [[มะริด]] ทวาย และ[[ตะนาวศรี]] เข้าสมทบในกองทัพ จนย่างเข้าฤดูแล้ง พ.ศ. 2307 จึงได้เคลื่อนทัพเข้าสู่อาณาจักรอยุธยาตามนัดหมายในเวลาใกล้เคียงกับทัพของเนเมียวสีหบดี<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 15-16.</ref>
 
=== แผนการรบ ===
แผนการรบฝ่ายพม่าส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ในสงครามพระเจ้าอลองพญา ประการแรก ในคราวนี้มีการวางแผนจะโจมตีหลายทางเพื่อกระจายการป้องกันที่มีกำลังพลมากกว่าของอยุธยา<ref name=hj-302/> พม่าจะหลีกเลี่ยงเส้นทางโจมตีเพียงด้านเดียวตามแนวชายฝั่งอ่าวไทยแคบ ๆ ซึ่งหากถูกฝ่ายอยุธยาพบแล้วจะถูกสกัดอย่างง่ายดายโดยฝ่ายอยุธยาที่มีกำลังพลมากกว่า ในสงครามคราวก่อน ฝ่ายพม่าถูกชะลอให้ต้องใช้เวลาเกือบสามเดือนเพื่อสู้รบออกจากแนวชายฝั่ง<ref name=aa-147>Alaungpaya Ayedawbon, pp. 147–148</ref>
 
ประการที่สอง พม่าจะต้องเริ่มการรุกรานให้เร็วที่สุดเพื่อให้มีเวลาทำสงครามในฤดูแล้งให้ได้นานที่สุด ในสงครามคราวที่แล้ว พระเจ้าอลองพญาเริ่มต้นรุกรานช้าเกินไป<ref name=geh-242>Harvey, p. 242</ref> ทำให้เมื่อกองทัพพม่ามาถึงกรุงศรีอยุธยาในเดือนเมษายน ก็เหลือเวลาเพียงเดือนเดียวก่อนที่จะถึงฤดูน้ำหลาก คราวนี้ฝ่ายพม่าจึงเริ่มต้นรุกรานตั้งแต่กลางฤดูฝน โดยหวังว่าจะไปถึงกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้นฤดูแล้งพอดี<ref name=app-188/>
เส้น 101 ⟶ 62:
ทางด้านการปฏิบัติของอาณาจักรอยุธยาระหว่างการทัพทั้งสองนั้น กษัตริย์อยุธยาได้ทรงส่งกองทัพมาช่วยเหลือเชียงใหม่ให้เป็นกบฏต่อพม่า และช่วยหัวเมืองมอญที่เมืองทวายให้ประกาศอิสรภาพ ทำให้กองทัพพม่าต้องส่งกองทัพไปตีดินแดนทั้งสองคืน เลยไปจนถึงอาณาจักรล้านช้าง เพื่อตัดชัยชนะของกรุงศรีอยุธยา<ref name="หม่องทินอ่อง175"/> และในการรุกรานกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยพระเจ้ามังระ กองทัพอยุธยาก็ยังคงเตรียมตัวรับกองทัพพม่าในพระนครอีกเช่นเดิม<ref name="หม่องทินอ่อง175"/>
 
พระเจ้าเอกทัศทรงระดมทหารครั้งใหญ่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มังมหานรธายกกองทัพลงใต้มายึดทวายเป็นการถาวรเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2307 การป้องกันด้านทิศใต้ประกอบด้วยทหารมากกว่า 60,000 นาย ซึ่งพระเจ้าเอกทัศทรงวาง "กำลังที่ดีที่สุด" ไว้ตลอดทางตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่[[ด่านเจดีย์สามองค์]]มาจนถึง[[กาญจนบุรี]] ผ่านทวาย ไปจนถึงอ่าวไทยที่อยู่ทางใต้สุดเพื่อรับมือกับมังมหานรธา<ref name=tmu-99>Myint-U, p. 99</ref> ส่วนทางด้านทิศเหนือ แนวป้องกันหลักของอยุธยาเริ่มตั้งแต่[[สุโขทัย]]และ[[พิษณุโลก]] ส่วนการป้องกันที่อยู่เหนือไปกว่านี้มีการจัดตั้งเป็นค่ายทหารขนาดเล็กโดยผู้นำท้องถิ่น<ref name=app-188>Phayre, p. 188</ref><ref name="geh-250">Harvey, p. 250</ref>
 
ฝ่ายอยุธยายังคงเน้นการตั้งรับในพระนคร โดยใช้แผนตั้งรับจนถึงฤดูน้ำหลากแล้วรอจนกองทัพข้าศึกถอยทัพกลับไปเอง ยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้เอาชนะข้าศึกมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ฝ่ายอยุธยายังมีเงินพอจะซื้อปืนคาบศิลาและปืนใหญ่ด้วย ปืนใหญ่บางกระบอกยาวถึง 9 เมตร และยิงลูกปืนใหญ่น้ำหนักกว่า 45 กิโลกรัม<ref name=geh-252>Harvey, p. 252</ref> และครั้งเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ทหารพม่าได้ไปพบปืนคาบศิลาใหม่กว่า 10,000 กระบอก และเครื่องกระสุนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ใช้ แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างการล้อมนาน 14 เดือนก็ตาม<ref name=chsea-38>Tarling, p. 38</ref> นอกจากนี้ ฝ่ายอยุธยายังได้มีการใช้ทหารรับจ้างต่างด้าวเพื่อเสริมทัพด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรปและชาวจีน โดยมีเรือรบอังกฤษอย่างน้อยหนึ่งลำถูกจัดให้ป้องกันด้านปีกด้วย<ref name=geh-250/>
เส้น 113 ⟶ 74:
ในเวลาเดียวกัน มังมหานรธาได้เปิดฉากการโจมตีจากทางใต้ในช่วงกลางเดือนตุลาคมโดยแบ่งการโจมตีออกเป็นสามทาง กองทัพฝ่ายใต้ของพม่ามีทหาร 20,000 ถึง 30,000 นาย กองทัพขนาดเล็กถูกส่งผ่านด่านเจดีย์สามองค์มุ่งไปยังสุพรรณบุรี ส่วนกองทัพขนาดเล็กอีกกองหนึ่งรุกลงใต้ไปตามชายฝั่งตะนาวศรีมุ่งหน้าไปยังมะริดและตะนาวศรี และกองทัพหลักฝ่ายใต้รุกรานผ่านด่านเมียตตา และกาญจนบุรีเสียแก่ข้าศึกโดยมีการต้านทานเพียงเล็กน้อย<ref name=kt-300/>
 
เหตุหลักที่กาญจนบุรีเสียแก่พม่าโดยง่ายนั้นอาจเป็นเพราะทหารพม่ากรำศึกกว่าทหารอยุธยา แต่ก็อาจอธิบายได้ว่าแม่ทัพอยุธยาคำนวณผิดพลาดถึงเส้นทางเดินทัพหลักของพม่า และไม่มีการเสริมกำลังอย่างเพียงพอเพื่อให้เมืองสามารถต้านทานการโจมตีขนาดใหญ่ได้ หากตัดสินจากการรายงานเส้นทางโจมตีของฝ่ายพม่าจากพงศาวดารไทยแล้ว พบว่าแม่ทัพอยุธยาดูเหมือนจะเชื่อว่าเส้นทางโจมตีหลักของพม่าจพมาจากชายฝั่งอ่าวไทย แทนที่จะเป็นเส้นทางที่สั้นและชัดเจนที่สุดผ่านทางกาญจนบุรี หลักฐานไทยระบุว่าเส้นทางโจมตีหลักของมังมหานรธามาจากตะนาวศรีตอนใต้ โดยข้ามเทือกเขาตะนาวศรีที่[[ชุมพร]]และ[[เพชรบุรี]]<ref name=sea-102>Steinberg, et al, p. 102</ref><ref name="dkw-117">Wyatt, p. 117</ref> อันเป็นเส้นทางที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับเส้นทางกาญจนบุรีที่บันทึกไว้ในพงศาวดารพม่า นักประวัติศาสตร์เกียว เติด ระบุเพิ่มเติมโดยเฉพาะว่าเส้นทางโจมตีหลักคือทางด่านเมียตตา<ref name=kt-300/>
 
=== การรุกรานช่วงฤดูแล้ง ===
เส้น 189 ⟶ 150:
{{บทความหลัก|สภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง|การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก}}
[[ไฟล์:เส้นทางเดินทัพของพระเจ้าตาก.jpg‎|thumb|200px|เส้นทางเดินทัพของพระยาตากเพื่อกอบกู้เอกราช]]
ภายหลังจากการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา เพื่อความอยู่รอด ทำให้เกิดชุมนุมทางการเมืองในระดับต่าง ๆ ซึ่งเป็น ''"รัฐบาลธรรมชาติ"'' ขึ้นมาในท้องถิ่นทันที ส่วนรัฐบาลธรรมชาติเหล่านี้เกิดจากการที่บรรดาเจ้าเมืองขนาดใหญ่ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามมากนักได้ตั้งตนเป็นใหญ่ในเขตอิทธิพลของตน เรียกว่า "ชุมนุม" หรือ "ก๊ก" ซึ่งมีจำนวน 4-6 แห่ง นับว่ารัฐไทยเกือบสิ้นสลายไปเพราะไม่อาจรวมกันเป็นปึกแผ่นได้อีก<ref name="นิธิ3-5">นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 3-5.</ref>
 
เป็นเวลาไล่เลี่ยกับการตั้งตนเป็นใหญ่ของพระยาตากแถบเมืองจันทบุรี, การขับไล่ทหารพม่าที่หลงเหลืออยู่ในดินแดนอยุธยาออกไปทั้งหมด, การปราบดาภิเษกตนเองเป็นกษัตริย์ของคนไทย พร้อมกับย้ายเมืองหลวงไปยัง[[อาณาจักรธนบุรี|กรุงธนบุรี]] อย่างไรก็ตาม สภาวะความวุ่นวายทางการเมืองยังดำเนินอยู่ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จนกระทั่งคนไทยเริ่มกลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้งเมื่อย่างเข้า[[กรุงรัตนโกสินทร์|สมัยรัตนโกสินทร์]]