ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเฉลิมพระยศเจ้านาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
สกุลยศของเจ้านายนั้น บรรดาผู้ที่เกิดในราชตระกูลจะเป็นราชบุตร ราชธิดา หรือราชนัดดาก็ตาม จะเรียกว่า '''เจ้า''' สกุลยศนั้น แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้
 
* '''1. เจ้าฟ้า''' มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
** ''เจ้าฟ้าชั้นเอก'' เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" และต้องถือประสูติข้างพระมารดาเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีหรือพระภรรยาเจ้าชั้นสูง (สมเด็จพระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชินี, สมเด็จพระบรมราชเทวี, สมเด็จพระอัครราชเทวี) หรือพระมารดาพระยศ​โดยประสูติเดิมเป็นพระราชธิดา ในพระมหากษัตริย์ (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิง, พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะไม่พระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศชั้นพระมเหสีใด ๆ แด่พระมารดา พระราชโอรสธิดาก็ได้รับสกุลยศเจ้าฟ้าในชั้นนี้โดยปริยายเช่นกัน เพราะถือว่าพระมารดาดำรงพระยศพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอยู่แล้วหรือจะเรียกได้ว่า "ผู้คู่ควรมีบุตรเป็นเจ้าฟ้าโดยสกุลยศ") เรียกลำลองว่า "ทูลกระหม่อม" บางแห่งเรียกเจ้าฟ้าชั้นนี้ว่า พระหน่อพุทธเจ้า หรือเจ้านายหมู่สืบสันตติวงศ์ (องค์รัชทายาท)ในส่วนเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ ในโบราณกาลมักนิยมขอพระราชทานไปดำรงตำแหน่งพระมเหสี เพื่อหมายให้ทายาทที่ถือประสูติแด่พระนางนั้นได้มีสิทธิ์ในการเป็นรัชทายาทฝ่ายพระมารดาด้วย ดังนั้นถือว่าการสืบสายข้างพระมารดามีศักดิ์สูงยิ่งมีความสำคัญ และมักให้ความสำคัญเสมอหากต้อง พระราชทานแก่พระเจ้าเมืองใด ต้องมีการปรึกษาหารือกับเสนาอามาตย์เสียก่อน นับเป็นเรื่องใหญ่
** ''เจ้าฟ้าชั้นโท'' เจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ ใช้คำนำสกุลยศ "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ, ลูกเธอ และ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ" เรียกลำลอง​ "สมเด็จ" มีพระมารดาทรงศักดิ์รองลงมาหรือพระภรรยาเจ้าชั้นรอง (พระราชเทวี, พระนางเจ้า, พระนางเธอ, พระอัครชายา, พระราชชายา) หรือ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์รัชกาลก่อน (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, หม่อมเจ้า (ต้องรับสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าก่อน) แรกประสูติของพระราชโอรสธิดา ยังไม่ได้รับพระราชทาน "สมเด็จ" เมื่อเจริญพระชันษาขึ้น จะได้รับสมเด็จ​ อาทิ​ "สมเด็จชาย" สมเด้จฯเจ้าฟ้ายุคล​ พระราชโอรสในร.5 และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดา ใน รัชกาลที่ 6 ที่ถือประสูติแต่ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี (ยกเว้นในกรณี พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ที่มีพระราชโอรสธิดา เป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก เนื่องจากพระองค์เองดำรงพระอิสริยยศสกุลยศ "พระองค์เจ้าลูกหลวง" พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ร.4 แต่ตำแหน่งพระนางเจ้า​ พระราชเทวี เป็นการเลื่อนพระยศให้สูงขึ้นทรงดำรงตำแหน่งมเหสีในร.5 และต่อมา​ รัชกาลที่ 7 สถาปนา"รับสมเด็จ" เป็น สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ตามลำดับ) อนึ่งเจ้าฟ้าชั้นโท ยังนับรวมเจ้านายที่ดำรงพระยศเป็น พระเชษฐา (พี่ชาย) พระภคินี (พี่สาว) พระอนุชาและพระขนิฐา (น้องชายและน้องสาว) ของกษัตริย์ที่ถือประสูติร่วมพระราชชนนีเดียวกัน (พระราชมารดา) กับพระมหากษัตริย์ และไม่ได้ดำรงสกุลยศเจ้าฟ้ามาก่อน อาทิ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งมีสกุลยศและอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าหญิง และ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงตามลำดับมาก่อน
** ''เจ้าฟ้าชั้นตรี'' เจ้านายชั้นอนุวงศ์ (เจ้านายชั้นอนุวงศ์สูงสุด) เป็นพระยศที่พระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานเป็นกรณีพิเศษและมักไม่ค่อยถือประสูติมากนักหรือไม่มีเลย ส่วนใหญ่จะเป็นชั้นหลานหลวง "พระเจ้าหลานเธอหรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หรือ พระวรวงศ์เธอ" โดยอาศัยการตั้งราชวงศ์ (ปฐมราชวงศ์ครั้งแรก) หรืออีกนัยหนึ่งต้องถือประสูติจากจากพระบิดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) และพระมารดามีพระยศเป็นเจ้าฟ้าด้วยกันหรือพระมารดาดำรงพระยศเป็นเจ้าฟ้า (ลูกหลวง) พระบิดาเป็นพระองค์เจ้า เจ้าฟ้าชั้นนี้เสมอพระยศพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง แต่เวลาพระดำเนินตามหลังพระองค์เจ้าชั้นลูกหลวง และพระยศเจ้าฟ้าชั้นนี้เป็นเจ้านายกลุ่มชั้นอนุวงศ์มิใช่กลุ่มพระบรมวงศ์เท่าชั้นพระองค์เจ้าลูกหลวง และเจ้าฟ้าชั้นตรีมีปรากฏในต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์ช่วงสมัยรัชกาลที่​ 1 เท่านั้น​ อาทิ​ เจ้าฟ้ามงกุฏ​ (ร.4)​ พระโอรส​ เจ้าฟ้าฉิม (ร.2)​ กับ​ เจ้าฟ้าบุญรอด (มีคำเรียกที่ว่า พระกำเนิดเป็นอุภโตสุชาติ = มีชาติพระกำเนิดที่ประเสริฐทั้งสองฝ่าย) เรียกลำลองว่า "เจ้าฟ้า​ หรือหากได้รับสมเด็จ เรียกว่า สมเด็จเจ้าฟ้า"
''หมายเหตุ'' เจ้านายที่จะสามารถดำรงสกุลยศชั้นเจ้าฟ้าได้ต้องถือประสูติจากพระมารดามีพระยศเป็นพระองค์เจ้าในเบื้องต้น เจ้าฟ้าที่ดำรงพระยศชั้นลูกหลวงจะมีสร้อยพระนามท้ายที่ระบุว่าเป็นพระราชโอรสหรือธิดาแห่งกษัตริย์ อาทิ ราชกุมาร/กุมารี ราชสุดา อัครราชกุมาร/กุมารี หรือราชกัญญา เป็นต้น หากไม่มีสร้อยพระนามนี้ถือว่าเป็นเจ้าฟ้าชั้นโทและตรีที่ไม่ใช่ลูกกษัตริย์ และจากข้อสังเกตและประวัติเจ้านายชั้นตรีหลายพระองค์ซึ่งเคยดำรงพระยศ เจ้าฟ้าชั้นตรีหรือเจ้าฟ้าชั้นหลานหลวง จะสืบสายข้างพระมารดาที่มีพระยศเป็นเจ้าฟ้าเป็นปฐม อีกนัยจะกล่าวว่า เจ้าฟ้าชั้นตรี เป็นเจ้าฟ้าตามศักดิ์แห่งพระมารดาแม้ทรงมีพระบิดาชั้นพระองค์เจ้าก็ตาม (พระมารดาเป็นเจ้าฟ้าบิดาเป็นพระองค์เจ้า) ซึ่งบางท่านงง ว่าแล้วเมื่อมีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก พระมารดาเป็นพระองค์เจ้า ทำไม จึงเป็นเพียงพระองค์เจ้า ชั้นโท นั้นยิ่งแสดงได้ชัดเจนว่า เจ้าฟ้าชั้นตรีเป็นสกุลยศผู้จะสืบยศเจ้าฟ้าข้างพระมารดาเป็นเกณฑ์
* '''2. พระองค์เจ้า''' มีความแตกต่างกัน 3 ชั้น คือ
**''พระองค์เจ้าชั้นเอก''​ เรียกลำลองว่า​ "เสด็จพระองค์ชาย /หญิง" เป็นเจ้านายชั้นพระบรมวงศ์ เป็นพระราชโอรสหรือพระราชธิดาอันเกิดด้วยพระสนม (หม่อมเจ้าลงไปถึงเจ้าจอมมารดา) ตรงกับที่เรียกในกฎมณเทียรบาลว่า "พระเยาวราช" ใช้คำนำสกุลยศว่าหรืออิสริยยศ "พระเจ้าลูกยาเธอ, พระเจ้าลูกเธอ, พระบรมวงศ์เธอ​ เรียกลำลองว่า​ "เสด็จ" เช่น​ เสด็จพระองค์ชายจิตรเจริญ​ (พระเจ้าลูกยาเธอ​ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)​ ถ้าทรงกรม​ เรียกลำลอง​ "เสด็จในกรม" อาทิ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ),พระองค์เจ้า​ชั้นลูกหลวงนี้ไม่มีคำว่า"สมเด็จ"นำพระอิสริยยศ ยกเว้นทรงได้รับพระราชทาน"สมเด็จ"แล้วจึง เรียกลำลองว่า​"สมเด็จฯ"อาทิ​เช่น "สมเด็จ​ฯ​ กรมพระสวัสดิ" (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์)​ หรือ​ ได้รับพระอิสริยยศ​ทรงกรมสูงสุด เป็น สมเด็จฯ​ กรมพระยา​ อาทิ​ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ​ กรมพระยาเทววงศ์วโรปการ (สมเด็จฯ​ กรมพระยาเทววงศ์) (ถือได้ว่าเป็นพระยศพระองค์เจ้าชั้นสูงสุดในบรรดาสกุลยศพระองค์เจ้าทั้งมวล และเป็นกลุ่มเจ้านาย ในชั้นพระบรมวงศ์) ในรัชกาลปัจจุบันไม่มีสกุลยศในชั้นนี้แล้ว เนื่องด้วยทรงไม่ได้รับพระสนม (เจ้าจอมมารดา) อนึ่งเจ้านายฝ่ายในชั้นนี้ หากพระมหากษัตริย์รับสนองเป็นภรรยาเจ้า พระราชโอรสธิดาที่ถือประสูติมาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอกทั้งสิ้น (ทูลกระหม่อม) เพราะพระมารดาเป็นชั้นลูกหลวงหรือพระบรมวงศ์
** ''พระองค์เจ้าชั้นโท'' เรียกลำลอง "พระองค์ชาย/หญิง" เจ้านายชั้นอนุวงศ์ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบิดาเป็นสมเด็จพระยุพราชหรือเจ้าฟ้าชั้นเอกและพระมารดาเป็นพระองค์เจ้า (พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าหญิง พระชายาในสมเด็จเจ้าฟ้า) ใช้คำนำสกุลยศ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ, พระเจ้าหลานเธอ" อาทิ​ พระเจ้าหลานเธอ​ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา​ เรียกลำลอง"พระองค์ภา" หรือ พระอิสริยยศที่พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเป็นพิเศษ(เจ้านายที่สถาปนาให้เทียบชั้นพระองค์เจ้าชั้นโท) เช่น​ ร.9​ ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ​ อันมีความหมายตำแหน่งว่า​ แม่ของหลานพระราชาผู้ประเสริฐ​ เรียกลำลอง​"พระองค์หญิง" และ​ ร.7​ ทรงสถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี​ พระชนนี​ใน​ สมเด็จพระบรมราชินี ใน ร.7​ เรียกลำลอง​"พระองค์หญิงอาภา" เดิม​ หม่อมเจ้าอาภาพรรณี​ สวัสดิวัตน์​ เป็นต้น ยกเว้นในกรณีที่ดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าชั้นพิเศษที่มีศักดิ์ด้วยเป็นพระวรชายาในสมเด็จเจ้าฟ้ามหาอุปราช (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เรียกลำลองเพิ่ม เป็น เสด็จพระองค์หญิง เป็นกาลพิเศษ นอกจากนี้ บรรดาพระราชโอรสธิดาในสกุลวังหน้ายังถือเป็นพระองค์เจ้าชั้นโทด้วยเช่นกัน โดยมีอิสริยยศนำหน้าว่า "พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" หรือ "พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" พระบุตรพระองค์เจ้าวังหน้านี้​เป็น​ หม่อมเจ้า<br>อนึ่งยังมีกรณี​กรณี ​"''พระองค์เจ้ายก''" คือ​ พระโอรสธิดาที่มีพระบิดาเป็นเจ้าฟ้า​ และพระมารดา​ ต้องได้เสกสมรสเป็นสะใภ้หลวง เป็นการสถาปนากรณีพิเศษ เช่น​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าออศคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ เดิม​เป็น​ หม่อมเจ้า​ ชั้นหลานหลวง(ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับ หม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์) หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช เดิม​เป็น หม่อมเจ้า​ ชั้นหลานหลวง (ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับ หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา) หรือ​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร​ ​กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต​ เดิม​ หม่อมเจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร​ บริพัตร(ในสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรฯ​ กับ​ หม่อมเจ้าประสงค์สม​ บริพัตร)​ หรือ​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล​ เดิม​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล(ในสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลฯ​ กับ​ พระเจ้าวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล)​และทรงประกาศให้พระโอรสธิดาของพระองค์เจ้าชั้นนี้เป็นหม่อมเจ้าอีกด้วย
** ''พระองค์เจ้าชั้นตรี'' หรือ "''พระองค์เจ้าตั้ง"'' ใช้คำนำสกุลยศ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เรียกลำลอง​ "ท่านพระองค์" เป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์​ (พระองค์เจ้าชั้นนี้เทียบเสมอสกุลยศ หม่อมเจ้า เพราะพระโอรสธิดามีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์)
 
1.​ เป็นพระราชนัดดาในพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบิดาและพระมารดาเป็นพระองค์เจ้าด้วยกัน​ อาทิ​เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร พระราชนัดดาในร.5​ เดิมทรงเป็นหม่อมเจ้า​ ตั้งเป็นพระองค์เจ้า​ ตามยศพระมารดา​ ตามกฏมณเฑียรบาลราชประเพณี หรือ​
บรรทัด 23:
2. พระบิดาเป็นเจ้าฟ้าชั้นเอก แต่พระมารดามิได้เป็นเจ้า (หม่อม) แรกประสูติเป็น​ หม่อมเจ้า​ ชั้นหลานหลวง​ แต่โปรดเกล้าตั้งเป็นพระองค์เจ้า
 
อนึ่ง พระองค์เจ้าในชั้นนี้มีอย่างทางการและบรรทัดฐานในสกุลยศ​ เช่น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 7) พระองค์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมตรากฎหมายในเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ พระโอรสธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นเอก(พระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ)​ มารดาเป็นหม่อมห้าม (หญิงสามัญชน) แรกประสูติเป็นหม่อมเจ้า​ ชั้นหลานหลวง​ ได้รับการสถาปนาตั้งเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า​ ทุกพระองค์ ดังในสายราชสกุลจักรพันธ์​พันธ์ุ​ ราชสกุลภาณุพันธุ์​ ราชสกุลบริพัตร​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ราชสกุลจุฑาธุช​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนทวัช และราชสกุลมหิดล​ เช่น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (ร.8) ทรงได้รับสถาปนาจากสกุลยศ หม่อมเจ้า ชั้นหลานหลวง​ ตั้งเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้า และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช (ร.9) ทรงได้รับอิสริยยศยศเป็น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าตามกฎหมายนี้
 
ย้อนใน​สมัยร.6 หม่อมเจ้าจุลจักร​พงษ์ จักรพงษ์ พระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ (เจ้าฟ้าชั้นเอก)​ ทรงเสกสมรสกับหม่อมคัทริน (หญิงสามัญชนชาวรัสเซีย) ต่อมา​รัชกาลที่ 6 ทรงสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศ (ไม่ใช่สกุลยศ) เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เป็นพระองค์เจ้าชั้นโทเป็นกาลพิเศษ​เฉพาะตัว แต่พระองค์ก็ยังมีสกุลยศเสมอพระยศหม่อมเจ้า เพราะมีพระธิดาบุตรมีสกุลยศ หม่อมราชวงศ์​ คือ หม่อมราชวงศ์หญิงนริศรา จักรพงษ์ <br> นอกจากนี้ยังมีอีกพระอิสริยยศหนึ่งคือ "พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" เป็นพระอิสริยยศสำหรับพระนัดดาในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และพระนัดดาใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์|สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์]] เช่น [[พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา]] พระนัดดาใน[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์]] [[พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพยอม กรมหมื่นมนตรีรักษา]] พระนัดดาในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อมิได้แต่งตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว จึงพระราชทานพระอิสริยยศอย่างราชสำนักวังหลวงแทน เช่น [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต]] พระนัดดาใน[[กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ]] (''สถาปนาเป็นพิเศษภายหลังสิ้นพระชนม์'')
 
*'''3.หม่อมเจ้า''' เจ้านายชั้นอนุวงศ์ พระราชนัดดา​ หลานหลวง​ ของกษัตริย์​ เรียกลำลองว่า "ท่านชาย/หญิง" โดยเป็นพระโอรสและพระธิดาของเจ้าฟ้าและพระองค์เจ้าลูกหลวงโดยสกุลยศ (และเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้ว่าจะเป็นพระโอรสหรือพระธิดาของกรมพระราชวังบวร แต่มารดามิได้เป็นเจ้า จะเป็นเพียงแค่หม่อมเจ้า เช่น หม่อมเจ้าอาทิตย์ ในกรมพระราชวังบวรเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) เรียกว่า "ท่านชาย/หญิง" (นับได้ว่าเป็นพระยศชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสุดท้าย ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์) อาทิ หม่อมเจ้ากรณิกา​ จิตรพงศ์​ พระราชนัดดาใน ​ร.4​ พระธิดา​ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์​ , หม่อมเจ้าเฉลิมศรีสวัสดิวัตน์ สวัสดิวัตน์ พระราชนัดดาใน​ใน ​ร.4​ พระโอรส สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เป็นต้น อนึ่ง เนื่องด้วยมีการตรากฎหมายเรื่องการสืบสันดานสกุลยศ ในรัชกาลที่ 7 แห่งพระราชวงศ์จักรีว่าด้วย พระโอรสธิดา​เพิ่มเติม ทำให้หม่อมเจ้าหลานหลวง​ ที่มีพระบิดาดำรงสกุลยศเจ้าฟ้าชั้นเอก​(ประสูติแต่พระชนนีชั้นสมเด็จ)​ หม่อมมารดาเป็นสามัญชน พระบุตรได้เพิ่มอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าชั้นตรี​ เช่น​ พระวรวงศ์เธอ​ พระองค์เจ้าวรานนทวัช เดิม​ หม่อมเจ้าวรานนทวัช​ จุฑาธุช ดังนั้นความหมายที่ว่า พระบรมวงศานุวงศ์ มาจากสองคำคือ พระบรมวงศ์ (พระภรรยาเจ้าดำรงสถานะชั้นพระมเหสี, เจ้าฟ้าชั้นเอก-โท และ พระองค์เจ้าชั้นเอก) กับ พระอนุวงศ์ (เจ้าฟ้าชั้นตรี,พระองเจ้าชั้นโท-ตรี และ หม่อมเจ้า) ซึ่งเป็นกลุ่มเจ้านาย (เจ้า) ที่ต้องใช้คำราชาศัพท์
*'''4.หม่อมราชวงศ์''' ชั้นเชื้อพระวงศ์ เป็นโอรสและธิดาของพระองค์เจ้าตั้ง และโอรสธิดาของหม่อมเจ้า เรียกว่า "คุณชาย หรือ คุณหญิง" เป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ (ราชนิกุล) มิใช่เจ้า
*'''5.หม่อมหลวง''' ชั้นเชื้อพระวงศ์ เป็นบุตรและธิดาของหม่อมราชวงศ์ เรียกว่า "คุณ" เป็นเพียงเชื้อพระวงศ์ (ราชนิกุล) มิใช่เจ้า